วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คุณลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 8

5. แนวคิดทางศาสนาเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วย

             1) แนวคิดของพระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของนักบริหารไว้ว่า นักบริหารจะทำหน้าที่สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ถ้ามีคุณลักษณะ 3 ประการ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในทุติปาปณิกสูตร ดังนี้ 1) จักขุมา หมายถึง มีปัญญามองการณ์ไกล ต้องสามารถวางแผนและฉลาดในการใช้คน คุณลักษณะข้อแรกนี้ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า conceptual skill คือ ความชำนาญในการใช้ความคิด 2) วิธูโร หมายถึง จัดการธุระได้ดีมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน คุณลักษณะที่สองนี้ตรงกับคำว่า technical skill คือความชำนาญด้านเทคนิค 3)นิสสยสัมปันโน หมายถึง พึ่งพาอาศัยคนอื่นได้ เพราะเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ดี ข้อนี้ตรงกับคำว่า humanrelation skill คือความชำนาญด้านมนุษยสัมพันธ์ (พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), 2541 : 7 – 9. )

         (2) แนวคิดของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของผู้บริหารไว้ว่า ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ผู้นำ และผู้ปกครองรัฐ ตั้งแต่พระเจ้าจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์ ตลอดจนนักปกครองทั่วไป มีหลักธรรมที่เป็นคุณสมบัติ และเป็นข้อปฏิบัติ ดังนี้ ก) ทรงทศพิธราชธรรม คือ มีคุณธรรมของผู้ปกครอง หรือ ราชธรรม (ธรรมของพระราชา) 10 ประการ ดังนี้ 1) ทาน ให้ปันช่วยประชา คือ บำเพ็ญตนเป็นผู้ให้ โดยมุ่งปกครองหรือทำงานเพื่อให้เขาได้ มิใช่เพื่อจะเอาจากเขา เอาใจใส่อำนวยบริการ จัดสรรความสงเคราะห์ อนุเคราะห์ ให้ประชาราษฎร์ได้รับประโยชน์สุข ความสะดวกปลอดภัย ตลอดจนให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เดือดร้อนประสบทุกข์และให้ความสนับสนุนแก่คนทำความดี 2) ศีล รักษาความสุจริต คือ ประพฤติดีงาม สำรวมกายและวจีทวาร ประกอบแต่การสุจริต รักษากิตติคุณประพฤติให้ควรเป็นตัวอย่าง และเป็นที่เคารพนับถือของประชาราษฎร์ มิให้มีข้อที่ผู้ใดจะดูแคลน3) ปริจจาคะ บำเพ็ญกิจด้วยเสียสละ คือ สามารถเสียสละความสุขสำราญ เป็นต้น ตลอดจนชีวิตของตนได้ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง 4) อาชชวะปฏิบัติภาระโดยซื่อตรง คือ ซื่อตรงทรงสัตย์ไร้มารยา ปฏิบัติภารกิจโดยสุจริต มีความจริงใจไม่หลอกลวงประชาชน 5) มัททวะ ทรงความอ่อนโยนเข้าถึงคน คือ มีอัธยาศัย ไม่เย่อหยิ่ง หยาบคายกระด้างถือองค์ มีความงามสง่าเกิดแต่ท่วงทีกริยาสุภาพนุ่มนวล ละมุนละไม ควรได้ความรักภักดีแต่มิขาดยำเกรง 6) ตปะ พ้นมัวเมาด้วยเผากิเลส คือ แผดเผากิเลสตัณหามิให้เข้ามาครอบงำจิต ระงับยับยั้งข่มใจได้ ไม่หลงใหลหมกมุ่นในความสุขสำราญ และการปรนเปรอ มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอหรืออยู่อย่างง่าย ๆ สามัญ มุ่งมั่นแต่จะบำเพ็ญเพียรทำกิจในหน้าที่ให้บริบูรณ์7) อักโกธะ ถือเหตุผลไม่โกรธา คือ ไม่เกรี้ยวกราด ไม่วินิจฉัยความและกระทำการด้วยอำนาจความโกรธ มีเมตตาประจำใจไว้ระงับความเคืองขุ่น วินิจฉัยความและกระทำการด้วยจิตอันสุขุมราบเรียบตามธรรม 8) อวิหิงสา มีอหิงสานำร่มเย็น คือไม่หลงระเริง ไม่บีบคั้นกดขี่ มีความกรุณาไม่หาเหตุเบียดเบียน ลงโทษอาชญาแก่ประชาราษฎร์ผู้ใด ด้วยอาศัยความอาฆาตเกลียดชัง 9) ขันติชำนะเข็ญด้วยขันติ คือ อดทนต่องานที่ตรากตรำ อดทนต่อความเหนื่อยยาก ถึงจะลำบากกายน่าเหนื่อยหน่ายเพียงไร ก็ไม่ท้อถอย ถึงจะถูกหยันด้วยถ้อยคำเสียดสีถากถางอย่างใด ก็ไม่หมดกำลังใจ ไม่ยอมละทิ้งกิจกรณีย์ที่บำเพ็ญโดยชอบธรรม 10) อวิโรธนะ มิปฏิบัติคลาดจากธรรมคือ ประพฤติมิให้ผิดจากประศาสนธรรม อันถือประโยชน์สุขความดีงามของรัฐและราษฎร์เป็นที่ตั้ง อันใดประชาราษฎร์ปรารถนาโดยชอบธรรม ก็ไม่ขัดขืน การใดจะเป็นไปโดยชอบธรรมเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนก็ไม่ขัดขวางวางองค์เป็นหลักหนักแน่นในธรรม คงที่ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหว เพราะถ้อยคำดีร้าย ลาภสักการะ หรืออิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ใด ๆ สถิตมั่นในธรรม ทั้งส่วนยุติธรรม คือ ความเที่ยงธรรม ก็ดี นิติธรรม คือ ระเบียบแบบแผน หลักการปกครอง ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ก็ดี ไม่ประพฤติให้เคลื่อนคลาดวิบัติไป ข) บำเพ็ญกรณีย์ของจักรพรรดิ คือ ปฏิบัติหน้าที่ของนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่ ที่เรียกว่า จักรวรรดิวัตร (ธรรมเนียมหรือหน้าที่ประจำของจักรพรรดิ) 5 ประการ คือ 1) ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ คือ ยึดถือความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม เหตุผล หลักการ กฎกติกาที่ชอบธรรม เป็นบรรทัดฐาน เคารพธรรม เชิดชูธรรม นิยมธรรม ตั้งตนอยู่ในธรรม ประพฤติธรรมด้วยตนเอง2) ธรรมิการักขา ให้ความคุ้มครองโดยธรรม คือ จัดอำนวยการรักษาคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรมแก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน คือ คนภายใน ข้าราชการฝ่ายทหาร ข้าราชการฝ่ายปกครองข้าราชการพลเรือน นักวิชาการ และคนต่างอาชีพ เช่น พ่อค้าและเกษตรกร ชาวนิคมชนบทและชนชายแดน พระสงฆ์และบรรพชิตผู้ทรงศีลทรงคุณธรรม ตลอดจนสัตว์เท้า สัตว์ปีก อันควรสงวนพันธุ์ทั้งหลาย 3) มาอธรรมการ ห้ามกั้นการอาธรรม์ คือ จัดการป้องกันแก้ไข มิให้การกระทำที่ไม่เป็นธรรม การเบียดเบียนข่มเหง และความผิดความชั่วร้ายเดือดร้อน เกิดมีขึ้นในบ้านเมือง ชักนำประชาชนให้ตั้งมั่นในสุจริตและนิยมธรรม รวมทั้งจัดวางระบบที่กันคนร้าย ให้โอกาสคนดี 4) ธนานุประทาน ปันทรัพย์แก่ชนผู้ยากไร้ มิให้มีคนขัดสนยากไร้ในแผ่นดินเช่น จัดให้ราษฎรทั้งปวงมีทางหาเลี้ยงชีพ ทำมาหากินได้โดยสุจริต 5) ปริปุจฉา ไม่ขาดการสอบถามปรึกษา แสวงปัญญาและความดีงามยิ่งขึ้นไป โดยมีที่ปรึกษาที่ทรงวิชาการ ทรงคุณธรรมผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบ ผู้ไม่ประมาทมัวเมา ที่จะช่วยให้เจริญปัญญาและกุศลธรรม หมั่นพบปะพระสงฆ์และนักปราชญ์ ไถ่ถามหาความรู้หาความดีงามหาความจริงและถกข้อปัญหาต่าง ๆ อยู่โดยสม่ำเสมอตามกาลอันควร เพื่อซักซ้อมตรวจสอบตนให้เจริญก้าวหน้าและดำเนินกิจการในทางที่ถูกต้องชอบธรรม ดีงาม และเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขอย่างแท้จริง ค) ประกอบราชสังคหะ คือทำนุบำรุงทวยราษฎร์ให้ประชาชาติดำรงอยู่ในเอกภาพและสามัคคี ด้วยหลักธรรมที่เรียกว่าราชสังคหวัตถุ (หลักสงเคราะห์ประชาชนของพระราชา) 4 ประการ คือ 1) สัสสเมธะ ฉลาดบำรุงธัญญาหาร คือ ปรีชาสามารถในนโยบายที่จะบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรให้อุดมสมบูรณ์ 2) ปุริสเมธะ ฉลาดบำรุงข้าราชการ คือ ปรีชาสามารถในนโยบายที่จะบำรุงข้าราชการ ด้วยการส่งเสริมคนดีมีความสามารถ และจัดสวัสดิการให้ดี เป็นต้น 3) สัมมาปาสะผูกประสานปวงประชา คือ ผดุงผสานประชาชนไว้ด้วยนโยบายส่งเสริมอาชีพ เช่น จัดทุนให้คนยากจนยืมไปสร้างตนในพาณิชยกรรม หรือดำเนินกิจการต่าง ๆ ไม่ให้ฐานะเหลื่อมล้ำห่างเหินจนแตกแยกกัน 4) วาชไปยะ มีวาทะดูดดื่มใจ คือ รู้จักพูด รู้จักชี้แจงแนะนำ รู้จักทักทายไถ่ถามทุกข์สุขราษฎรทุกชั้น แม้ปราศรัยก็ไพเราะน่าฟัง ทั้งประกอบด้วยเหตุผล เป็นหลักฐาน มีประโยชน์ เป็นทางแห่งการสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหา เสริมความสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจดีความเชื่อถือ และความนิยมนับถือ ง) ละเว้นอคติ นักปกครอง เมื่อปฏิบัติหน้าที่ พึงเว้นความลำเอียง หรือความประพฤติที่คลาดเคลื่อนจากธรรม 4 ประการ 1) ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ2) โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง 3) โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลงหรือเขลา และ4) ภยาคติ ลำเอียงเพราะขลาดกลัว (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), 2545 : 27 – 30.)

       (3) แนวคิดของเล่าจื้อ แห่งลัทธิเต๋า ได้กล่าวถึง คุณสมบัติความเป็นผู้นำสามประการต่อไปนี้ มีค่ายิ่งสำหรับผู้นำ 1) ความเมตตากรุณาสำหรับสัตว์โลกทั้งมวล 2) ความเรียบง่ายและมัธยัสถ์ทางวัตถุ หรือความกระเหม็ดกระแหม่ และ3) ความรู้สึกเสมอภาคหรือความอ่อนน้อมถ่อมตนนอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ใช้ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มาศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ด้วย และจากแนวคิดดังกล่าวข้างต้นสามารถนำมาประกอบเป็นกรอบแนวคิดที่ผู้วิจัยใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ (บุญมาก พรหมพ้วย, 2529 : 146 – 148.)

คุณลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 7

      4. แนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพของสถาบันหรือสมาคมในประเทศ ประกอบด้วย

     แนวคิดของคุรุสภาในฐานะที่เป็นสภาของครูในประเทศไทยได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษาขึ้น เรียกว่า “เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษาของคุรุสภา 2540” ที่กล่าวว่าผู้บริหารโรงเรียน ควรมีคุณลักษณะที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานตามเกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษาของคุรุสภา 2540 ซึ่งแบ่งออกเป็น 12 มาตรฐานคือ มาตรฐานที่ 1) ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษามาตรฐานที่ 2) ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการพัฒนาของบุคลากร ผู้เรียน และชุมชน มาตรฐานที่ 3) มุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ มาตรฐานที่4) พัฒนาแผนงานขององค์กรให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง มาตรฐานที่5) พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ มาตรฐานที่ 6)ปฏิบัติงานขององค์กรโดยเน้นผลถาวร มาตรฐานที่ 7) รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีระบบ มาตรฐานที่ 8) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มาตรฐานที่ 9) ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์ มาตรฐานที่ 10) แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนามาตรฐานที่ 11) เป็นผู้นำและสร้างผู้นำ และมาตรฐานที่ 12) สร้างโอกาสในการพัฒนาได้ทุกสถานการณ์ (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, 2542 : 21 - 35. )

คุณลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 6

      3. แนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพของสถาบันหรือสมาคมต่างประเทศ ประกอบด้วย

     (1) แนวคิดของสถาบันพัฒนาครูใหญ่แห่งทัสมาเนียประเทศออสเตรเลีย (Tasmanian Principals Institute : TPI) กำหนดคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานขึ้น ภายใต้ชื่อเรียกว่า คุณลักษณะที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงาน โดยแบ่งคุณลักษณะออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) ความสามารถเฉพาะตัวในเชิงบริหาร (professional effectiveness) ประกอบด้วย 1.1) การรับรู้ด้วยตนเอง ค่านิยม ความเชื่อ และการเชื่อมโยงความคิดทฤษฎี สามารถวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งและข้อจำกัดของตนเองในการเชื่อมโยงทฤษฎีการบริหารไปสู่ระดับการปฏิบัติ 1.2) การประเมินศักยภาพตนเอง ประเมินเป้าหมายการทำงาน วิธีการทำงาน การดำเนินงานตลอดจนวิธีการบริหารงานที่นำไปสู่ความสำเร็จ1.3) ตั้งปณิธานที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ วางเป้าหมายระยะยาวในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง1.4) การดูแลเอาใจใส่สุขภาพตนเอง สร้างสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและด้านอารมณ์ 1.5) การจัดระบบตนเอง มีการลำดับความสำคัญของภาระงาน มีเป้าหมายในการทำงานและพยายามทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ 2) ความสามารถที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น (interpersonal relations) ประกอบด้วย 2.1) ความสามารถในการสื่อสาร มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับผู้ร่วมงาน นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน 2.2) การบริหารความขัดแย้ง สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน 2.3) ประเมินการทำงานเพื่อประเมินประสิทธิภาพประเมินผลการทำงานเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาบุคลากร 3) ความสามารถในด้านบริหารการศึกษา (educational leadership) ประกอบด้วย 3.1) การสร้างวิสัยทัศน์ กระตุ้นผู้ร่วมงานให้เกิดความรู้สึกอยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน 3.2) ความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอน เข้าใจแนวคิดในด้านการจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน รวมทั้งการนำไปใช้ในชั้นเรียนเพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน 3.3) การกระจายอำนาจความรับผิดชอบ มีการกระจายอำนาจการบริหารและความรับผิดชอบที่เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคลให้กับผู้ร่วมงาน 3.4) ใช้กระบวนการที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาการเปลี่ยนแปลง ใช้แนวทางที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 3.5) ชุมชนสัมพันธ์ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนโดยใช้กิจกรรมความร่วมมือในรูปแบบต่าง ๆ 4) ความสามารถในการวางแผนการทำงาน (planning and accountability) ประกอบด้วย 4.1) การจัดเก็บหลักฐานการทำงาน มีการจัดเก็บหลักฐานการทำงานเพื่อใช้ในการประเมินผลการพัฒนาโรงเรียน 4.2) การวางแผนการทำงานร่วมกัน วางแผนการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ 4.3) การจัดสรรทรัพยากร ระดมทรัพยากรทุกด้านตั้งแต่ทรัพยากรบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานการจัดการศึกษา 4.4) กระบวนการและโครงสร้างการทำงาน พัฒนาระบบการจัดการและโครงสร้างการทำงานรวมทั้งกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะผลักดันเป้าหมายไปสู่ความสำเร็จ 4.5) ความตระหนักในหน้าที่รับผิดชอบ สร้างความตระหนักในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของนโยบายด้านการจัดการศึกษาของชาติ 5) ความสามารถในการทำงานร่วมกับชุมชน (community leadership) ประกอบด้วย5.1) สร้างพันธมิตรกับองค์การภายนอกทั้งระดับบุคคลและระดับกลุ่ม เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน 5.2) คำนึงถึงชื่อเสียงของโรงเรียน ขอความร่วมมือจากฝ่ายต่าง ๆ ทั้งจากชุมชนและภาคเอกชนเพื่อให้เข้ามาสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรและนักเรียน 5.3) ดำเนินนโยบายที่ตอบสนองทั้งระดับบนและระดับล่างอย่างสมดุล ปรับแนวทางการดำเนินงานที่จะนำนโยบายจากส่วนกลางมาสู่ระดับปฏิบัติให้เหมาะสมกับท้องถิ่น 5.4) ชุมชนสัมพันธ์ เปิดโอกาสให้สมาชิกในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงเรียน 5.5) ตระหนักในพื้นฐานความคิดของชุมชนศึกษาพื้นฐานความเป็นอยู่ของชุมชน เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน 6) ความสามารถในฐานะผู้นำด้านศาสนาวัฒนธรรม และจริยธรรม (religious, cultural, and ethical leadership) ประกอบด้วย6.1) สภาพแวดล้อม สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและเอื้อต่อการพัฒนาองค์การ 6.2) การดูแลด้านวัฒนธรรม ดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ ที่สอดรับกับความเชื่อ ประเพณีปฏิบัติในสังคม 6.3) การดูแลด้านศาสนา โรงเรียนมีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนา 6.4) ด้านจรรยาบรรณส่งเสริมจรรยาบรรณที่ดีเกี่ยวกับวิชาชีพ (Tasmanian Principals Institute : (TPI), 2001 : 1 -13 )

         (2) แนวคิดของสมาคมผู้นำโรงเรียนผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพระหว่างมลรัฐ ประเทศสหรัฐอเมริกา (Interstate School Leaders Licensure Consortium : ISLLC) ที่กล่าวว่า ผู้บริหารโรงเรียนควรมีคุณลักษณะที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานตามมาตรฐานผู้นำในโรงเรียนของสมาคมผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพระหว่างมลรัฐสหรัฐอเมริกา มีจำนวนทั้งสิ้น 6 มาตรฐาน แต่ละมาตรฐานจำแนกดัชนีแสดงคุณลักษณะออกเป็น3 ด้าน คือ 1) ดัชนีด้านความรู้ 2) ดัชนีด้านทัศนคติ และ3) ดัชนีด้านการปฏิบัติหรือทักษะมาตรฐาน 6 มาตรฐาน ประกอบด้วย มาตรฐานที่ 1) ผู้บริหารโรงเรียน เป็นผู้นำทางการศึกษาที่ส่งเสริมความสำเร็จของนักเรียนทุกคนโดยการอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนา เป็นผู้ที่มีความชัดเจนในบทบาท และพร้อมที่จะปฏิบัติให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ของการเรียนรู้ที่เกิดจากการร่วมคิดโดยประชาคมโรงเรียน มาตรฐานที่ 2) ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำทางการศึกษาที่ส่งเสริมความสำเร็จของนักเรียนทุกคนโดยการสนับสนุน บำรุง ส่งเสริมวัฒนธรรมและโปรแกรมการศึกษา(หลักสูตร) ของโรงเรียนเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการพัฒนาวิชาชีพของบุคลากร มาตรฐานที่ 3) ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำทางการศึกษาที่ส่งเสริมความสำเร็จของนักเรียนทุกคนโดยสร้างความมั่นใจว่าจะบริหารองค์การ ปฏิบัติการ และใช้ทรัพยากรเพื่อจัดสิ่งแวดล้อมของการเรียนรู้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล มาตรฐานที่ 4) ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำทางการศึกษาที่ส่งเสริมความสำเร็จของนักเรียนทุกคน โดยร่วมมือกับครอบครัวและสมาชิกในชุมชนตอบสนองต่อความต้องการและความสนใจที่แตกต่างกันของชุมชน และระดมทรัพยากรจากชุมชนมาตรฐานที่ 5) ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำทางการศึกษาที่ส่งเสริมความสำเร็จของนักเรียนทุกคนโดยการแสดงออกอย่างซื่อตรง มั่นคง ยุติธรรม และมีจริยธรรม มาตรฐานที่ 6)ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำทางการศึกษาที่ส่งเสริมความสำเร็จของนักเรียนทุกคนโดยการเข้าใจตอบสนองและใช้อิทธิพล ต่อบริบทที่แวดล้อมโรงเรียนทั้งบริบทด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ กฎหมายและวัฒนธรรม ((Interstate School Leaders Licensure Consortium : ISLLC, 2000 : 97 -113 )

       (3) แนวคิดของสมรรถภาพภาวะผู้นำครูใหญ่ของฮ่องกง ได้กล่าวว่า ผู้บริหารโรงเรียนควรมีคุณลักษณะที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานตามสมรรถภาพภาวะผู้นำครูใหญ่4 ด้าน ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย 1.1) สนับสนุนให้มีการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น 1.2) สร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ขึ้นในโรงเรียน 1.3) สื่อสารเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายของโรงเรียนให้ทุกฝ่ายเข้าใจ 1.4)ปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ และเป้าหมายของโรงเรียน 1.5) ปรับระบบการบริหารงานโรงเรียนให้สนับสนุนวิสัยทัศน์ และเป้าหมายของโรงเรียน 1.6) ร่วมมือกับทุกฝ่ายจัดทำวิสัยทัศน์และเป้าหมายของโรงเรียน และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ 1.7) ติดตามประเมิน และตรวจสอบวิสัยทัศน์ของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ 1.8) นำข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ 2) ภาวะผู้นำในการสอน ประกอบด้วย 2.1) จัดสภาพแวดล้อมโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนการสอน โดยสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นคุณภาพ 2.2) ร่วมวางแผนการสอนกับครู โดยคำนึงถึงความต้องการของนักเรียน แนวโน้มปัจจุบัน และนโยบายสาธารณะ 2.3)นำทฤษฎี ผลการวิจัย และแนวปฏิบัติไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ วางแผนร่วมกับครูในการทำกิจกรรมและการให้บริการนักเรียน เพื่อสนองความต้องการด้านสังคม วัฒนธรรม และพัฒนาการของนักเรียน 2.4)ประเมินความก้าวหน้าของนักเรียนโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย และนำผลการประเมินมาปรับปรุงโปรแกรมการสอน 2.5)ส่งเสริมให้ครูยกระดับการเรียนรู้ โดยบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับการสอน2.6) เป็นตัวแบบในการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการจัดทำแผนพัฒนาตนเอง และปฏิบัติตามแผนอย่างต่อเนื่อง 2.7) หาความต้องการในการฝึกอบรมของครูและจัดให้มีการพัฒนาวิชาชีพเพื่อความเชี่ยวชาญสำหรับครู 3)ภาวะผู้นำในองค์การ ประกอบด้วย 3.1) จัดทำแผนปฏิบัติการ และกระบวนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียน 3.2) ประยุกต์ใช้ทักษะการจัดการ และกระบวนการกลุ่มเพื่อกำหนดบทบาท มอบหมายอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้3.3) สื่อสารอย่างมีทักษะเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การแสวงหาฉันทามติ และแก้ข้อขัดแย้ง 3.4) ติดตาม ประเมินความก้าวหน้าในการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ และกระบวนการดำเนินงาน ทำการปรับแผนเมื่อจำเป็น 3.5) บริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อบรรลุเป้าหมายของโรงเรียน 3.6) ระบุและวิเคราะห์แหล่งทรัพยากรทางการเงินของโรงเรียน 3.7) วางแผนงบประมาณ ติดตาม และรายงานภารกิจของโรงเรียนต่อผู้เกี่ยวข้องอย่างโปร่งใสและรับผิดชอบ 3.8) ดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน นิเทศ ประเมินผล และบริหารจัดการโรงเรียนอย่างมีความรับผิดชอบ 3.9) จัดการเกี่ยวกับอาคารสถานที่ และอุปกรณ์ต่าง ๆเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่สวยงาม ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.10) ใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงเรียน 3.11) บริหารโรงเรียนโดยยึดตามกรอบของระเบียบกฎหมาย นโยบายระดับต่าง ๆ 3.12) สร้างระบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4) ภาวะผู้นำทางจริยธรรม ประกอบด้วย 4.1) เป็นตัวแบบในทางจริยธรรม โดยเฉพาะความซื่อสัตย์ทั้งในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว 4.2) ส่งเสริมพฤติกรรมความมีจริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริตภายในโรงเรียน 4.3) แสดงความชื่นชอบและเอาใจใส่ต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน และบุคลากรในโรงเรียน 4.4)แสดงความรับผิดชอบต่อนักเรียน ผู้ปกครอง ครู เขตพื้นที่ และสาธารณะในการจัดการศึกษาให้มีความเสมอภาคประสิทธิภาพ และประสิทธิผล (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2543 : 23 – 27. )

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คุณลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 5

         2. แนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพของนักวิชาการในประเทศ ประกอบด้วย

