วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การบริหารการเงินของโรงเรียน

การบริหารการเงินของโรงเรียน


กิติมา ปรีดีดิลก ได้กล่าวว่า เนื่องจากการบริหารการเงินหรือการบริหารการคลังโรงเรียนเป็นกิจกรรมที่สำคัญอันหนึ่งในการบริหารการศึกษา หลักการบริหารการคลังโรงเรียน มีลักษณะไม่ห่างไกลจากการบริหารการคลังในสาขาอื่น เพียงแต่ขอบเตและวัตถุประสงค์ในการบริหารแตกต่างกันเท่านั้น

ความหมาย

สำหรับความหมายของการบริหารการคลังโรงเรียนนั้น ได้มีผู้ให้ความหมายจำแนกแตกต่างกันออกไปดังนี้

ฮันท์ และเพียซ (Hunt & Pierce) ได้กล่าวถึงเรื่องการคลังโรงเรียนไว้ว่า การคลังโรงเรียน หมายถึง แผนการเงินของโรงเรียน การพัฒนาฐานภาพทางการเงินของโรงเรียน รายจ่ายของโรงเรียน หลักและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ หน่วยงานหรือแหล่งของรายรับของโรงเรียน การตรวจสอบการเงิน และการอุดหนุนทางการเงินแก่โรงเรียน ส่วนคิมบรอก และนันเนอร์ (Kimbrough & Nunnery) กล่าวว่า การคลังโรงเรียน หมายถึง การหาวิธีจะให้ไดมาซึ่งรายได้และเพิ่มรายได้ของโรงเรียนให้สูงขึ้น การจัดสรรเงินเพื่อก่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน โดยพยายามจัดสรรเงินที่ได้มาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการทางด้านการเงินของ หน่วยงานย่อย เช่น ผู้บริหารการศึกษาระดับสูงควรพิจารณาความต้องการทาง ด้านการเงิน โรงเรียนต่าง ๆ ที่อยู่ในสังกัดอย่างเหมาะสม เช่นเดียวกับผู้บริหารการศึกษาระดับโรงเรียนจะต้องพิจารณาความต้องการทางการเงิน ของหน่วยงานย่อยของโรงเรียนและโครงการต่าง ๆ ของโรงเรียน อย่างเหมาะสมด้วย หาวิธีใช้จ่ายเงินของโรงเรียนและทรัพยากรอื่น ๆ ของโรงเรียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียนให้มากที่สุด อีกทั้งจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบกระเทือนของภาระเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อรายได้และรายจ่ายของโรงเรียน

จากความหมายดังกล่าวข้างต้น อาจสรุปได้ว่า การบริหารการเงินของโรงเรียนหมายถึงการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินเพื่อนำมาใช้จ่ายในการศึกษาของโรงเรียนการจัดการเกี่ยวกับการใช้จ่าย ตลอดจนการควบคุมการดำเนินงานทางด้านการเงินให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ ในการบริหารการเงินโรงเรียนมีสิ่งที่เป็นอุปสรรคบางอยบ่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นอิทธิพลของความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม นโยบายของการเมืองและรัฐบาล เป็นต้อน อย่างไรก็ตามขอบข่ายในการบริหารการเงินโรงเรียนควรจะประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้

การวางแผนการเงินของโรงเรียน มีการคาดการล่วงหน้าเกี่ยวกับการใช้จ่ายและ

ดำเนินการเกี่ยวกับการเงินของโรงเรียน ซึ่งผู้บริหารจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบกระเทือนที่มีต่อการให้ได้มาหรือการจ่ายไปซึ่งการเงินของโรงเรียน เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ รายได้ของประชาชนในท้องถิ่น ฯลฯ เป็นต้น

การจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของโรงเรียนโดยส่วนรวม เช่น ที่ดิน และสิ่งก่อ

สร้าง วัสดุครุภัณฑ์ต่าง ๆ ของโรงเรียนเป็นต้น

การควบคุมการดำเนินงานทาง ด้านการเงิน เพื่อให้มีประสิทธิภาพให้เป็นไปตาม

มาตรฐานและกฎเกณฑ์เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบไปด้วยระบบบัญชี และวิธีการต่าง ๆ ในการตรวจสอบเงินและทรัพย์สินของโรงเรียน

การจัดการเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินของโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้อง

กับหลักการทางเศรษฐศาสตร์ หลักการทางการบริหารและรวมทั้งหลักการคลังทั่วไป

การบริหารงานมีความสำคัญต่อผู้บริหารมาเนื่องจากผลของการปฏิบัติงานกระทบ

กระเทือนทั้งต่อหน่วยงานและประเทศชาติ หน่วยงานจะพัฒนาได้มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการบริหารการเงินว่าดีหรือไม่เพียงใด หากผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเงินของหน่วยงานของตนและหน่วยงานที่ต้องเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ผลก็จะทำให้หน่วยงานพัฒนาและได้ชื่อว่าเป็นผู้บริหารงานที่มีความสามารถ

หน่วยงานที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยเฉพาะโรงเรียน เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ต้องใช้เงินในการดำเนินงานและพัฒนาตนเอง ผู้บริหารโรงเรียนจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารการเงินของโรงเรียนเป็นอย่างดีด้วย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการจัดสรรเงินเพื่อการศึกษา แนวปฏิบัติในการบริหารการเงินในโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย งานการรับเงิน, การจ่ายเงิน, การเก็บรักษาเงิน, การนำส่ง, การซื้อ, การจ้าง, บัญชีพัสดุ, การตรวจสอบและรายงานการเงินเป็นต้น

การเงินที่ผู้บริหารการศึกษาควรทราบเพื่อยึดเป็นแนวปฏิบัติตามระเบียบของราชการ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามคำสั่งของทางราชการ บางครั้งก็เปลี่ยนไปตามฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ บางครั้งก็เปลี่ยนไปตามความผันผวนทางการเมืองและบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติและหลักการที่ผู้บริหารระดับสูงในส่วนกลางยึดถือตามแนวที่ตนคิดว่าดีหรือควรปฏิบัติ

ผู้บริหารการศึกษาระดับสูงควรจะทำหน้าที่หาเงินหรือจัดตั้งงบประมาณเพื่อการศึกษาด้วย มิใช่มีหน้าที่เพียงใช้เงินอย่างผู้บริหารระดับโรงเรียนส่วนมากทำอยู่เพียงอย่างเดียว

ความไม่ทราบทฤษฎีการเงินโรงเรียนทำให้ผู้บริหารการศึกษาในประเทศไทยจัดสรรงบประมาณและการเงินให้แก่โรงเรียนตามความพอใจของส่วนบุคคลและตามวิธีทางการเมืองตลอดมาทุกยุคทุกสมัย จะเห็นได้ว่าสภาพโรงเรียนปัจจุบันนี้โรงเรียนที่ดีอยู่แล้วกลับได้งบประมาณมากขึ้นทุกปี แต่โรงเรียนที่ขาดแคลนก็ยิ่งขาดแคลนลง เพราะการให้เงินงบประมาณมักจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของงบประมาณที่ได้รับเดิม จึงทำให้ดูคล้ายกับว่าการได้รับงบประมาณของโรงเรียนมีสภาพเป็นโรงเรียนที่ต้องการเงินมากกลับได้น้อยโรงเรียนที่ต้องการเงินน้อยกลับได้มาก

ผู้บริหารมีหน้าที่ในการบริหารการเงินให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกฎเกณฑ์หน้าที่เกี่ยวกับการเงินพอสรุปได้ดังนี้

