วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คุณลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 6

      3. แนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพของสถาบันหรือสมาคมต่างประเทศ ประกอบด้วย

     (1) แนวคิดของสถาบันพัฒนาครูใหญ่แห่งทัสมาเนียประเทศออสเตรเลีย (Tasmanian Principals Institute : TPI) กำหนดคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานขึ้น ภายใต้ชื่อเรียกว่า คุณลักษณะที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงาน โดยแบ่งคุณลักษณะออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) ความสามารถเฉพาะตัวในเชิงบริหาร (professional effectiveness) ประกอบด้วย 1.1) การรับรู้ด้วยตนเอง ค่านิยม ความเชื่อ และการเชื่อมโยงความคิดทฤษฎี สามารถวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งและข้อจำกัดของตนเองในการเชื่อมโยงทฤษฎีการบริหารไปสู่ระดับการปฏิบัติ 1.2) การประเมินศักยภาพตนเอง ประเมินเป้าหมายการทำงาน วิธีการทำงาน การดำเนินงานตลอดจนวิธีการบริหารงานที่นำไปสู่ความสำเร็จ1.3) ตั้งปณิธานที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ วางเป้าหมายระยะยาวในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง1.4) การดูแลเอาใจใส่สุขภาพตนเอง สร้างสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและด้านอารมณ์ 1.5) การจัดระบบตนเอง มีการลำดับความสำคัญของภาระงาน มีเป้าหมายในการทำงานและพยายามทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ 2) ความสามารถที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น (interpersonal relations) ประกอบด้วย 2.1) ความสามารถในการสื่อสาร มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับผู้ร่วมงาน นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน 2.2) การบริหารความขัดแย้ง สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน 2.3) ประเมินการทำงานเพื่อประเมินประสิทธิภาพประเมินผลการทำงานเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาบุคลากร 3) ความสามารถในด้านบริหารการศึกษา (educational leadership) ประกอบด้วย 3.1) การสร้างวิสัยทัศน์ กระตุ้นผู้ร่วมงานให้เกิดความรู้สึกอยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน 3.2) ความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอน เข้าใจแนวคิดในด้านการจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน รวมทั้งการนำไปใช้ในชั้นเรียนเพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน 3.3) การกระจายอำนาจความรับผิดชอบ มีการกระจายอำนาจการบริหารและความรับผิดชอบที่เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคลให้กับผู้ร่วมงาน 3.4) ใช้กระบวนการที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาการเปลี่ยนแปลง ใช้แนวทางที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 3.5) ชุมชนสัมพันธ์ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนโดยใช้กิจกรรมความร่วมมือในรูปแบบต่าง ๆ 4) ความสามารถในการวางแผนการทำงาน (planning and accountability) ประกอบด้วย 4.1) การจัดเก็บหลักฐานการทำงาน มีการจัดเก็บหลักฐานการทำงานเพื่อใช้ในการประเมินผลการพัฒนาโรงเรียน 4.2) การวางแผนการทำงานร่วมกัน วางแผนการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ 4.3) การจัดสรรทรัพยากร ระดมทรัพยากรทุกด้านตั้งแต่ทรัพยากรบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานการจัดการศึกษา 4.4) กระบวนการและโครงสร้างการทำงาน พัฒนาระบบการจัดการและโครงสร้างการทำงานรวมทั้งกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะผลักดันเป้าหมายไปสู่ความสำเร็จ 4.5) ความตระหนักในหน้าที่รับผิดชอบ สร้างความตระหนักในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของนโยบายด้านการจัดการศึกษาของชาติ 5) ความสามารถในการทำงานร่วมกับชุมชน (community leadership) ประกอบด้วย5.1) สร้างพันธมิตรกับองค์การภายนอกทั้งระดับบุคคลและระดับกลุ่ม เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน 5.2) คำนึงถึงชื่อเสียงของโรงเรียน ขอความร่วมมือจากฝ่ายต่าง ๆ ทั้งจากชุมชนและภาคเอกชนเพื่อให้เข้ามาสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรและนักเรียน 5.3) ดำเนินนโยบายที่ตอบสนองทั้งระดับบนและระดับล่างอย่างสมดุล ปรับแนวทางการดำเนินงานที่จะนำนโยบายจากส่วนกลางมาสู่ระดับปฏิบัติให้เหมาะสมกับท้องถิ่น 5.4) ชุมชนสัมพันธ์ เปิดโอกาสให้สมาชิกในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงเรียน 5.5) ตระหนักในพื้นฐานความคิดของชุมชนศึกษาพื้นฐานความเป็นอยู่ของชุมชน เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน 6) ความสามารถในฐานะผู้นำด้านศาสนาวัฒนธรรม และจริยธรรม (religious, cultural, and ethical leadership) ประกอบด้วย6.1) สภาพแวดล้อม สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและเอื้อต่อการพัฒนาองค์การ 6.2) การดูแลด้านวัฒนธรรม ดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ ที่สอดรับกับความเชื่อ ประเพณีปฏิบัติในสังคม 6.3) การดูแลด้านศาสนา โรงเรียนมีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนา 6.4) ด้านจรรยาบรรณส่งเสริมจรรยาบรรณที่ดีเกี่ยวกับวิชาชีพ (Tasmanian Principals Institute : (TPI), 2001 : 1 -13 )

         (2) แนวคิดของสมาคมผู้นำโรงเรียนผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพระหว่างมลรัฐ ประเทศสหรัฐอเมริกา (Interstate School Leaders Licensure Consortium : ISLLC) ที่กล่าวว่า ผู้บริหารโรงเรียนควรมีคุณลักษณะที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานตามมาตรฐานผู้นำในโรงเรียนของสมาคมผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพระหว่างมลรัฐสหรัฐอเมริกา มีจำนวนทั้งสิ้น 6 มาตรฐาน แต่ละมาตรฐานจำแนกดัชนีแสดงคุณลักษณะออกเป็น3 ด้าน คือ 1) ดัชนีด้านความรู้ 2) ดัชนีด้านทัศนคติ และ3) ดัชนีด้านการปฏิบัติหรือทักษะมาตรฐาน 6 มาตรฐาน ประกอบด้วย มาตรฐานที่ 1) ผู้บริหารโรงเรียน เป็นผู้นำทางการศึกษาที่ส่งเสริมความสำเร็จของนักเรียนทุกคนโดยการอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนา เป็นผู้ที่มีความชัดเจนในบทบาท และพร้อมที่จะปฏิบัติให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ของการเรียนรู้ที่เกิดจากการร่วมคิดโดยประชาคมโรงเรียน มาตรฐานที่ 2) ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำทางการศึกษาที่ส่งเสริมความสำเร็จของนักเรียนทุกคนโดยการสนับสนุน บำรุง ส่งเสริมวัฒนธรรมและโปรแกรมการศึกษา(หลักสูตร) ของโรงเรียนเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการพัฒนาวิชาชีพของบุคลากร มาตรฐานที่ 3) ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำทางการศึกษาที่ส่งเสริมความสำเร็จของนักเรียนทุกคนโดยสร้างความมั่นใจว่าจะบริหารองค์การ ปฏิบัติการ และใช้ทรัพยากรเพื่อจัดสิ่งแวดล้อมของการเรียนรู้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล มาตรฐานที่ 4) ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำทางการศึกษาที่ส่งเสริมความสำเร็จของนักเรียนทุกคน โดยร่วมมือกับครอบครัวและสมาชิกในชุมชนตอบสนองต่อความต้องการและความสนใจที่แตกต่างกันของชุมชน และระดมทรัพยากรจากชุมชนมาตรฐานที่ 5) ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำทางการศึกษาที่ส่งเสริมความสำเร็จของนักเรียนทุกคนโดยการแสดงออกอย่างซื่อตรง มั่นคง ยุติธรรม และมีจริยธรรม มาตรฐานที่ 6)ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำทางการศึกษาที่ส่งเสริมความสำเร็จของนักเรียนทุกคนโดยการเข้าใจตอบสนองและใช้อิทธิพล ต่อบริบทที่แวดล้อมโรงเรียนทั้งบริบทด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ กฎหมายและวัฒนธรรม ((Interstate School Leaders Licensure Consortium : ISLLC, 2000 : 97 -113 )