        2.1 แนวคิดของภิญโญ สาธร ที่กล่าวว่า ในการบริหารงานต่าง ๆ ในสังคมไทยนั้น ผู้นำจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1)ใจกว้าง ใจดี ไม่ตระหนี่ต่อการเลี้ยงดูและให้รางวัล 2) มีพรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ในสถานที่ สถานการณ์ และเวลาอันเหมาะสม 3) หนักแน่น ไม่หูเบา รับฟังจากทุกฝ่าย 4) มีความยุติธรรม และให้ความเสมอภาคแก่ทุกคน 5) ซื่อสัตย์และสุจริต 6) ตรงต่อเวลา 7) ขยันและอุทิศเวลาให้แก่งาน 8) กล้ารับผิด 9) มีความจริงใจในการพูดและการกระทำทุกชนิด 10) เอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของผู้น้อยอยู่เสมอ 11) อ่อนหวาน นอบน้อม สุภาพ 12) รู้จักเลือกใช้คน 13) อดทนด้วยความเยือกเย็นต่อคำพูดที่ขัดแย้งหรือไม่เป็นมิตรทุกชนิด 14) ติดตามคำสั่งที่สั่งการไปแล้วอยู่เสมอ 15) ฉลาดที่จะกระตุ้นเตือนผู้น้อยเมื่อล่าช้าหรือผิดพลาด 16) หมั่นอบรมผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ให้มีความสามารถและรู้วิธีการปฏิบัติงานโดยเหมาะสม 17) ให้ผู้น้อยพบปะได้โดยง่าย 18) กินง่ายอยู่ง่ายไม่ถือตัว เข้ากับคนทุกชั้นได้ 19) ชมคนเป็น และขยันชม 20) ไม่ดุด่า หรือกล่าวผรุสวาทใด ๆ ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา21) รู้จักใช้อำนาจโดยไม่ให้ผู้อื่นรู้สึกว่าถูกบีบบังคับ 22)ให้เกียรติเจ้าของความคิดหรือเจ้าของโครงการใหม่ ๆ เสมอ 23) ไม่โลเลเปลี่ยนใจง่าย 24) สั่งงานเป็น ถูกจังหวะ เหมาะกับคนที่รับงานไปปฏิบัติ 25) เป็นตัวอย่างที่ดีทุกด้านของผู้น้อย 26) รักษาระเบียบวินัย ปฏิบัติงานตามข้อบังคับและกฎหมายโดยเคร่งครัดทุกโอกาส 27)ละเว้นจากการประพฤติชั่วซึ่งจะทำให้สังคมรังเกียจตามสภาพของวัฒนธรรมไทย 28) มีความเด็ดขาด เด็ดเดี่ยว มั่นคง แน่นอน 29) รู้จักถนอมน้ำใจคน30) รู้จักสร้างและระวังรักษาบุคลิกลักษณะของตนอยู่เสมอ(ภิญโญ สาธร, 2523 : 151 -152 )

          2.2 แนวคิดของ สมพงษ์ เกษมสิน ซึ่งมีความเห็นว่า คุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับผู้นำ แบ่งออกได้เป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านพื้นฐานและประสบการณ์ (background and experience) ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ การตัดสินใจ การวินิจฉัยสั่งการ การวางแผน ความสามารถทางด้านเทคนิคและการบริหาร และทักษะในการทำงานด้านต่าง ๆ 2) ด้านสติปัญญา และคุณภาพของสมอง (intellectual and mental qualities) ได้แก่ความสามารถทางด้านภาษา ความสามารถทางด้านเหตุผล ความสามารถจดจำ ความสามารถด้านรอบรู้ทั่วไป ความสามารถในการใช้ดุลยพินิจ ความสามารถในการปรับตัวด้านต่าง ๆ 3) ด้านคุณลักษณะทางกาย (physical attributes) ได้แก่ การมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงและมีสุขภาพจิตที่ดี4) ด้านบุคลิกภาพและความสนใจ (personality and interest) ได้แก่ ความกระตือรือร้นและความเต็มใจในการปฏิบัติงาน ความเชื่อมั่นในตนเอง และความรับผิดชอบ (สมพงษ์ เกษมสิน, 2526 : 296 – 298 )

          2.3 แนวคิดของธงชัย สันติวงษ์ ได้กล่าวเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารไว้ว่า จะต้องมีความสามารถในการประสานงาน ประสานคน ประสานความคิด เป็นผู้ที่มีความอดทน ไม่แสดงความโกรธ ความหงุดหงิด ความก้าวร้าวให้ผู้อื่นเห็น มีสายตายาวไกล มีจิตใจมั่นคง ไม่อ่อนไหวง่าย ยิ้มได้เมื่อภัยมา มองปัญหารอบข้างเป็นเรื่องง่ายต่อการแก้ปัญหา และสามารถเลือกสรรกลยุทธ์ ในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ปัญหานั้น ๆ ได้อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพที่เป็นจริง เพื่อความสำเร็จของงานอย่างมีประสิทธิภาพ (ธงชัย สันติวงษ์, 2531 : 2 )

           2.4 แนวคิดของวิศิษฎ์ พิพัฒน์ภิญโญพงค์ ได้เสนอหลักและวิธีการปฏิบัติงานเพื่อเป็นผู้บริหาร โดยเน้นการสร้างคุณลักษณะสำคัญ 10 ประการ คือ 1) การรักษาระเบียบวินัย 2) การเรียนรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา 3) มีความเสียสละและให้ความช่วยเหลือต่อเพื่อนร่วมงาน 4) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน 5) ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต 6)มีความตรงต่อเวลา 7) มีความรับผิดชอบต่อองค์กร งาน และลูกค้า 8) ประหยัดให้องค์กรอย่างสมเหตุสมผล9) รักษาสุขภาพและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 10) มองโลกในแง่ดี (วิศิษฎ์ พิพัฒน์ภิญโญพงค์, 2535 : 38 -39 )

          2.5 แนวคิดของอำนวย วีรวรรณ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน ไว้ 7ประการ คือ 1) ความเป็นผู้รู้ซึ้งถึงแก่นงาน คือ เป็นผู้ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาในการปฏิบัติ นำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์ และพยายามใฝ่หาความรู้เกี่ยวกับงานที่ตนรับผิดชอบอยู่ตลอดเวลา 2) ความเป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อให้เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นโดยมีจิตสำนึกอยู่เสมอว่า วิทยาการต่าง ๆ ในโลกก้าวหน้า และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาต้องตื่นตัวปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันเหตุการณ์ และการเปลี่ยนแปลงของโลก 3) ความเป็นผู้รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นศิลป์ในการดำเนินงานไม่ให้กระทบกระเทือนต่อผู้ร่วมงานหรือผู้อื่น 4)ความเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ คือ ต้องมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ร่วมงาน เข้ากับคนอื่นได้เป็นอย่างดีรู้จักใช้ศิลปะในการเจรจา และรู้จักสร้างศรัทธา และบำรุงขวัญเพื่อเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ร่วมงานด้วย5) ความเป็นผู้เคารพนับถือในความคิดเห็นของผู้อื่น และรู้จักแสดงความคิดเห็นของตนโดยจะต้องรู้จักฟังและนับถือความคิดเห็นของผู้อื่น 6) ความเป็นผู้กล้าตัดสินใจ และมีความมานะพยายามคือ มีความกล้าหาญในการตัดสินใจด้วยความเชื่อมั่น และยอมทุ่มเทสติปัญญา กำลังและความสามารถในการทำงานแม้ว่าจะเป็นงานหนักก็ตาม 7) ความเป็นผู้มีคุณธรรมกำกับวิถีทางชีวิตโดยจะต้องตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต ความจงรักภักดี เพียบพร้อมด้วยสัจธรรมไม่เอารัดเอาเปรียบหรือเห็นแก่ได้ โดยไม่นึกถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น (อำนวย วีรวรรณ,2535 : 194 – 199 )

           2.6 แนวคิดของดนัย เทียนพุฒ ได้สรุปปัจจัยใหม่ของผู้บริหารระดับสูง โดยกล่าวว่า ผู้บริหารระดับสูงต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ 6 ประการ คือ 1) การมองการณ์ไกล ได้แก่ ความสามารถวาดภาพกฎเกณฑ์ในอนาคตได้สมจริงและมีการวางแผนและการเตรียมการสำหรับงานในอนาคตได้อย่างเหมาะสม 2) ความเป็นผู้นำ ได้แก่ กล้าตัดสินใจ มีความอดทน มีความสามารถในการแก้ปัญหาและสามารถโน้มน้าวผู้อื่นให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ 3) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้แก่ มีความคิดริเริ่มสร้างสิ่งใหม่ ๆ สามารถยืดหยุ่นวิธีการเพื่อความสำเร็จของงาน และค้นคว้าวิธีทำงานที่มีประสิทธิภาพ 4) มีความสามารถในการเจรจาจูงใจหรือเป็นนักล็อบบี้ได้แก่ มีความสามารถในการเจรจาต่อรอง และเป็นนักมนุษยสัมพันธ์ชั้นสูง 5)มีความคิดเชิงธุรกิจและความรับผิดชอบได้แก่ เป็นนักการตลาด ไม่เอาเปรียบผู้อื่น และมีความรับผิดชอบ 6) ประนีประนอม ได้แก่สามารถยืดหยุ่นวิธีการเพื่อความสำเร็จของงาน และมีความสามารถในการประสานประโยชน์ (ดนัย เทียนพุฒ, 2536 : 203 - 206

           2.7 แนวคิดของวีระวัฒน์ ปันนิตามัย ได้กล่าวถึงคุณลักษณะพึงประสงค์ของการเป็นผู้นำที่ดี ไว้ดังนี้ 1) แสดงความเป็นของแท้ (authenticity) หมายถึง ผู้นำต้องแสดงความเชื่อมั่นศรัทธาในสิ่งที่ตนยึดถือต่อค่านิยมเชิงสร้างสรรค์อย่างแท้จริง กระตุ้นและก่อให้เกิดความทะเยอทะยาน สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีขององค์การได้ สนับสนุนศรัทธาคำพูดของตนด้วยการกระทำ 2) การมีวิสัยทัศน์(vision) หมายถึง ผู้นำมีความสามารถพินิจพิเคราะห์ สภาพแวดล้อมทั้งในและนอกองค์การในแง่มุมของอดีตและปัจจุบัน คาดคะเนพยากรณ์ และสร้างภาพ (image) ฉายไปในอนาคตได้ว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงอะไรแล้วทำการสื่อสาร (communication)ภาพดังกล่าวให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทราบ 3) ต้องมีความกล้าตัดสินใจ (decisiveness) คือ ต้องทำการตัดสินใจที่เหมาะสม ทันกาลและต้องตัดสินใจภายใต้ข้อมูลและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด นอกจากนี้ผู้นำที่ดีต้องกล้ารับผิดชอบต่อผลการตัดสินใจใด ๆ ที่เกิดขึ้น 4) แสดงความใส่ใจ (focus) ผู้นำต้องเลือกที่จะใส่ใจและสนใจในบางเรื่อง ไม่ควรใส่ใจเสียเวลาในทุกเรื่องหรือให้ความสำคัญในบางเรื่องเท่ากันหมด การจัดลำดับความสำคัญความเร่งด่วนของงานที่ทำจึงมีความหมายมาก 5) สร้างความรู้สึกประทับใจเป็นส่วนตัว (personal touch) ผู้นำที่ดีต้องสามารถสร้างศรัทธาและความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใต้บังคับบัญชา รู้จักการใช้ช่องทางการสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการได้อย่างถูกกาลเทศะ สอบถามทุกข์สุขของผู้ใต้บังคับบัญชา รู้จักสร้างขวัญและกำลังใจ 6) มีความสนใจในการสื่อสารและเก่งคน(communication and people skill) ทักษะการพูด ฟัง เขียน อ่าน ของผู้นำจะสะท้อนให้เห็นความสามารถของสมอง ผู้นำไม่สามารถจะทำงานทุกอย่างได้ด้วยตนเองภายใต้เวลาที่จำกัดความสามารถสื่อสารและอาศัยการเก่งคน การมีเครือข่ายมนุษยสัมพันธ์ที่ดี จะสามารถทำให้ผู้นำสามารถร้องขอความช่วยเหลือ กระตุ้นแรงจูงใจและใช้ “คน” ทำงานได้สำเร็จตามที่ผู้นำต้องการ7) การพัฒนาตนเองอยู่เสมอ (ever forward) ผู้นำจะต้องพัฒนาลักษณะการทำงานให้ดีอยู่เสมอเพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น (วีระวัฒน์ ปันนิตามัย, 2537 : 13 -16 )

             2.8 แนวคิดของศิริพร พงศ์ศรีโรจน์ ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของผู้นำที่ดีไว้ดังนี้ 1) คุณลักษณะด้านวิชาการ ได้แก่ 1.1) มีความรู้ด้านวิชาชีพเป็นอย่างดี 1.2) มีความรู้ด้านความรู้ทั่ว ๆ ไปดี 1.3) มีประสบการณ์ในการบริหาร 2) คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ ได้แก่ 2.1) มีบุคลิกภาพด้านร่างกายดี บุคลิกลักษณะดี แต่งกายถูกต้อง มีชีวิตชีวาวาจาดี วางตนเหมาะสม 2.2) มีบุคลิกภาพด้านจิตใจดี มีความเชื่อมั่น ศรัทธาผู้อื่น มีความอดทนกล้าหาญ มีเมตตาจิต มีวินัย มีใจเป็นธรรม และมีอารมณ์ขัน 2.3)มีบุคลิกภาพด้านสังคมดีมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ช่วยเหลือสังคม เห็นประโยชน์ส่วนรวมเหนือประโยชน์ส่วนตน3) คุณลักษณะด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน มีสติปัญญาฉลาด รู้บทบาทตน รับผิดชอบมีความกล้า แนบเนียน เด็ดขาด กระตือรือร้น บังคับตนเองได้ รวมทั้งมีความสามารถในด้านการตัดสินใจ การจูงใจ การประสานงาน มีผลงานที่ประสบผลสำเร็จ (ศิริพร พงศ์ศรีโรจน์, 2538 : 190 – 191 )