งานเกี่ยวกับการเงิน

ทำการรับเงินค่าธรรมเนียม

รับเงินบริจาค

รับเงินผลประโยชน์อื่น ๆ

รับเงินทุนการศึกษา ซึ่งมีผู้มอบให้เพื่อจ่ายเป็นทุนอุดหนุนการศึกษา

รับฝากเงินรายได้ของหน่วยงานในสังกัด

รับฝากเงินค่าประกันของเสียหาย และเงินประกันสัญญา

จ่ายเงินงบประมาณทุกหมวด

จ่ายเงินรายได้ สำหรับการดำเนินงานของหน่วยงาน

จ่ายเงินบริจาคเพื่อกิจการของหน่วยงาน

จ่ายเงินอุดหนุนการศึกษา

จ่ายคืนเงินฝาก

ทำฎีกาเบิกจ่ายงบประมาณทุกหมวด และเงินนอกงบประมาณ

ตรวจสอบใบสำคัญและหลักฐานรับ - จ่ายเงินทุกประเภท

คำนวณ และเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย เพื่อแจ้งและส่งสรรพากร

ดูแลรักษา เงินสดให้ถูกต้อง เพื่อส่งมอบกรรมการรักษาเงิน

จัดเตรียมใบเสร็จรับเงิน เมื่อรับเงินประเภทต่าง ๆ

เบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ

เบิกเงินและนำเงินฝากธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์

เก็บหลักฐานการเงิน

จัดทำหลักฐานจ่ายเงินเดือนและลูกจ้าง

ทำใบส่งเงิน กระทรวงการคลัง

งานเกี่ยวกับบัญชี

จัดทำบัญชีการเงินประเภทต่าง ๆ ตามหลักบัญชีส่วนราชการ ทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ

ทำบัญชีลูกหนี้เงินยืมทดรองราชการ และเงินยืมนอกงบประมาณ

ลงทะเบียนรายจ่ายย่อยตามงบประมาณ

ลงทะเบียนรายจ่ายเงินรับฝากต่าง ๆ

จัดทำรายงานการเงินทุกประเภท

จัดทำงบเดือนเงินงบประมาณทุกหมวด

จัดทำงบเดือนรายได้ของหน่วยงาน

จัดทำทะเบียนการชำระเงินค่าบำรุงของนิสิต

ดำเนินการรวบรวมรายละเอียด ตั้งงบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้ของหน่วยงาน

รวบรวมรายละเอียดเสนอตั้งงบประมาณประจำปี

ดำเนินการจัดทำรายละเอียดของเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณสำหรับหน่วยงาน

ดำเนินการจัดสรรเงินไปตั้งจ่ายทางจังหวัดสำหรับหน่วยงานในสังกัด

ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณ

ดำเนินการขอโอน เปลี่ยนแปลงหมวดเงินงบประมาณ เมื่อจำเป็น

ดำเนินการขออนุมัติกันเงิน ตัดฝาก ขยายเวลาตัดฝาก เงินงบประมาณ

ดำเนินการ ขออนุมัติจัดซื้อ จ้างทำ วัสดุ ครุภัณฑ์ ตลอดจนการจัดสร้างอาคารต่าง ๆ

ดำเนินการ จัดทำสัญญาซื้อขาย จ้างทำวัสดุครุภัณฑ์ ตลอดจนสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง

งานเกี่ยวกับพัสดุครุภัณฑ์

ดำเนินการ จัดหา วัสดุ ครุภัณฑ์ แบบพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในกิจการของหน่วยงาน

ดูแลรักษา ซ่อมแซม เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อใช้ในกิจการของหน่วยงาน

ดูแลรักษาซ่อมแซมยานพาหนะ

ดูแลรักษาและซ่อมแซมอาคารต่าง ๆ

จัดทำทะเบียนครุภัณฑ์

จัดทำบัญชีพัสดุ

เขียนหมายเลขประจำครุภัณฑ์

จ่ายพัสดุ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน

เก็บรักษาทะเบียนยานพาหนะ

สำรวจวัสดุครุภัณฑ์คงเหลือ

จัดทำรายงานการสำรวจทรัพย์สิน

จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี

ง. งานเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน

ตรวจนับเงินสดคงเหลือประจำวันที่ทำการตรวจสอบ

ตรวจหลักฐานการรับเงิน

ตรวจหลักฐานและใบสำคัญการจ่ายเงิน

ตรวจสอบการลงบัญชีต่าง ๆ

ตรวจสอบทะเบียนต่าง ๆ

ตรวจสอบบัญชีพัสดุครุภัณฑ์

ตรวจสอบหลักฐานการฝากเงินกับธนาคาร

รายงานการตรวจสอบและเสนอแนะวิธีการแก้ไข

ในการปฏิบัติ อาจจะมีเปลี่ยนแปลงแนวการจัดงานต่างไปจากข้างต้นที่กล่าวมาบ้างทั้งนี้แล้วแต่ผู้บริหารที่จะพิจารณาตามขนาด และงานที่ต้องปฏิบัติ