       (3) แนวคิดของสมรรถภาพภาวะผู้นำครูใหญ่ของฮ่องกง ได้กล่าวว่า ผู้บริหารโรงเรียนควรมีคุณลักษณะที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานตามสมรรถภาพภาวะผู้นำครูใหญ่4 ด้าน ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย 1.1) สนับสนุนให้มีการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น 1.2) สร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ขึ้นในโรงเรียน 1.3) สื่อสารเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายของโรงเรียนให้ทุกฝ่ายเข้าใจ 1.4)ปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ และเป้าหมายของโรงเรียน 1.5) ปรับระบบการบริหารงานโรงเรียนให้สนับสนุนวิสัยทัศน์ และเป้าหมายของโรงเรียน 1.6) ร่วมมือกับทุกฝ่ายจัดทำวิสัยทัศน์และเป้าหมายของโรงเรียน และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ 1.7) ติดตามประเมิน และตรวจสอบวิสัยทัศน์ของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ 1.8) นำข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ 2) ภาวะผู้นำในการสอน ประกอบด้วย 2.1) จัดสภาพแวดล้อมโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนการสอน โดยสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นคุณภาพ 2.2) ร่วมวางแผนการสอนกับครู โดยคำนึงถึงความต้องการของนักเรียน แนวโน้มปัจจุบัน และนโยบายสาธารณะ 2.3)นำทฤษฎี ผลการวิจัย และแนวปฏิบัติไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ วางแผนร่วมกับครูในการทำกิจกรรมและการให้บริการนักเรียน เพื่อสนองความต้องการด้านสังคม วัฒนธรรม และพัฒนาการของนักเรียน 2.4)ประเมินความก้าวหน้าของนักเรียนโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย และนำผลการประเมินมาปรับปรุงโปรแกรมการสอน 2.5)ส่งเสริมให้ครูยกระดับการเรียนรู้ โดยบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับการสอน2.6) เป็นตัวแบบในการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการจัดทำแผนพัฒนาตนเอง และปฏิบัติตามแผนอย่างต่อเนื่อง 2.7) หาความต้องการในการฝึกอบรมของครูและจัดให้มีการพัฒนาวิชาชีพเพื่อความเชี่ยวชาญสำหรับครู 3)ภาวะผู้นำในองค์การ ประกอบด้วย 3.1) จัดทำแผนปฏิบัติการ และกระบวนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียน 3.2) ประยุกต์ใช้ทักษะการจัดการ และกระบวนการกลุ่มเพื่อกำหนดบทบาท มอบหมายอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้3.3) สื่อสารอย่างมีทักษะเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การแสวงหาฉันทามติ และแก้ข้อขัดแย้ง 3.4) ติดตาม ประเมินความก้าวหน้าในการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ และกระบวนการดำเนินงาน ทำการปรับแผนเมื่อจำเป็น 3.5) บริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อบรรลุเป้าหมายของโรงเรียน 3.6) ระบุและวิเคราะห์แหล่งทรัพยากรทางการเงินของโรงเรียน 3.7) วางแผนงบประมาณ ติดตาม และรายงานภารกิจของโรงเรียนต่อผู้เกี่ยวข้องอย่างโปร่งใสและรับผิดชอบ 3.8) ดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน นิเทศ ประเมินผล และบริหารจัดการโรงเรียนอย่างมีความรับผิดชอบ 3.9) จัดการเกี่ยวกับอาคารสถานที่ และอุปกรณ์ต่าง ๆเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่สวยงาม ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.10) ใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงเรียน 3.11) บริหารโรงเรียนโดยยึดตามกรอบของระเบียบกฎหมาย นโยบายระดับต่าง ๆ 3.12) สร้างระบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4) ภาวะผู้นำทางจริยธรรม ประกอบด้วย 4.1) เป็นตัวแบบในทางจริยธรรม โดยเฉพาะความซื่อสัตย์ทั้งในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว 4.2) ส่งเสริมพฤติกรรมความมีจริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริตภายในโรงเรียน 4.3) แสดงความชื่นชอบและเอาใจใส่ต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน และบุคลากรในโรงเรียน 4.4)แสดงความรับผิดชอบต่อนักเรียน ผู้ปกครอง ครู เขตพื้นที่ และสาธารณะในการจัดการศึกษาให้มีความเสมอภาคประสิทธิภาพ และประสิทธิผล (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2543 : 23 – 27. )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น