           2.9 แนวคิดของเอกชัย กี่สุขพันธ์ ได้กล่าวถึง ผู้บริหารในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในปัจจุบันควรมีคุณสมบัติดังนี้ 1) มองกว้างไกลอย่างต่อเนื่อง และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ (vision) สามารถที่จะกำหนดกลยุทธ์ในการบริหาร (strategic management) ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ผู้บริหารจะต้องมีทักษะที่สำคัญในการกำหนดเป้าหมายการทำงาน กำหนดนโยบาย และวิธีการทำงานที่ชัดเจน 2) สามารถที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ (analyze situations) เพื่อกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมายและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 3) ไวต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมทั้งภายนอก และภายในองค์กร ทั้งจะต้องรู้จักวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาอีกด้วย 4)ความสามารถในการจัดระบบการสื่อสารให้ได้ผล (effective communication) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ให้ทั่วถึงทุกระดับ ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เป็นอย่างดี 5) ความสามารถในการบริหารทรัพยากรบุคคล (human resource management) ต้องสามารถวางแผนบุคลากรสรรหาคัดเลือกกำหนดระบบค่าจ้าง เงินเดือน ผลตอบแทน ความก้าวหน้าในอาชีพ การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและวิจัยเกี่ยวกับบุคลากรในองค์การ เพื่อให้ทราบถึงแนวคิด ทัศนคติ ความอึดอัดใจ ความไม่พอใจต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น และนำมาเป็นข้อมูลในการบริหารทรัพยากรบุคคล 6) มีคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหาร สามารถที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีในการประพฤติ เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาใช้เป็นแบบอย่าง ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่การงานแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อม (เอกชัย กี่สุขพันธ์, 2538 : 19 -20 )

            2.10 แนวคิดของอภิรมย์ ณ นคร ได้กล่าวไว้ว่า ความเจริญของโรงเรียนต้องอาศัยคุณลักษณะของผู้บริหาร ดังนี้ 1) สมรรถภาพทางส่วนตัว ได้แก่ 1.1) มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งทางกายและจิตใจ 1.2) มีความเฉลียวฉลาด 1.3) มีบุคลิกภาพดี 1.4) มีอารมณ์ขัน และไม่เป็นคนเจ้าอารมณ์ 1.5) มีศีลธรรมจรรยา 1.6) ซื่อสัตย์และมั่นคง 1.7)มีเหตุผล และมีความยุติธรรม 2) สมรรถภาพทางวิชาชีพ ได้แก่ 2.1) มีพื้นฐานการศึกษาที่สูงพอ 2.2) มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในศาสตร์ที่เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา 2.3) มีประสบการณ์ก่อนที่จะรับตำแหน่งอย่างเพียงพอ 2.4) มีความสามารถต่อการทำงานเป็นกลุ่ม (อภิรมย์ ณ นคร, 2521 : 12 -13 )

              2.11 แนวคิดของวิจิตร วรุตบางกูร และสุพิชญา ธีระกุล ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้บริหารโรงเรียนไว้ 5 ประการ คือ 1) มีความเป็นผู้นำ (leadership) คือ มีอิทธิพลในตนเองสูงกว่าอิทธิพลอื่น ๆ ของบุคคลในกลุ่ม และสามารถชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานได้ คุณสมบัติด้านนี้ประกอบด้วยลักษณะต่าง ๆ คือ มีความร่าเริง แจ่มใส และอดทน สามารถตัดสินใจและจูงใจคน มีความรับผิดชอบฉลาด และไหวพริบดี มีความอุตสาหะวิริยะ มีความเสียสละ มีบุคลิกภาพดี และมีความเป็นประชาธิปไตย 2) มีมนุษยสัมพันธ์ (human relationship) ผู้บริหารจะต้องทำงานร่วมกับบุคคลอื่นทั้งนอกและในโรงเรียน ดังนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งประกอบไปด้วยลักษณะที่สำคัญ คือ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเสมอต้นเสมอปลาย ยกย่องชมเชย รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความยืดหยุ่น เปิดเผย เป็นกันเอง 3) มีความรู้และประสบการณ์ (knowledge and experience) เป็นคุณสมบัติที่เกี่ยวกับงานในอาชีพของผู้บริหาร โดยเฉพาะมีคุณสมบัติที่สำคัญยิ่ง เช่น มีความรู้และประสบการณ์ มีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของงาน และรู้เท่าทันเหตุการณ์ 4) มีคุณธรรมสูง (virtue) คุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้บริหารให้มีพฤติกรรมแต่สิ่งที่ดีงามได้แก่ มีความยุติธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความจงรักภักดีและมีศีลธรรม 5) มีสุขภาพดี(healthy) คือ มีสุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิตใจดี สุขภาพจะเป็นเครื่องสร้างเสริมการปฏิบัติให้ถูกต้องและสม่ำเสมอ (วิจิตร วรุตบางกูร และสุพิชญา ธีระกุล, 2523 : 74 -76 )

              2.12 แนวคิดของพนัส หันนาคินทร์ ได้พิจารณาคุณลักษณะที่สำคัญของผู้บริหารการศึกษา และได้จำแนกคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาไว้ 2 ประการคือ 1)คุณลักษณะส่วนตัว ประกอบด้วย ความมีสุขภาพดี ความเฉลียวฉลาด ความประพฤติดี อารมณ์มั่นคง มีความสามารถในการแสดงซึ่งความคิด ความไม่เห็นแก่ตัว ความรู้จักเกรงใจผู้อื่น การมีไหวพริบปฏิภาณดี เป็นต้น 2) คุณลักษณะทางวิชาชีพ ประกอบด้วย 2.1)ความรู้ทางวิชาการ ได้แก่ความรู้ทั่วไป และความรู้ทางวิชาชีพ 2.2)ระดับความรู้ หมายถึง ระดับการศึกษาที่ได้จากการศึกษาเล่าเรียนซึ่งไม่ควรต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ระดับการศึกษานี้เป็นเครื่องแสดงถึงความสามารถทางสติปัญญาความรู้ที่นำไปประกอบการงานได้พอควร 2.3) ประสบการณ์ ผู้บริหารที่ดีส่วนใหญ่มีประสบการณ์การทำงานหรือผ่านงานต่าง ๆ มาแล้ว ประสบการณ์จะช่วยให้เข้าใจปัญหาและสถานการณ์ตามความเป็นจริงดีขึ้น 2.4) การฝึกอบรมระหว่างประจำการ ผู้บริหารต้องหมั่นติดตามความเคลื่อนไหวทางการศึกษา เนื่องจากวิชาการและเทคนิคในการทำงานเปลี่ยนแปลงและก้าวหน้าอยู่เสมอ กิจกรรมที่ผู้บริหารควรปฏิบัติ ได้แก่ การประชุมทางวิชาการ การสัมมนาการเขียนบทความ การอ่านหนังสือเกี่ยวกับวิชาการและวิชาชีพ การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระหว่างผู้บริหารและเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น (พนัส หันนาคินทร์, 2524 : 63 -67 )

            2.13 แนวคิดของนพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ได้จำแนกคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียน 3 ด้าน คือ 1) คุณลักษณะด้านวิชาการ ได้แก่ 1.1)ด้านการศึกษาทางวิชาชีพของผู้บริหาร 1.2) ด้านความรู้ทั่วไปของผู้บริหาร 1.3) ด้านประสบการณ์ของผู้บริหาร 2) คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพของผู้บริหาร ได้แก่ 2.1) บุคลิกภาพทางด้านร่างกาย ประกอบด้วย รูปร่างหน้าตา ความมีชีวิตชีวาร่าเริง การแต่งกาย วาจา ท่าทางการวางตน สุขภาพ 2.2) บุคลิกภาพทางด้านจิตใจและอารมณ์ ประกอบด้วย อุดมการณ์ ความเชื่อมั่นของตนเอง เสียสละ ศรัทธา ความไว ความเห็นอกเห็นใจ ความมีพลัง อดทน ขยัน กล้าหาญกล้าพูด กล้าทำ ตื่นตัวอยู่เสมอ ความมีเมตตาจิต ยุติธรรม อารมณ์มั่นคง มีอารมณ์ขัน มีวินัย2.3) บุคลิกภาพทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ความใจกว้าง บริการช่วยเหลือกว้างขวาง ฐานะทางเศรษฐกิจดีพอสมควร เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน และ3)คุณลักษณะด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน มีองค์ประกอบดังนี้ ความมีสติปัญญาฉลาดและมีไหวพริบ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การมีส่วนร่วม ความสามารถในการจูงใจคนความสามารถในการตัดสินใจ ความสามารถในการประสานทั้งงานและคน และเคยประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานมาก่อน (นพพงษ์ บุญจิตราดุล, 2525 : 39 – 40 )

            2.14 แนวคิดของ ทองอินทร์ วงศ์โสธร ได้จำแนกคุณลักษณะผู้นำของครูใหญ่ ออกเป็น 2 ด้าน คือ 1) คุณลักษณะเชิงกายภาพ หมายถึง คุณลักษณะภายนอกของผู้บริหารที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ได้แก่ ความสูง ความแข็งแรงของร่างกายรูปร่างหน้าตา น้ำเสียงและฐานะทางการเงิน 2) คุณลักษณะเชิงคุณภาพ หมายถึง คุณลักษณะอันเกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ ความสามารถในการบริหารงาน และทักษะทางสังคม ได้แก่ ความทะเยอทะยาน ความเชื่อมั่นในตนเอง ความซื่อสัตย์ ความกล้าได้กล้าเสีย ความสามารถในการใช้อำนาจเหนือคนอื่น ความทนอยู่ในความคับข้องใจ ความสามารถในการพูด ความเป็นผู้รอบรู้ความสามารถในการตัดสินใจ ความสามารถในการแก้ปัญหา ความเห็นอกเห็นใจ ความมีมนุษยสัมพันธ์ ความเฉลียวฉลาด และความรับผิดชอบ (ทองอินทร์ วงศ์โสธร, 2535 : 88 -89 )

              2.15 แนวคิดของรุ่ง แก้วแดง ได้กล่าวถึงภาพลักษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาในปัจจุบันจะเปลี่ยนไปโดยผู้บริหารโรงเรียนยุคใหม่จะต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้ 1) ความเป็นผู้นำทางวิชาการที่เข้มแข็ง 2) เป็นผู้จัดการที่เฉียบแหลม 3) เป็นผู้ประสานชุมชนที่ดี 4) เป็นผู้อำนวยความสะดวกที่เชี่ยวชาญ และ5) เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มองอนาคตของโรงเรียนในทางสร้างสรรค์ (รุ่ง แก้วแดง, 2541 : 278 )

         2.16 แนวคิดของธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ ได้ศึกษารวบรวมกล่าวถึงผู้บริหารมืออาชีพ สรุปได้ว่า จะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ ความมีวิสัยทัศน์ (ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ, 2540 : 35 )

         2.17 แนวคิดของเกษม วัฒนชัย กล่าวถึงผู้บริหารการศึกษามืออาชีพตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 คำว่ามืออาชีพ (Professional) และคำว่า ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism) ซึ่งความเป็นมืออาชีพจะมีเงื่อนไขอยู่ 2 ประการคือ 1) ต้องได้รับการฝึกอบรมตามมาตรฐานของวิชาชีพนั้น ๆ (To be trained according to professional standard) 2)ต้อง common respect ต้องประพฤติปฏิบัติตนจนกระทั่งได้รับความเคารพจาก 2 ฝ่าย คือ จากสมาชิกวิชาชีพเดียวกันและจากประชาชนทั่วไป ดังนั้น ถ้าต้องการมีความเป็นมืออาชีพ มีเงื่อนไข 2 ประการ คือ ต้องฝึกอบรมในวิชาชีพนั้น ๆ และต้องได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากคน 2 ฝ่าย คือจากเพื่อนนักบริหารเองและจากประชาชนทั่วไป (เกษม วัฒนชัย, 2545 : 84 )

            2.18 แนวคิดของอุทัย เดชตานนท์ ได้ให้ทรรศนะว่า นักบริหารมืออาชีพ มีข้อพิจารณาที่จะต้องเปิดกว้างใน 3 ประเด็น คือ 1) นักบริหารมืออาชีพ ต้องกล้าที่จะเสนอตนเองพิสูจน์ผลสำเร็จจากการทำงานของตนเสมอ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยมิใช่แสดงบทฉาบฉวยเฉพาะในเชิงประชาสัมพันธ์โดยไร้การพิสูจน์อย่างจริงจัง 2)นักบริหารมืออาชีพ ต้องไม่อาศัยเกราะกำบัง หรือบารมีใด ๆ เข้าช่วยผลสำเร็จจากการทำงานจะต้องพิสูจน์ได้ว่า ทำได้ด้วยฝีมือ มิใช่ด้วยการอาศัยบารมีผู้อื่น หรือด้วยเล่ห์กระเท่ทางการเมือง จนทำให้เกิดปัญหาด้านจรรยาบรรณขึ้นในอีกด้านหนึ่ง 3) นักบริหารมืออาชีพ ไม่ควรอยู่ในภาวะของเด็กหัดเดินหรืออยู่ในระหว่างทดลอง หรือไร้การประเมินในสภาพไม่ต่างกับกฤษณาสอนน้องที่มีแต่ข้อยกเว้นตลอดเวลา ดังนั้น ความจริงในการเอาตัวเองเข้าเสี่ยงในผลสำเร็จหรือล้มเหลว จึงต้องเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดที่จะต้องมีพร้อม เช่น เถ้าแก่ หรือ เจ้าของกิจการทั้งหลาย ที่ต่างต้องเอาผลประโยชน์ของตนเองและครอบครัวเข้าเสี่ยงอย่างเต็มที่โดยเต็มภาคภูมิ (อุทัย เดชตานนท์, 2545 : 58 )