การจัดบุคลาการการเงิน

บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับการเงิน จะมาจากสายงานฝ่ายธุรการซึ่งควบคุมโดย

ผู้บริหารบุคลากรการเงินอีกทีหนึ่ง ปริมาณบุคลากรการเงิน จะแตกต่างกันไปตามขนาดของโรงเรียน โดยปกติแล้วมักนิยมจัดเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 3 คน ซึ่งงานที่ได้รับมอบหมายจะเป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับงบประมาณ พนักงานบัญชี และพนักงานเบิกจ่าย เป็นต้น สำหรับโรงเรียนเล็ก ๆ การจัดทำการเงินนั้น ส่วนมากจะมีคนเดียว แต่ต้องมีกรรมการเงินครบ 3 คน ตามระเบียบดังผังการบริหารการเงินดังนี้



ผู้บริหาร

หัวหน้าฝ่ายธุรการ

เจ้าหน้าที่งบประมาณ หัวหน้าฝ่ายบัญชี เจ้าหน้าที่เบิกจ่ายเงิน



หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารในเรื่องเกี่ยวกับการเงินของโรงเรียน ก็คือ ควบคุมสั่งการ และตรวจสอบ

ผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายธุรการ มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่ง เสนอปัญหาหรือรับคำปรึกษาจากครูใหญ่ สั่งการเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมงาน และควบคุมดูแลให้เจ้าหน้าที่และผู้ร่วมงานปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบ

เจ้าหน้าที่บัญชี มีหน้าที่จัดทำบัญชีทุกประเภทให้ถูกต้องตามระเบียบ เสนอผู้ช่วยครูใหญ่ หรือครูใหญ่ตรวจสอบได้ทุกเวลา

เจ้าหน้าที่งบประมาณ มีหน้าที่จัดทำ และเสนอของบประมาณ โดยอยู่ในความดูแลขอคำปรึกษาหารือจากผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายธุรการ หรือครูใหญ่

เจ้าหน้าที่เบิกจ่ายเงิน มีหน้าที่ทำการเบิกเงิน จ่ายเงินทุกอย่างของโรงเรียนทั้งนี้อยู่ในความควบคุมดูแลของผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายธุรการ และครูใหญ่เช่นกัน

เป็นที่น่าสังเกตว่า ตามโรงเรียนระดับต่ำ เช่นโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดส่วนมากไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนใหญ่หรือเล็ก มักจะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทางการเงินขึ้นครบ 3 คน ตามระเบียบ แต่ในทางปฏิบัติจริง ๆ ผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายธุรการจะทำหน้าที่ทั้งหมด เช่น ทำบัญชี ทำการเบิกจ่าย และทำงบประมาณ สำหรับ โรงเรียนเล็กจริง ๆ ปริมาณนักเรียนและครูมีน้อย หน้าที่การเงินทั้งหมดจะเป็นหน้าที่ครูใหญ่คนเดียว ไม่จำเป็นต้องตั้งเจ้าหน้าที่การเงินฝ่ายต่าง ๆ เพราะปริมาณงานมีน้อย

หลักในการบริหารการเงินโรงเรียน

ในการบริหารการเงินโรงเรียนนั้น ย่อมต้องอาศัยหลักการมากมายเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหาร หลักการบริหารการเงินโรงเรียนที่ผู้บริหารทุกระดับจะต้องคำนึงถึงมีดังต่อไปนี้

หลักสารัตถประโยชน์ (Utility Principle ) ในการบริหารการเงินโรงเรียนนั้น จะต้อง

คำนึงถึงการใช้เงินให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งจัดว่าเป็นประเทศที่ยากจน มีงบประมาณในการจัดการศึกษาอยู่ในขอบเขตอันจำกัด ดังนั้นการใช้จ่ายเงินต่าง ๆ ควรเป็นไปเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์อันสูงสุด

หลักแห่งเอกภาพ (Unity Principle ) ใน การบริหารงานการคลังทั่วไปนิยมการ

แยกรายการต่าง ๆ ออกจากกันและรวมกันไว้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน ให้เป็นเอกภาพ เช่นเป็นหมวดรายจ่าย หมวดรายรับ หมวดหนี้สิน เป็นต้น นอกจากนี้เอกสารและบัญชีต่าง ๆ มักจะแยกประเภทเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ

หลักแห่งความสมดุลย์ (Balance Principle ) เนื่องจากหน้าที่รับผิดชอบของรัฐนั้นมี

มากมาย ดังนั้นการทุ่มเงินส่วนใหญ่มาใช้ทางการศึกษา โดยไม่สมดุลย์กับรายจ่ายด้านอื่น ๆ ย่อมไม่เกิดผลดีอย่างแน่นอน ดังนั้นผู้บริหารการศึกษาจะต้องพิจารณาในแง่ของประเทศโดยส่วนรวมด้วย

หลักความเป็นธรรม (Equity Principle ) ในการพิจารณาจัดสรรเงินใช้ในโรงเรียน

ควรพิจารณาตามความจำเป็นและความเหมาะสม ตามหลักการแห่งเหตุผลอันแท้จริง มิควรพิจารณาจัดสรรเงินตามความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นหลัก

หลักแห่งความชัดเจน แจ่มแจ้ง (Clarity Principle ) ในการจัดการเกี่ยวกับการเงิน

ของโรงเรียนจะต้องทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจทุกอย่าง เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามแนวทางเดียวกัน เช่น เกี่ยวกับวัน เวลา และสถานที่ การปฏิบัติ การจัดรายการ จำนวนเงินที่ใช้จ่ายหรือได้มาเป็นต้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความสะดวกในการพิจารณาการกำหนดแยกรายการเป็นหมวดหมู่เพื่อให้เข้าใจง่าย และการคำนวณตัวเลขให้แน่นอนเป็นการสนับสนุนหลักการนี้เช่นเดียวกัน

หลักจารีตประเพณีนิยม (Conservative Principle ) ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการเงิน

นั้น เรามักจะประพฤติปฏิบัติไปในทำนองเดียวกัน และสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตและปัจจุบัน เป็นการทำให้เกิดความเข้าใจและง่ายต่อการปฏิบัติ

หลักสมานฉันท์ ( Harmony Principle ) การบริหารงานคลังจะต้องคำนึงถึงการ

ขจัดข้อแย้งระหว่างบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกิจการทุกอย่างเกี่ยวกับการคลังของโรงเรียนจะต้องได้รับการยอมรับจากทุกคน และไม่ขัดแย้งซึ่งกันและกัน และพยายามก่อให้เกิดความช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วย

หลักความถูกต้องกับความเป็นจริง (Accuracy Principle ) ในการบริหารการเงิน

โรงเรียน จะต้องมีลักษณะเปิดเผย สามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ได้ทุกเวลาและทุกรายการ

หลักการกำหนดเวลา ( Annuality Principle ) ในการบริหารงานคลังโรงเรียนจำ

เป็นต้องกำหนดเวลาไว้ให้แน่นอน เพื่อสะดวกในการติดตามและประเมินผลโดยทั่วไปจะกำหนดไว้เป็นหนึ่งปี โดยให้สอดคล้องกับปีงบประมาณ

หลักการคาดการณ์ล่วงหน้า (Foresight Principle ) ในการบริหารการเงินผู้บริหาร

จะต้องรู้จักคาดการณ์ล่วงหน้าได้ถูกต้อง เพื่อความรอบคอบในการปฏิบัติงาน

หลักความมีลักษณะเฉพาะอย่าง (Specification Principle ) การปฏิบัติงานใน

หน่วยงานการเงินควรแบ่งงานรับผิดชอบระหว่างบุคลากรในหน่วยงานให้แน่นอนและเฉพาะบุคคลไม่ก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน เช่น แยกฝ่ายปฏิบัติการกับฝ่ายตรวจสอบออกจากกัน เป็นต้น การให้ผู้รับผิดชอบงานเฉพาะอย่างนั้นเป็นการทำให้คนได้ทำงานเฉพาะอย่าง ซึ่งทำให้เกิดความแน่นอนในการปฏิบัติงาน ป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้