            2.19 แนวคิดของธีระ รุญเจริญ ได้เสนอลักษณะนักบริหารการศึกษามืออาชีพที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารและการจัดการศึกษา ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ลักษณะดังกล่าวประกอบด้วย 1) ลักษณะพื้นฐานธรรมชาติเดิมเป็นทุน คือ เป็นผู้นำตามธรรมชาติ มีความถนัด (attitude) ในการเป็นผู้นำ มีลักษณะนิสัยในการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น ร่วมทำงานและเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ 2) การศึกษามีวุฒิปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษาขึ้นไปครอบคลุมเนื้อหาสาระในด้านการบริหาร ด้านจิตวิทยาการทำงานกับคนอื่นด้านพื้นฐานการศึกษาค้นคว้าวิจัย ด้านบริบททางการบริหารการศึกษา เช่น ระเบียบ กฎหมายสังคมวิทยา ปรัชญา เศรษฐกิจ การปกครอง 3) บุคลิกภาพน่าเชื่อถือ เป็นบุคคลที่มีน้ำเสียงการพูดน่าฟัง เข้าใจง่าย มีอารมณ์มั่นคง (Emotional Quotient :EQ) มีความเข้มแข็งแต่ถ่อมตน มีกิริยามารยาทเป็นที่ยอมรับของสังคม มีการแต่งกายสอดคล้องกับกาลเทศะ 4) คุณธรรมจริยธรรมมีวิสัยทัศน์ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลง ยึดระบบคุณธรรมเป็นที่ตั้ง มีความโปร่งใส ยุติธรรมซื่อสัตย์ ไม่คอร์รัปชั่น อดทน อดกลั้น รับทั้งผิดและชอบ เสียสละ เป็นคนดีของสังคม 5) ความสามารถและชำนาญในด้านการบริหารและจัดการศึกษาตามหลักวิชาและการปฏิบัติ นำองค์การไปสู่เป้าหมาย โดยยึดองค์คณะบุคคล มีส่วนร่วมส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีมประสานงานเพื่อผลงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ปรับเปลี่ยนเทคนิค เพื่อสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง 6) ความรู้ลึกและรู้รอบในด้านการบริหาร/จัดการ การจัดการศึกษา ระเบียบ กฎหมายบริบททางสังคม การวิจัย จิตวิทยา การบริหาร 7) การมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา เพื่อเป็นหลักประกันการบริหารที่มีประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล เพื่อจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นหลักประกันคุณภาพ เพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่อง และมุ่งมั่นปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ( ธีระ รุญเจริญม 2543 : 75 )

         2.20 แนวคิดของสมชาย เทพแสง ได้กล่าวถึงผู้บริหารมืออาชีพซึ่งมีลักษณะของผู้บริหารที่ได้พิจารณาจากผู้มีความสามารถและจากประสบการณ์ จะมีลักษณะ 20 P ดังนี้ 1) psychology ผู้บริหารต้องมีจิตวิทยาในการบริหารคน รู้นิสัยใจคอของลูกน้องเป็นอย่างดี ที่เรียกว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษานิสัยใจคอของแต่ละคนว่าเป็นคนอย่างไร คือจะไปบริหารใครต้องวิเคราะห์เขาก่อนเป็นอันดับแรก 2) personality มีการแต่งกายที่ดี บุคลิกภาพที่ดีการเดินที่สง่าผ่าเผย ตลอดจนการพูดจามีหลักเกณฑ์น่าเชื่อถือ การยิ้มแย้มแจ่มใส มีอัธยาศัยไมตรีเป็นสิ่งสำคัญทำให้เกิดความประทับใจ บุคลิกภาพจึงมีส่วนสำคัญรวมทั้งการวางตนให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่การงาน มารยาทต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงทุก ๆ ด้าน 3) pioneer ต้องเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกกล้าได้กล้าเสีย โดยเฉพาะสถานศึกษาใหม่ ๆ ที่ยังไม่เป็นที่นิยม ผู้บริหารต้องวางแผนนิยมผู้บริหารต้องวางแผนเชิงรุกเพื่อให้คนยอมรับศรัทธา ต้องเหน็ดเหนื่อยมานะอดทนเพื่อให้ได้ตามเป้าหมาย 4) poster การทำงานต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์ แม้จะเป็นงานเล็กแต่เราก็เอาจุดเด่นของงานมาตีแผ่ จะช่วยทำให้เป็นที่รู้จักได้มากขึ้น การประชาสัมพันธ์ที่ดีที่สุดคือมุขปาฐะ (mouth to mouth) 5) parent ผู้บริหารต้องเป็นพ่อแม่หรือผู้ปกครอง ต้องมีพรหมวิหารธรรม 4 คือ มีเมตตากรุณา มุทิตา อุเบกขา ไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง วางตัวเป็นกลาง ให้ความยุติธรรมแก่ทุกฝ่ายเสมอหน้า สร้างสังคมให้เป็นปึกแผ่นแน่นแฟ้นสามัคคีกลมเกลียว 6) period ผู้บริหารต้องเป็นคนตรงเวลา การทำงานตรงเวลาสะท้อนให้เห็นว่าเป็นคนซื่อสัตย์ได้ทางหนึ่ง และเป็นตัวอย่างลูกน้องได้อีกด้วย 7) pacific ผู้บริหารต้องมีความสุขุม รอบคอบ ใจเย็น มีกลยุทธ์ที่ยอดเยี่ยม สำนวนอังกฤษว่า a snake in the grass เหมือนกับเสือซ่อนเล็บหรือคมในฝัก ทำให้คนอื่นไม่สามารถรู้จิตใจเราได้ว่าคิดอะไร ทำอะไร การทำงานที่สุขุมรอบคอบทำให้งานดำเนินงานไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะถ้าประมาท งานก็อาจจะเสียหายได้ในภายหลัง 8) pleasure ผู้บริหารต้องมีอารมณ์ขันแก้สถานการณ์ในช่วงที่ตึงเครียดได้ คนที่มีอารมณ์ขันจะช่วยให้คนอื่นไว้วางใจ ให้ความไว้เนื้อเชื่อใจได้ ตลอดจนการทำงานเป็นไปด้วยความสุขไม่เคร่งเครียด 9) prudent การมองการณ์ไกลหรือวิสัยทัศน์ ทำให้เราเป็นผู้ทันสมัยอยู่ตลอด ผู้บริหารจำเป็นต้องมี เพราะการคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นล่วงหน้าได้ ความผิดพลาดจะน้อยลง 10) principle การทำงานของผู้บริหารต้องยึดหลักการเป็นหลัก รวมทั้งทฤษฎีต่าง ๆ ที่สามารถอ้างอิง หรือพิสูจน์ได้ นอกจากนี้ควรมีเหตุผลประกอบการชี้แจงได้ 11) perfect งานที่เกิดขึ้นต้องให้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ครบถ้วน ถูกต้องและมีการตรวจสอบ ประเมินผลงานอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นคุณภาพของงานเป็นหลัก 12) point งานที่ทำต้องมีวัตถุประสงค์แน่นอนชัดเจนสามารถดำเนินไปอย่างมีทิศทางเหมือนหางเสือที่บังคับให้เรือเดินไปอย่างถูกต้องแม่นยำ 13) plan งานที่ทำต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบและพึงระลึกอยู่เสมอว่า “งานใดก็ตามถ้ามีการวางแผนงาน งานนั้นสำเร็จไปแล้วครึ่งทาง”14) pay ต้องมีการกระจายงานอย่างทั่วถึง และให้รางวัลบุคคลที่ทำผลงานดีเด่น เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับบุคคลที่สร้างสรรค์ผลงานให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรมุ่งทำงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อไป 15) participation ต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน ทำให้ทุกคนมองเห็นความสำคัญของงาน พร้อมใจที่จะช่วยงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ 16) pundit ต้องมีความรู้เรื่องที่ทำอย่างชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้ 17) politic ต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองการปกครอง บางครั้งต้องทำตนเหมือนนักการเมืองเข้ากับคนได้ทุกชั้น ตลอดจนลู่ลมบ้างอย่าแข็งเกินไป 18) poet ต้องมีความสามารถด้านสำนวนโวหาร เพราะถ้ามีความสามารถด้านการเขียน จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง และเกิดความเลื่อมใสศรัทธาจากคนอื่น 19)perception ต้องมีความสามารถในการหยั่งรู้ คาดการณ์ ตรวจสอบ และทบทวนสิ่งที่คาดการณ์ไว้ตลอดจนบันทึกเหตุการณ์ เพื่อนำมาเปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นและเลือกใช้อย่างเหมาะสม 20)psycho ต้องมีจิตวิญญาณของนักบริหาร เป็นผู้มีความรักในอาชีพครู เป็นผู้บริหารที่มีอุดมการณ์และปณิธานที่แน่วแน่ ในการแก้ไขปัญหาสังคม ตลอดจนการปฏิรูปสังคมโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน ผู้บริหารต้องรักในศักดิ์ศรีในสถาบันของตนเอง ไม่ดูถูกดูแคลนอาชีพของตนเอง และพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ระเบียบวินัยตลอดจนจรรยาบรรณในอาชีพของตน (สมชาย เทพแสง,2543 : 25 -30 )

        2.21 แนวคิดของบุญชัย พิทักษ์ดำรงกิจ ได้กล่าวถึงผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์ว่า ผู้นำที่ดีต้องมีคุณลักษณะการเป็นผู้นำ 9 ประการ คือ 1) ความซื่อสัตย์ คือ ความตั้งใจดำเนินงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ใช้ความอุตสาหะวิริยะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การที่กำหนดไว้ 2) ความน่าเชื่อถือ เป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งที่มีต่อบุคคล หรือต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความน่าเชื่อถือที่มีต่อตัวผู้นำเกิดจากความรู้ ความสามารถ ความมีศีลธรรม การปรับตัว ความสุขุมรอบคอบ และความเป็นมิตรของผู้นำ ฯลฯ 3) ความยุติธรรม เป็นสิ่งที่ผู้นำต้องคำนึงเสมอว่าทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ คนที่มีปัญหาไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดสามารถแก้ไขและปรับพฤติกรรมให้เป็นไปในทางที่เหมาะสมได้ คนจะทำงานได้ดีหรือไม่ดีอยู่ที่การสอนงาน การชี้แนะและการจูงใจให้ยอมรับหลักการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานก่อน การมองคนในแง่ดีทำให้คนมีกำลังใจและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล 4) ความมีเหตุผล ผู้นำต้องเป็นคนรอบรู้ที่เกิดจากการคิด วิเคราะห์ข้อมูลที่รับมาจากการฟัง การอ่าน และตรวจสอบแหล่งข่าวข้อมูลอย่างเป็นกระบวนการ เพื่อให้ความคิดเกิดจากเหตุโยงไปหาผลและการคิดจากผลสาวกลับไปหาเหตุ ผู้นำเป็นผู้รู้เท่าทันเหตุการณ์ เมื่อจะสั่งการแต่ละครั้งต้องคาดได้ว่าผลอะไรตามมา หรือเมื่อเห็นความผิดปกติเกิดขึ้นในองค์การต้องสามารถบอกได้ว่ามาจากสาเหตุอะไร 5) ความรับผิดชอบ แนวคิดในปัจจุบันถือว่าความเป็นผู้นำเกิดจากการพัฒนาบุคคล มิใช่เกิดจากคุณสมบัติส่วนตัวของผู้นำเองพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเป็นผู้นำ คือ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือคำพูดและการกระทำเป็นพฤติกรรมที่สำคัญของผู้นำที่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของผู้นำ หากผู้นำขาดพฤติกรรมนี้ จะทำให้ผู้ร่วมงานหรือ ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่อุทิศตนเองให้กับงานอย่างเต็มที่หรือไม่ใช้ขีดความสามารถในตัวเองทั้งหมดให้กับการทำงาน 6)ความสามารถที่พึ่งพาได้ เป็นความสามารถมาทำงานในองค์การและความสามารถในการก่อให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในองค์การ งานที่สำเร็จลงได้มิใช่ด้วยความสามารถหรือความเก่งของคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องอาศัยคนทุกคน ผู้นำจึงต้องทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมของความสามารถของทุกคนในองค์การ คือ ทำให้ผู้ร่วมงานทุกคนมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างดี 7) ความเปิดเผย จะสะท้อนถึงความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ผู้นำต้องแสดงให้ผู้ร่วมงานเห็นความจริงใจและในฐานะที่ปรึกษาแนะนำ เพื่อให้ผู้ร่วมงานมีอิสระที่จะพูดด้วยความรู้สึกที่แท้จริง ความเปิดเผยจึงมีความสำคัญต่อผู้นำและผู้ร่วมงาน ที่ตั้งใจจะแก้ไขปัญหาร่วมกัน 8) ความคิดสร้างสรรค์ จะพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ในแง่ความเป็นไปได้และมองโลกในแง่ดี ผู้นำจะแสดงให้เห็นได้ว่าสิ่งต่าง ๆ มีความเป็นไปได้อย่างเป็นจริง ไม่ใช่อย่างเพ้อฝันและสามารถแยกแยะความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆได้ชัดเจน 9) ความสามารถในด้านการทำงานของตนเอง ผู้นำต้องมีความรู้อย่างแท้จริงในงานที่ทำนั้น (บุญชัย พิทักษ์ดำรงกิจ, 2540 : 28 – 30 )

คุณลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 4

     แนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพของนักวิชาการต่างประเทศ ประกอบด้วย

           1.1 แนวคิดของทีด (Tead) มีความเห็นว่าคุณสมบัติเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้นำ คือ 1) มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ 2) มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์และความมุ่งหมาย 3) มีความเข้าใจในด้านมนุษยสัมพันธ์ 4) มีความกระตือรือร้น5) มีความสามารถในการตัดสินใจและตกลงใจ 6) มีความฉลาด และ7) มีความเชื่อมั่นในตนเอง (Ordway Tead, 1935 : 83. )

           1.2 แนวคิดของเครทอน (Kreitton) ได้แยกแยะคุณลักษณะผู้นำละเอียดมากขึ้น โดยเน้นว่าลักษณะผู้นำที่ดี ต้องประกอบด้วยบัญญัติ 21 ประการ คือ 1) ต้องมีความรู้ดี 2) มีลักษณะจูงใจผู้พบเห็น3) มีใจเยือกเย็นเมื่อประสบปัญหา 4) นอบน้อม 5) ตัดสินปัญหาทันท่วงที 6) เป็นกลางโดยไม่เอนเอียง 7) เปลี่ยนแปลงปรับปรุงได้ 8) มีความกล้าหาญ 9) เป็นผู้ร่าเริงมองโลกในแง่ดี10) เตรียมใจที่จะรับงานหนัก 11) มีอารมณ์มั่นคง 12) มีเมตตาจิต 13) เป็นผู้มีความกระตือรือร้น14) เสมอต้นเสมอปลาย 15) สามารถคุมการประชุมและแนะนำความคิด 16)รักงานที่ทำ17)ไม่หมด กำลังใจง่าย ๆ 18) มีความสามารถทำงานได้ดีมากกว่าหนึ่งสิ่ง 19)มีพลังแห่งความคิดคำนึง 20)ซื่อสัตย์และตรงไปตรงมา และ21) ต้องมีศีลธรรม ( Burton W. Keriton, 1960 : 81 )

           1.3 แนวคิดของซาซส์ (Sachs) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับลักษณะของผู้บริหารที่ดี ซึ่งเกี่ยวกับตัวของผู้บริหารเองไว้ว่า 1) ต้องมีความเข้าใจตนเอง และสามารถประเมินค่าตนเองได้อย่างถูกต้อง 2) ต้องยอมรับฟังและเคารพความคิดของผู้อื่น 3) ต้องมีความเข้าใจในสถานภาพของผู้ร่วมงานเป็นอย่างดี และ4)ต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ต้องสามารถนำความคิดของผู้ร่วมงานไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานของตน ( Benjamin M. Sachs, 1966 : 3 -4 )

             1.4 แนวคิดของบาร์นาร์ด (Barnard) ที่กล่าวว่า คนที่จะเป็นผู้นำ มีความจำเป็นที่จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งจะขาดเสียมิได้ 5 ประการ คือ 1) ความมีชีวิตชีวาและอดทน (vitality and endurence)หมายถึง ความร่าเริงแจ่มใส ความตื่นตัว คล่องแคล่วว่องไว สามารถปรับตัวได้ดี ทำงานต่อเนื่องกันได้นาน ๆ มีความอดทนไม่ท้อแท้ 2) ความสามารถในการตัดสินใจ (decisiveness)หมายถึง ความเชื่อมั่นในการตัดสินใจได้รวดเร็ว ถูกต้อง และเต็มใจที่จะตัดสินใจโดยไม่ทำให้กลุ่มผู้ร่วมงานยุ่งยากใจ 3) ความสามารถในการจูงใจคน (persuasiveness) หมายถึง ความสุจริตใจแก่ผู้ร่วมงาน วางตัวให้ผู้อื่นเลื่อมใส และมีความสามารถในการพูดและการเขียน 4) ความรับผิดชอบ(responsibility) หมายถึง ความมีคุณธรรม ศีลธรรม รู้จักรับผิดชอบเมื่อผิดพลาด รับคำตำหนิโดยเต็มใจ มีความมานะบากบั่น ไม่ท้อถอยในการปฏิบัติหน้าที่ 5) ความฉลาดมีไหวพริบ(intellectual capacity) หมายถึง ความเฉียบแหลม มีความรู้ทันโลก ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ (Chester I. Barnard, 1968 : 21 -22 )

            1.5 แนวคิดของสแตทและคนอื่น ๆ (Stadt and others) ได้สรุปว่า ลักษณะผู้นำที่ดี มีดังนี้ 1) คำนึงถึงมาตรฐานในการทำงาน 2) เป็นที่พึ่งของคนอื่น 3) มีความกล้า กล้าที่จะคิด กล้าที่จะเสี่ยง4) มีความรับผิดชอบ 5) มีความสามารถที่จะแบ่งงานให้ผู้อื่นช่วยปฏิบัติ 6) มีวินัยในตนเอง 7) มีวิสัยทัศน์ 8) มีมนุษยสัมพันธ์ดี 9) มีความสามารถในการสื่อความคิด 10) แข็งแรงและมีสุขภาพดี11) มีสติปัญญา 12) มีความสามารถในการจัดรูปงาน 13) มีความสามารถในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ( Ronald W.Stadt and other, 1973 : 49 -53 )

           1.6 แนวคิดของสต็อกดิลล์ (Stogdill) ได้จำแนกคุณลักษณะของผู้นำที่ดีไว้ดังนี้ 1)คุณลักษณะทางกาย เป็นผู้แข็งแรง มีร่างกายเป็นสง่า 2) พื้นฐานทางสังคม เป็นผู้มีการศึกษาและมีสถานะทางสังคมดี 3) สติปัญญาและความสามารถ เป็นผู้มีสติปัญญา เฉลียวฉลาด มีการตัดสินใจดี 4) บุคลิกภาพ เป็นผู้มีความกระตือรือร้น ตื่นตัวอยู่เสมอ ควบคุมอารมณ์ได้ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง 5) คุณลักษณะที่สัมพันธ์กับงาน เป็นผู้มีความตั้งใจทำงาน มีความรับผิดชอบ และมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จ และ 6) คุณลักษณะทางสังคม เป็นผู้ที่สามารถร่วมมือกับผู้อื่นได้ เป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงานและคนอื่น ๆ (R. M. Stogdill, 1974 : 74 - 75.)

           1.7 แนวคิดของเทรวาทราและนิวพอร์ท (Trewatha and Newport) ได้จำแนกคุณลักษณะผู้นำไว้ 4 ด้าน คือ 1) คุณลักษณะทางกาย ประกอบด้วย ความสูง น้ำหนัก รูปร่างหน้าตา ความมีพลัง และความทนทานของร่างกาย2) คุณลักษณะทางบุคลิกภาพ ประกอบด้วย ความทะเยอทะยาน ความเชื่อมั่นในตนเอง ความซื่อสัตย์ ความมานะและความดื้อรัน ความมีจินตนาการ 3) คุณลักษณะทางสังคม ประกอบด้วยความเห็นอกเห็นใจ ความแนบเนียน ความเชื่อถือ ความมีฐานะ และความสามารถที่จะร่วมงานและ4) คุณลักษณะส่วนบุคคล ประกอบด้วย ความสามารถในการพูด ความรอบรู้ความสามารถในการวินิจฉัย ความสามารถทางสติปัญญา ความสามารถในการทำงาน ความสำเร็จ และความรับผิดชอบ (R. L. Trewatha and G. M. 1982 : 388.)

          1.8 แนวคิดของฮอย และมิสเกล (Hoy and Miskel) ได้แบ่งคุณลักษณะของผู้นำออกเป็น 5 ลักษณะ คือ 1) ความเป็นผู้มีความสามารถ (capacity) ประกอบด้วย ความมีไหวพริบการตื่นตัว ทันต่อเหตุการณ์ การใช้เวลา และภาษาพูด ความเป็นผู้ริเริ่ม และความเป็นผู้ตัดสินปัญหาที่ดี 2) ความเป็นผู้มีความสำเร็จ (achievement) ประกอบด้วย ความสำเร็จทางด้านวิชาการและการแสวงหาความรู้ 3) ความเป็นผู้มีความรับผิดชอบ (responsibility) ได้แก่ การเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ มีความสม่ำเสมอ มั่นคง อดทน กล้าพูดกล้าทำ เชื่อมั่นในตนเอง และมีความทะเยอทะยาน 4) ความเป็นผู้เข้าไปมีส่วนร่วม (participation) ในด้านกิจกรรมด้านสังคมให้ความร่วมมือ รู้จักปรับตัว และมีอารมณ์ขัน และ5) ความเป็นผู้มีฐานะทางสังคม (status) มีตำแหน่งฐานะทางสังคมเป็นที่รู้จักทั่วไป(Wayne K. Hoy and Cecil G. Miskel, 2001 : 396 – 397. )

        1.9 แนวคิดของกริฟฟิท (Griffiths) ได้ระบุคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในทฤษฎีการบริหารว่ามี 7 ประการ คือ 1) การเป็นผู้ริเริ่มงานใหม่ ๆ ขึ้น ซึ่งมักจะมีแผนงานที่จัดระเบียบขั้นตอนไว้เป็นอย่างดี โดยการทำงานหนักอยู่เสมอเพื่อให้งานที่ริเริ่มใหม่บรรลุผลสำเร็จ 2) การเป็นนักปรับปรุง โดยเป็นคนคอยกระตุ้นและให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชาในการทำงานและปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสวงหา และปรับปรุงวิธีการทำงานที่ดีกว่าวิธีเดิมอยู่เสมอ ตลอดจนเป็นผู้แนะแนวทางหรือวิธีทำงานใหม่ๆให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา 3) การเป็นผู้ให้การยอมรับผู้อื่น โดยดึงเอาความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชาที่แฝงอยู่ในตัวออกมาใช้ให้ปรากฏ มองเห็นปัญหาของผู้ใต้บังคับบัญชาในการทำ งาน ให้กำ ลังใจและคำ ชมเชย ยอมรับในผลสำเร็จของผู้ใต้บังคับบัญชา 4)การเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ คือพร้อมเสมอที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเมื่อมีปัญหาติดขัด มีความห่วงใยและกระตือรือร้นที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ 5) การเป็นนักพูดที่มีประสิทธิภาพ คือความสามารถในการพูดชักจูงผู้ใต้บังคับบัญชาให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานร่วมกัน มีความสามารถในการใช้ภาษาซึ่งจะสร้างเสน่ห์ความศรัทธาและความเชื่อถือได้บนพื้นฐานของการพูดที่มีความจริงใจ 6) การเป็นผู้ประสานงานที่ดี คือ มีความสามารถในการกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนงานและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงานตามแผนงานของทุกฝ่าย 7) การเป็นผู้เข้าสังคมได้อย่างดี เป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ มีความมั่นคง สุภาพ เอื้อเฟื้อ และมีความเป็นมิตร เพื่อให้ได้มาซึ่งการสนับสนุนการทำงานของตนในโรงเรียน ทั้งนี้จะต้องเป็นผู้ที่ใช้เวลาในการสังคมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมด้วย ( D.E. Griffiths, 1956 : 112 -115 )

         1.10 แนวคิดของแม็คนูสัน (Magnuson) ได้จำแนกคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้จัดการโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ ออกเป็นคุณลักษณะด้านอาชีพและคุณลักษณะส่วนตัว คือ 1) คุณลักษณะด้านอาชีพประกอบด้วย ความสามารถในการติดต่อและเข้ากับผู้อื่นได้ดี มีความรู้ในสาขาวิชาชีพเป็นอย่างดีรู้จักมอบหมายงานให้ผู้ร่วมงาน ให้ความสนใจในบุคคลอื่น มีความสามารถในการวางแผนและการจัดระเบียบงาน รับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่นและใช้อำนาจหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม 2)คุณลักษณะส่วนตัว ประกอบด้วย มีวิจารณญาณ มีความรู้กว้างขวาง มีความยุติธรรม มีความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดี เป็นผู้มีสติไม่ใช้อารมณ์ มีความจริงใจ มีความเป็นมิตร มีอารมณ์ขัน มีใจกว้างและเปิดเผย มีความเสมอต้นเสมอปลาย มีความเมตตาปรานีและเอื้ออาทรต่อผู้อื่น ( WG Magnuson, 1971 : 74-75 )