หลักการประหยัด (Economy Principle ) การใช้เงินทุกอย่างของโรงเรียนการเป็น

ไปโดยความประหยัด พิจารณาถึงความจำเป็นในการดำเนินการงานใดที่ต้องใช้เงินมากและเป็นงานที่ไม่จำเป็น และไม่เป็นประโยชน์ ควรตัดรายการนั้นทิ้งไป

นอกจากหลักการบริหารการเงินโรงเรียนดังกล่าวข้างต้นแล้ว ฮันต์ และเพียซ (Hunt & Pierce) ยังได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารการเงินดังนี้

การวางแผนการเงิน ควรวางแผนไว้เป็นระยะยาวที่สุด และแบ่งกระบวนการปฏิบัติ

การเป็นช่วง ๆ ไป ทั้งนี้ต้องคอยตรวจสอบและปรับปรุงให้เข้างกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการศึกษาอยู่ตลอดเวลา

ควรมีการสนับสนุนให้ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาส

ร่วมในการกำหนดแผนงานการศึกษาไว้ล่วงหน้า เพื่อให้การใช้เงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

งบประมาณของโรงเรียน ควรจะพิจารณาตามแผนงานของการศึกษาของโรงเรียน

ในระยะ 5 ปี หรือ 1 ปี (ถ้าเป็นไปได้) ไม่ควรกำหนดเพียงแต่พิจารณาเพื่อการใช้จ่ายโดยปราศจากการวางแผนเท่านั้น และเงินของโรงเรียนควรจะเพิ่ม (หรือลด) ตามความต้องการทางการศึกษาของชุมชน

โรงเรียน ควรมีอิสระอย่างเพียงพอในการตัดสินใจ และไม่ให้มีข้อผูกมัดใดมาเกี่ยว

ข้องกับ การบริหารการเงินโรงเรียน

การบริหารการเงินโรงเรียน ควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาทางการศึกษามากกว่าที่จะ

มุ่งแข่งขันซึ่งกันและกัน

ขอบข่ายเกี่ยวกับงานการเงินโรงเรียน

งานเกี่ยวกับการเงิน ซึ่งผู้บริหารการศึกษา พึงกระทำมีพอสรุปดังนี้

การจ่ายเงินเดือน ( Salary Principle ) ผู้บริหารจะต้องจัดการเกี่ยวกับการวางแผน

อัตรากำลังของครูอาจารย์ และบุคลากรอื่น ๆ ของโรงเรียน

การใช้จ่ายทางด้านอื่น ๆ (Purchasing) ของโรงเรียน ได้แก่การจัดการเกี่ยวกับ

การใช้จ่ายทางด้านการบริหารอาหารกลางวันนักเรียน การจัดการเกี่ยวกับการบริการห้องสมุด

การตรวจสอบบัญชีจ่ายเงินภายใน (Internal Auditing of Expenditure) ได้แก่การ

ตั้งกรรมการตรวจสอบ การวางระเบียบกฎเกณฑ์การจ่ายเงินตลอดจนการกำหนดระบบการตรวจสอบ เป็นต้น

การรายงานการเงิน (Preparation of Financial Report) ในการบริหารงาน

โรงเรียนนั้นย่อมมีหน่วยงานเหนือขึ้นไปตามลำดับ ในประเทศไทยมีหน่วยงานควบคุมอยู่หลายหน่วย เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น ผู้บริหารงานโรงเรียนต้องรายงานหน่วยงานที่เหนือขึ้นไป