         1.11 แนวคิดของเซอร์จิโอวานนี (Sergiovanni) ที่ได้เสนอยุทธวิธีและยุทธศาสตร์สำหรับผู้นำที่มีคุณภาพเป็นหลัก 10 ประการ ที่เรียกว่า The 10 – p Model of Quality Leadership โดยกล่าวว่าผู้นำที่มีคุณภาพจะต้องมีลักษณะดังนี้คือ 1) ความจำเป็นพื้นฐาน (prerequisites) ได้แก่ มีทักษะที่จำเป็นของผู้นำที่จะพัฒนาและคงความสามารถของการเป็นผู้นำเบื้องต้นไว้ ซึ่งทักษะเหล่านี้มีกล่าวไว้ในทฤษฎีผู้นำมากมาย เช่น ทักษะในการแก้ข้อขัดแย้ง รูปแบบการตัดสินใจ การบริหารงานเป็นทีม และกระบวนการกลุ่ม เป็นต้น 2) การมองการณ์ไกล (perspective) ได้แก่ ความสามารถของผู้นำที่สามารถจะมองเห็นความแตกต่างระหว่างยุทธศาสตร์และยุทธวิธี และเข้าใจที่จะนำมาสัมพันธ์กันได้อย่างดี 3) มีหลักการ (principle) ได้แก่ ผู้นำจะต้องมีแนวความคิดหรือหลักการในการที่จะปฏิบัติงานนั้น ๆ 4) หลักในการทำงาน (platform) ได้แก่ การที่จะนำเอาหลักการในข้อข้างต้นไปใช้ในการปฏิบัติงาน และวางเกณฑ์หรือมาตรฐานในการทำงาน หลังจากที่ได้ทำการตัดสินใจแล้ว 5) หลักการปกครอง (politics) ได้แก่ ผู้นำที่ดีควรมีลักษณะของการเป็นนักปกครองคือ มีความสามารถในการใช้อิทธิพลต่อบุคคล กลุ่มได้ ช่วยทำงานเพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย6) ความมุ่งประสงค์ (purposing) ได้แก่ ผู้นำที่ดีเวลาปฏิบัติงานควรตั้งความมุ่งหมายในการทำงานเพราะความมุ่งหมายจะช่วยแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการทำงาน ความสำเร็จ และความผิดพลาด7)การวางแผน (planning) ได้แก่ การวางแผนเป็นการเชื่อมโยงความมุ่งหมายและโครงการปฏิบัติงานระยะยาวให้เป็นเชิงประจักษ์ 8) ความยืนหยัด (persisting) ได้แก่ ผู้นำที่ดีควรจะมีความยืนหยัดต่อหลักการที่สำคัญที่ได้กำหนดไว้เป็นเป้าประสงค์และผลผลิต ทั้งนี้หมายความว่าผู้นำจะต้องเข้าใจถึงคุณค่าที่พึงจะได้รับด้วย 9) การบริหารคน (people) ได้แก่ ยอมรับว่าถ้าปราศจากความปรารถนาดีจากบุคคลอื่นในหน่วยงานแล้ว ความสำเร็จจากงานนั้นจะสำเร็จได้น้อยมาก 10) ความรักองค์กร (patriotism) ได้แก่ ลักษณะความรักองค์กรของหน่วยงานอาจจะดูได้จากวัตถุประสงค์ที่เป็นที่ยอมรับ มีการทำงานหลัก มีความตระหนักในสิ่งที่เขากำลังทำอยู่ และทำงานอย่างมีความหมาย ไม่ใช่ทำด้วยความกระหาย และเซอร์จิโอวานนี (Sergiovanni) ได้พยายามแสวงหาคุณลักษณะของผู้นำ ซึ่งสัมพันธ์กับการทำงานที่เป็นระบบมาก ๆ โดยผันแปรไปตามหลักการเป็นผู้นำที่มีคุณภาพหลาย ๆ ประการ ผลการวิจัยสรุปคุณลักษณะทั่วไป 3 ประการ ของผู้นำที่มีการทำงานเป็นระบบสูง คือ 1) ผู้นำที่มีผลการทำงานสูง จะใช้เวลานอกในการทำงานมากทำงานหนัก จะทดลองในสิ่งซึ่งสงสัย พยายามศึกษาถึงปัญหาในระบบการทำงาน 2) ผู้นำที่มีผลการทำงานสูง จะมีความรู้สึกรุนแรงมากเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของระบบ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง หรือการทำงาน อดีตการทำงาน หรือความมั่นคงในอนาคต มีความต้องการให้ระบบประสบความสำเร็จ ต้องการให้ระบบมีส่วนช่วยในสังคม ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตคน ซึ่งรวมอยู่ในระบบ เห็นความสำคัญของวัตถุประสงค์ขององค์การ และคุณค่าที่ได้รับ 3) ผู้นำที่มีผลการทำงานสูงจะเน้นเรื่องตัวแปรที่สำคัญ ๆ พร้อมทั้งการคำนึงถึงความสำคัญในการตั้งจุดประสงค์และคุณค่าขององค์การ โดยให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจว่าสิ่งใดเป็นจุดประสงค์สำคัญ ( Thomas J. Sergiovanni, 1982 : 331 – 336 )

         1.12 แนวคิดของปีเตอร์ เอ็ฟ.ดรักเกอร์ (Peter F. Drucker) กล่าวว่า ผู้นำที่มีประสิทธิภาพ คือ บุคคลที่ถามว่า อะไรคือปัจจัยที่จะทำงานสำเร็จลุล่วง ฉันมีความสามารถและสร้างความแตกต่างให้ออกมาได้อย่างไร อะไรคือเป้าหมายและภารกิจขององค์กร อะไรคือปัจจัยในการสร้างผลงานและผลลัพธ์ คำว่าชอบคนโน้นชังคนนี้จะไม่มีในตัวเขา แต่เขาจะไร้ความอดทนกับผลงานที่ไม่ดีของพนักงาน ผู้ที่ไม่กลัวกับความเก่งของผู้อื่นแต่กลับชื่นชอบ ( อ้างใน วิริญญ์บิดร วัฒนา 2543 : 45 )

คุณลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 3

      ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดคุณลักษณะในการเป็นผู้นำซึ่งถือได้ว่าเป็นปัญหาและส่งผลกระทบต่อการบริหารและการจัดการศึกษาในระดับสถานศึกษาและการศึกษาโดยรวมเป็นอย่างมาก ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยที่บ่งบอกว่าผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยังขาดคุณลักษณะในการเป็นผู้นำ เช่น ขาดความรู้ และความสนใจในด้านวิชาการ ขาดคุณธรรม และจริยธรรม (ธีระ รุญเจริญ, 2545: 4 – 5 ) และปัญหาสำคัญก็คือปัญหาอันสืบเนื่องมาจากบุคลากรที่ทำหน้าที่บริหารการศึกษา เช่น ผู้บริหารสถานศึกษาขาดความยุติธรรม ผู้บริหารสถานศึกษานำเรื่องส่วนตัวมาปะปนกับอำนาจหน้าที่ของตน และผู้บริหารสถานศึกษาบางคนขาดความรู้และประสบการณ์ทางการศึกษา นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการมีผู้รับผิดชอบทางการศึกษาหลายฝ่ายทำงานซ้ำซ้อน ขาดการประสานงานที่ดี และอำนาจการตัดสินใจทางการบริหารอยู่ที่ผู้บริหารระดับสูง ทำให้เกิดความไม่คล่องตัวในการทำงาน ( สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2520 : 52 – 59 ) และจากการประเมินพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ยังพบว่าผู้บริหารสถานศึกษา ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง คะแนนด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รวมถึงคะแนนด้านความเป็นผู้นำต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานอีกด้วย ( สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2542 : 74 – 75 ) สำหรับการบริหารการศึกษาท้องถิ่นก็ประสบปัญหาและอุปสรรคมากมายเช่นเดียวกัน แม้จะได้มีผู้พยายามจัดทำ ปรับปรุง และแก้ไขตลอดมาก็ตาม แต่ก็ยังไม่บรรลุผลดีเท่าที่ควร

         นอกจากนี้ ผู้บริหารสถานศึกษายังมีบทบาทหน้าที่สำคัญที่หลากหลายซึ่งบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะได้รับอิทธิพลจากหลักการ แนวคิด หรือทฤษฎีทางการบริหารที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งต่างก็มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาร่วมกันดังที่วิโรจน์ สารรัตนะ ได้ศึกษาวิเคราะห์หลักการแนวคิดและทฤษฎีทางการบริหารที่เป็นกระบวนทัศน์ทางการบริหารใหม่ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคสมัยปัจจุบันจะมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวพันกับการเสริมสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นในสถานศึกษาอย่างน้อยในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ คือ การเสริมสร้างความมีประสิทธิผลของโรงเรียน การเสริมสร้างความเป็นองค์การวิชาชีพ การเสริมสร้างการตัดสินใจร่วมและการมีวิสัยทัศน์ร่วม การเสริมสร้างกลุ่มบริหารตนเอง การเสริมสร้างการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การเสริมสร้างการจูงใจเพื่อการสร้างสรรค์ การเสริมสร้างความเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง การเสริมสร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศองค์การในทางบวก การเสริมสร้างกระบวนการบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม การเสริมสร้างกระบวนการบริหารหลักสูตรและการสอนที่มีประสิทธิภาพ และการเสริมสร้างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เต็มศักยภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด (วิโรจน์ สารรัตนะ, 2545 : 7 ) จะเห็นได้ว่าผู้บริหารสถานศึกษานับเป็นกลไกสำคัญและมีอิทธิพลสูงต่อ (1) คุณภาพของผลลัพธ์ที่ได้จากระบบการศึกษา (2) ประสิทธิภาพของการบริหารการศึกษา และ(3)ประสิทธิผลขององค์การทางการศึกษา( ประสิทธิ์ เขียวศรี, 2544 : 4 ) ดังที่ ถวิล มาตรเลี่ยม ได้กล่าวไว้ว่าผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาลงความเห็นที่เป็นเอกฉันท์ว่า “ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาและผลสำเร็จของโรงเรียน” (ถวิล มาตรเลี่ยม,2545 : 105 ) สอดคล้องกับคำกล่าวของ เฟร็ดเอ็ม.เฮ็ชชิงเกอร์ (Fred M. Hechinger) ที่เขียนไว้ในหนังสือชื่อ “Effective Principal Effective School” ของ ลิพแฮม (Lipham) ดังนี้ “ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นโรงเรียนที่เยี่ยมแต่ผู้บริหารแย่ และไม่เคยเห็นโรงเรียนแย่แต่ผู้บริหารเยี่ยม และเป็นที่น่าเสียดายเช่นเดียวกันก็เห็นโรงเรียนยอดเยี่ยมเสื่อมถอยไปในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งความเจริญรุ่งเรืองและการเสื่อมถอยในแต่ละกรณีล้วนมีสาเหตุจากคุณภาพของผู้บริหาร” (M. J. Lipham, 1981 : 68 – 69.)

    จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผู้กล่าวถึงไว้อย่างมากมาย อย่างไรก็ตาม ในบรรดาความสำคัญของผู้บริหารสถานศึกษาที่กล่าวถึงนี้ ถือว่าคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการศึกษาของประเทศ และควรมีการศึกษาวิจัยให้มากขึ้น ทั้งเพื่อเป็นการสร้างสรรค์องค์ความรู้และเพื่อการพัฒนา ซึ่งจากประเด็นนี้ในทางปฏิบัติในประเทศไทยโดยเฉพาะในโรงเรียนสังกัดเทศบาลและเมืองพัทยา ยังไม่มีการศึกษาวิจัยถึงคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และตัวชี้วัดคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นอย่างไร รวมถึงการพัฒนาเครื่องมือและตัวชี้วัดคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพว่าเป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และ ตัวชี้วัดคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาของประเทศดังที่กล่าวข้างต้น

      จากหลักการและแนวคิดข้างต้นที่แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทและมีความสำคัญในการสนับสนุน และส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีขวัญและกำลังใจในการทำงาน ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาวิจัยถึงคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพและตัวชี้วัดคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่สอดคล้องเหมาะสมกับแนวโน้มและพัฒนาการของวิชาชีพและสังคม และพัฒนาเครื่องมือและตัวชี้วัดคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งย่อมจะมีผลต่อการพัฒนาประสิทธิผลและประสิทธิภาพของผู้บริหารสถานศึกษาที่จะนำมาสู่ความมีคุณภาพของการผลิตผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพสู่สังคมไทยสืบต่อไป

คุณลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 2

 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
          การบริหารองค์การทุกประเภทจำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรการบริหารหลายอย่างประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นคน เงิน วัสดุอุปกรณ์ รวมถึงการบริหารจัดการ ในบรรดาทรัพยากรที่กล่าวมานี้ ทรัพยากร “คน” นับว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดในการบริหาร ทั้งนี้เพราะคนเป็นทั้งผู้ที่ทำให้ได้มาซึ่งทรัพยากรการบริหาร รวมถึงเป็นผู้ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น ๆ ด้วย เป้าหมายสำคัญของการบริหารองค์การอยู่ที่ประสิทธิผลของงาน ความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าขององค์การ ในขณะเดียวกันก็จะต้องรักษากำลังคน และบรรยากาศการทำงานที่ดีไว้ด้วย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลขององค์การมากปัจจัยหนึ่ง คือ ผู้บริหารองค์การ ซึ่งเป็นบุคคลที่มีบทบาทและความสำคัญต่อการดำเนินการ ในฐานะที่เป็นผู้ควบคุมบังคับบัญชาและริเริ่มกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การให้เป็นไปตามเป้าหมาย เป็นบุคคลที่ผูกพันกลุ่มเข้าด้วยกันกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความสามารถได้สูงสุด เพื่อสร้างผลงานให้เต็มที่ และเป็นผู้รับผิดชอบดูแลการปฏิบัติงานต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จด้วยดี อาจกล่าวได้ว่า ความสำเร็จของการบริหารงานเป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่างบุคลากรในองค์การ ภายใต้การนำของผู้บริหารในองค์การนั้นๆ ดังนั้น การที่องค์การใด ๆ ก็ตามจะประสบความสำเร็จและพัฒนาไปได้ด้วยดีจำเป็นต้องอาศัยผู้บริหารองค์การที่มีความสามารถมีภาวะผู้นำสูงและสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารองค์การจะทำหน้าที่บริหารงานต่าง ๆ ในองค์การให้ดำเนินไปด้วยความพร้อมเพรียงและมีประสิทธิภาพให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วเรียบร้อย ประหยัดกำลังคน กำลังทรัพย์ และบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ ความเจริญก้าวหน้าขององค์การ นอกจากขึ้นอยู่กับผลงานโดยส่วนรวมของทุกฝ่ายแล้ว ยังขึ้นอยู่กับผู้บริหารองค์การอีกด้วย เพราะผู้บริหารองค์การเป็นผู้แสดงพฤติกรรมที่จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนปฏิบัติงานเต็มความสามารถ ด้วยความพึงพอใจมีความสุขกับหมู่คณะและอาชีพของตน (วิจิตร วรุตบางกูร,2521 : 14 -18 ) ผู้บริหารองค์การจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์การ ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาและต่อผลงานโดยส่วนรวม นอกจากนี้ผู้บริหารองค์การต้องอาศัยการใช้ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารงานและบริหารคนให้ได้ทั้งงานและน้ำใจ ความร่วมมือและการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างความสำเร็จของการบริหารงาน การที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถได้นั้นขึ้นอยู่กับสมรรถภาพในการนำและการแสดงพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าผู้บริหารองค์การและผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นองค์ประกอบสำคัญขององค์การที่มีประสิทธิภาพ