บัญชีการเงินของโรงเรียน(Financial Accounting) เพื่อสะดวกในการควบคุมและ

ตรวจสอบการบริหารการเงินโรงเรียน จึงจำเป็นต้องมีระบบบัญชีการเงินและทรัพย์สินของโรงเรียน เพื่อป้องกันการรั่วไหล และการใช้เงินที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ซึ่งหัวหน้าสถานศึกษาจะต้องทำตามระบบบัญชีที่หน่วยงานที่เหนือขึ้นไปกำหนด



รายได้รายจ่ายของรัฐ

ในการบริหารประเทศของแต่ละประเทศ รัฐบาลมีหน้าที่จัดดำเนินการต่างๆ ซึ่งต้องใช้เงินและมีหน้าที่หารายรับมาเพื่อใช้จ่ายภายในประเทศ การใช้จ่ายของรัฐจำเป็นจะต้องทำอย่างรอบคอบมีหลักเกณฑ์และมีความสมดุลย์ หรือไม่ทำให้ขาดดุลกับรายรับที่พึงจะได้ การหารายได้ของรัฐมีความสัมพันธ์กับรายจ่ายคือ รายได้กำหนดรายจ่าย

รายได้ของรัฐบาล

ไพศาล ชัยมงคล ให้ความหมายของคำว่ารายรับ (Receipt) หมายถึง "รายได้" (Revenue) กับ "เงินกู้" (Borrowing หรือ Loan) และเงินคงคลัง (Treasury Balance) แต่ส่วนใหญ่ของรายรับนั้นได้มาจากรายได้ และได้จำแนกรายได้ของรัฐบาลออกเป็น 4 ทาง คือ

รายได้จากภาษีอากร ประกอบด้วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัท ห้างหุ้นส่วน

นิติบุคคล ภาษีการค้า อากรแสตมป์ ภาษีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ อากรขาออก อากรขาเข้า ภาษีลักษณะการอนุญาตและการผูกขาด ภาษีจากทรัพย์สิน

รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ ได้แก่ค่าขายทรัพย์สินสิ่งของค่าขายผลิต

ภัณฑ์ธรรมชาติ ค่าจำหน่ายบริการสาธารณูปโภค ค่าขายหนังสือราชการค่าขายสิ่งของอื่น ๆ ค่าบริการและค่าเช่าเป็นต้น

รายได้จากรัฐพาณิชย์ ได้แก่รายได้จากองค์การของรัฐบาลและหน่วยงานธุรกิจที่

รัฐบาลเป็นเจ้าของเงินส่วนแบ่งและเงินปันผล

รายได้อื่น ๆ ได้แก่เงินค่าปรับ เงินส่งคืนและชดใช้ ตลอดจนรายได้เบ็ดเตล็ด

เทเลอร์ (Taylor) ได้จำแนกรายได้ออกเป็น

รายรับที่ไม่เป็นรายได้

รายรับที่เป็นรายได้

รายรับที่ไม่เป็นรายได้ ได้แก่รายได้จากการกู้ยืม ซึ่งเป็นรายได้ที่รัฐมีภาระผูกพันต้องใช้

คืนในอนาคต

รายรับที่เป็นรายได้ ได้แก่รายได้จากการอุทิศให้จากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตค่าปรับ รายได้จากรัฐวิสาหกิจและจากการจัดเก็บภาษีอากร

รายได้เหล่านี้รัฐบาลจะนำไปจัดสรรให้หน่วยงานของราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งหมด เรียกเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือเงินงบประมาณประจำปี จัดทำเป็นประจำทุกปี

รายจ่ายของรัฐบาล

ตามที่กล่าวข้างต้นแล้วว่ารัฐบาลของทุกประเทศมีหน้าที่จัดดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้เงินเพื่อจะทำให้ประชาชนมีความสุข มีความเป็นอยู่ดี รัฐบาลรับผิดชอบในการป้องกันประเทศและภัยอันอาจจะเกิดแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน มีหน้าที่จัดหาบริการต่าง ๆ ให้แก่ประชาชน เช่นจัดการศึกษา การรักษาพยาบาล การคมนาคม และการสื่อสารต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้นรัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินหลายทางสุดแท้แต่วัตถุประสงค์ของการใช้จ่าย บางอย่างใช้จ่ายเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น รายจ่ายในการลงทุนด้านอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรม การศึกษาและสาธารณสุข เป็นต้น รายจ่ายเหล่านี้ไม่ได้รับผลตอบแทนเป็นตัวเงิน แต่เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ มีความเป็นอยู่ดี