               ในองค์การทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในภารกิจด้านการจัดการศึกษาของสถานศึกษานั้น ๆ ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องดำเนินการ และจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย ทำให้สถานศึกษาดำรงคงอยู่และเจริญก้าวหน้า ( เสริมศักดิ์ วิศาลภรณ์, 2525: 49 ) ภารกิจดังกล่าวจะครอบคลุมไปถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทีมงานให้มีสมรรถภาพเข้มแข็งสร้างรูปแบบการจัดองค์การที่ดีเอื้อต่อการปฏิบัติงาน ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าใจวิธีการและกระบวนการทำงานเพื่อให้งานสำเร็จได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างสัมพันธภาพอันดีต่อกัน ให้สมาชิกมีความไว้วางใจ ยกย่องนับถือซึ่งกันและกันและให้ความร่วมมือกับผู้บริหารด้วยดี (วิจิตร วรุตบางกูร,2521 : 15 ) ในการศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษานั้น เป็นการค้นหาคุณลักษณะผู้นำที่ดีและเอื้อต่อความสำเร็จนับว่าเป็นที่สนใจในหมู่นักวิชาการต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อต้องการที่จะหาข้อสรุปว่า ผู้นำที่ดีหรือผู้นำที่มีประสิทธิภาพนั้น ควรมีคุณลักษณะอย่างไร และผู้นำที่มีลักษณะแตกต่างกันจะส่งผลต่อความสำเร็จแตกต่างกันหรือไม่ดังเช่น วูดส์ (Woods) ได้ทำการศึกษาผู้นำประเทศ จำนวน 14 ประเทศ ซึ่งทั้งหมดมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการปกครองประเทศ โดยได้แบ่งระดับของลักษณะเป็น 3 ระดับ ได้แก่ เข้มแข็ง(strong) ธรรมดาสามัญ (mediocre) และอ่อนแอ (weakness) สัมพันธ์กับสถานภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ผลปรากฏว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ ผู้นำประเทศที่เข้มแข็งสามารถบริหารให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ผู้นำที่ธรรมดาสามัญก็นำประเทศไปได้ระดับกลาง ๆ ส่วนผู้นำที่อ่อนแอก็จะทำให้ประเทศไม่เจริญรุ่งเรือง ( ทองหล่อ เดชไทย, 2544 : 11 ) จากผลการวิจัยจะเห็นว่าคุณลักษณะของผู้นำที่แตกต่างกันส่งผลต่อความสำเร็จได้แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาอีกมากมายที่พยายามแสวงหาคุณลักษณะของบุคคลและภาวะผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ดังเช่น สต็อกดิลล์ (Stogdill)ได้ทดสอบเกี่ยวกับคุณลักษณะภาวะผู้นำทางด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความฉลาดและความสามารถพิเศษ (intelligence and aptitude) บุคลิกภาพ (personality) การจูงใจในงานและผลการปฏิบัติงาน(task motivation and performance) และทักษะทางสังคม (social competence) ซึ่งผลการวิจัยพบว่าผู้ที่เป็นผู้นำนั้นมีคะแนนคุณลักษณะดังกล่าวสูงกว่าผู้ตามอย่างมีนัยสำคัญ ผลงานวิจัยยังพบอีกว่าผู้นำที่ประสบความสำเร็จจะมีความฉลาด รู้สึกไวต่อความต้องการและความตั้งใจของผู้อื่น เข้าใจสถานการณ์ได้อย่างดี พร้อมทั้งมีอุปนิสัยที่จำเป็น เช่น มีความรับผิดชอบ (responsibility) มีความคิดสร้างสรรค์ (initiative) มีความมุ่งมั่น (persistence) และมีความมั่นใจในตนเอง(self – confidence) อีกด้วย ผลการวิจัยยังทำให้ได้ทราบอีกว่าผู้นำที่ดี จะมีความสามารถในการจัดระเบียบงาน มีความกระฉับกระเฉงในการให้ความร่วมมือโดยมีแรงผลักดันอันแรงกล้าต่อความรับผิดชอบและการทำงานให้สำเร็จ มีชีวิตชีวา และมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าประสงค์ มีความกล้าหาญ และมีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหา มีแรงผลักดันในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสถานการณ์ทางสังคม มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีเอกลักษณ์ส่วนตัว รับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการกระทำของตน เต็มใจรับผลกระทบจากการตัดสินใจและการกระทำ พร้อมในการดูดซึมความเครียด พร้อมที่จะทนต่อความอึดอัดและความล่าช้า พร้อมที่จะเผชิญกับภาวะกดดัน มีความสามารถในการกระตุ้นพฤติกรรมผู้อื่น และสามารถจัดโครงสร้างระบบสังคมตามที่ต้องการ

     คุณลักษณะดังกล่าวเหล่านี้จะช่วยแยกแยะระหว่างผู้นำออกจากผู้ที่ไม่ใช่ผู้นำ และแยกผู้นำที่มีประสิทธิภาพจากผู้นำที่ไม่มีประสิทธิภาพ (M.R. Stogdill , 1974 : 75 – 76.) คุณลักษณะผู้นำจึงมีผลต่อภาวะผู้นำ และที่สำคัญคุณลักษณะยังเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความล้มเหลวหรือความสำเร็จขององค์การได้อีกด้วยดังที่ เมอเซย์ และ ดัคลาส (Massie and Douglas) ได้เสนอความเห็นว่า ผู้บริหารเป็นผู้ที่รับผิดชอบการปฏิบัติงานขององค์การให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (L. J. Massie and J. Douglas, 1981 : 58 – 59. ) นอกจากนี้บาร์โทลและคนอื่น ๆ (Bartol and others) ได้เสนอความเห็นว่า ผู้บริหารเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อองค์การทั้งในลักษณะเป็นศูนย์รวมประสาท เป็นศูนย์รวมข้อมูลข่าวสาร และเป็นศูนย์รวมของการตัดสินใจขององค์การ โดยแสดงออกในบทบาทต่าง ๆ กัน เช่น บทบาทในเชิงสัมพันธ์บุคคล บทบาทเชิงสารสนเทศ และบทบาทเชิงตัดสินใจ (Bartol and others, 1998 :111 – 112.)องค์การใดก็ตามที่ผู้นำมีคุณลักษณะที่ดี และใช้ภาวะผู้นำได้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมนำพาองค์การไปสู่ความสำเร็จ ในทางตรงกันข้ามหากผู้นำที่ไม่มีคุณลักษณะในการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพแล้วเป็นไปได้ยากที่จะนำพาองค์การไปสู่ความสำเร็จและความเจริญก้าวหน้าได้

              ในการบริหารการศึกษาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยผู้นำที่มีคุณลักษณะที่เอื้อต่อความสำเร็จ หรือกล่าวอีกอย่างว่า ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีคุณลักษณะที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาถือว่าเป็นผู้นำในการจัดการศึกษาในระดับสถานศึกษาและเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา ดังนั้น เพื่อให้การจัดการศึกษาบรรลุจุดมุ่งหมาย ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นจะต้องมีศักยภาพ สมรรถภาพ และคุณลักษณะที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา ( ธีระ รุญเจริญ, 2545: 4 ) ความสำเร็จหรือการบรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ย่อมต้องอาศัยผู้บริหารสถานศึกษาเป็นหลักโดยเฉพาะตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติที่เน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาและชุมชนโดยยึดหลักให้สถานศึกษาเป็นฐานที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในระดับปฏิบัติให้มากที่สุด จะส่งผลให้ผู้บริหารสถานศึกษามีอิสระในการบริหารงานอย่างเต็มที่ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงต้องการผู้บริหารสถานศึกษาในลักษณะใหม่ที่มีความสามารถ มีทักษะแบบใหม่ เพื่อนำสถานศึกษาสู่เส้นทางใหม่ในการปฏิรูปการศึกษา จากการที่มีการกระจายอำนาจและภารกิจสู่สถานศึกษาอย่างมากมายเช่นนี้เท่ากับเรียกร้องให้ผู้บริหารสถานศึกษามีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ทั้งในด้านการบริหารวิชาการการบริหารบุคคล การบริหารงบประมาณ และการบริหารทั่วไป รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะจำเป็นจะต้องมีการทำงานร่วมกันและเกื้อหนุนซึ่งกันและกันสูง

คุณลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 1

คุณลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ


            ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ การศึกษานับว่ามีบทบาทและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของประเทศเนื่องจากความสามารถและศักยภาพในการพัฒนาประเทศขึ้นอยู่กับองค์ความรู้ของคนในชาติประเทศที่พลเมืองมีการศึกษาดีย่อมได้เปรียบในการแข่งขันเสมอ ไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรม ( ไพบูลย์ แจ่มพงษ์, 2542 : 2 – 12 ) ด้วยเหตุที่การศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษาจึงเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การพัฒนาตนเองของคนเรา คนที่ได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสมก็คือคนที่จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างถูกต้องตามครรลองคลองธรรมและได้รับสิ่งดี ๆ การศึกษามิใช่เป็นเพียงการใช้ชีวิตระยะเวลาหนึ่งในโรงเรียนเท่านั้น แต่เป็นเหมือนปัจจัยในการดำรงชีวิตที่ทุกคนแสวงหาและเพิ่มพูนอยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาตนเอง ครอบครัว หน้าที่การงาน ตลอดจนความก้าวหน้า และความมั่นคงของประเทศ ยิ่งในยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นไปอย่างรวดเร็วในกระแสโลกาภิวัตน์ที่นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ ไปจนถึงรูปแบบการใช้ชีวิตและวัฒนธรรมใหม่ ๆ มาสู่สังคมไทย การศึกษายังเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้คนมีหลักคิด รู้จักใคร่ครวญ เลือกสรร ปรับตัวกับเหตุการณ์ และสิ่งใหม่ ๆ ที่เข้ามาสู่ชีวิตตลอดเวลา ระบบการศึกษาจะต้องตอบสนองการทำงานในยุคข้อมูลข่าวสาร การสอนต้องส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการมากกว่าที่เป็นมาในอดีต บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนและผู้สอนจะต้องเปลี่ยนแปลง ( สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์, 2541 : 30 – 31 )

         ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมีบทบาทสำคัญในการบริหารและการจัดการศึกษาและมีคุณลักษณะที่สำคัญทั้งในด้านวิชาชีพและส่วนตัว เพื่อจัดดำเนินการให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของการศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2545ข : 1 – 4 ) ในยุคโลกาภิวัตน์นี้ การบริหารกิจการใด ๆ เกี่ยวกับสาธารณะมีความจำเป็นต้องอาศัยผู้บริหารมืออาชีพ จึงจะทำให้ธุรกิจต่าง ๆ เหล่านั้นดำเนินการไปด้วยดี และบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว อย่างไร้พรมแดน และกระทบกระเทือนไปทุกประเทศทั่วโลก ตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 53 ได้กำหนดให้ผู้บริหารระดับเขตพื้นที่การศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาจะปฏิบัติหน้าที่ได้ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการบริหารการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่องค์กรวิชาชีพครูผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษากำหนด ซึ่งจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพชั้นสูง นั่นคือ จะต้องเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ( ธีระ รุญเจริญ, 2545 : 13 ) ด้วยเหตุนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องดำเนินการบริหารเพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามแนวทาง หลักการและมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และนำไปสู่การบรรลุผลตามการปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษา ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management : SBM) การประกันคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา การบริหารโดยองค์คณะบุคคลการประเมินภายใน และการประเมินภายนอก และการที่จะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นมืออาชีพและเป็นผู้นำทางวิชาการ ซึ่งจำต้องมีสมรรถภาพทั้งความรู้ ทักษะ และมีคุณธรรมจริยธรรม ตลอดทั้งจรรยาบรรณวิชาชีพ จึงจะนำไปสู่ความสำเร็จอย่างแท้จริง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2545ข : 8 )