จากสถิติรายจ่ายของรัฐบาลจะเห็นว่า รายจ่ายได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อาจจะเนื่องจากประเทศเรากำลังพัฒนาและเนื่องจากการเพิ่มของประชากร และมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้นของประชาชน ตลอดจนการสงคราม มีส่วนทำให้รายจ่ายของรัฐเพิ่มขึ้นด้วย

แหล่งของเงินที่ใช้เพื่อการศึกษา

เงินงบประมาณหรือเงินที่ใช้จ่ายในด้านการศึกษาของประเทศนั้น มิได้มีเฉพาะแต่งบประมาณของรัฐบาล เพียงอย่างเดียว แต่ยังได้มาจากเอกชนด้วย ในปีหนึ่ง ๆ ได้มีเอกชน บริษัท ห้างร้าน องค์การและมูลนิธิต่าง ๆ บริจาคให้แก่สถานศึกษาไม่ใช่น้อยซึ่งสถาบันการศึกษาสามารถนำไปใช้จ่ายภายในระเบียบข้อบังคับโดยมิต้องนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินเหมือนรายได้ประเภทอื่น ๆ

เงินที่ใช้จ่ายในการศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลมีที่มา 3 ทาง คือ

เงินงบประมาณแผ่นดิน

เงินนอกงบประมาณ

เงินรายได้แผ่นดิน

สำหรับเงินรายได้แผ่นดินนั้น ส่วนมากเมื่อได้มาแล้วจะต้องนำส่งคลังทันที จึงไม่ค่อย

จะมีผู้กล่าวถึงและในที่นี้จะกล่าวเฉพาะเงินงบประมาณแผ่นดิน และเงินนอกงบประมาณเท่านั้น



อ้างอิง: เรืองศรี ศรีทอง และคณะ.2529. การบริหารการเงินของโรงเรียน. มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ในยุคปฏิรูปการศึกษา

ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ในยุคปฏิรูปการศึกษา


• ภายใต้รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ในยุคของการบริหารจัดการศึกษาไทยในปัจจุบัน ท่ามกลาง กระแส แห่งความเป็น โลกาภิวัฒน ์ (Globalization) ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขการปรับเปลี่ยนการแข่งขัน เพื่อสร้างข้อได้เปรียบ และความมุ่งมั่นของสังคม ที่ดำเนินไป อย่างรวดเร็ว รุนแรง และมีความ หลากหลายนั้น ต่างก็ส่งผลกระทบต่อวงวิชาชีพ โดยเฉพาะด้านการศึกษา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการ ปรับเปลี่ยนบริบท และ โครงสร้างการบริหาร ของการบริหารจัดการศึกษาภายใต้สาระแห่งบทบัญญัต ิของกฎหมายการศึกษา ที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542” เป็นการจัด โครงสร้าง การบริหาร การศึกษา โดยยึดหลักของการ มีเอกภาพเชิงนโยบาย หลากหลาย ในการปฏิบัติ โดยเน้นระบบการกระจายอำนาจ และการยึดหลักการมีส่วนร่วม ของท้องถิ่นเป็นสำคัญ

• สาระสำคัญของ พระราชบัญญัต ิการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 นั้นได้เสนอแนวคิดและ วิธีการจัดการศึกษาที่ท้าทายหลายด้าน จึงเป็นเสมือนกฎหมายปฏิรูปการศึกษา ดังจะเห็นได้ว่าใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินี้ให้ความสำคัญกับการปฎิรูปในด้านต่างๆ คือ ปฏิรูประบบ การศึกษา ให้สอดรับซึ่งกันและกันทั้งระบบ ปฏิรูปแนวการจัดการศึกษาโดยให้ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ปฏิรูปหลักสูตรและเนื้อหาสาระ วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ปฏิรูประบบการบริหา รและการจัดการศึกษาทั้งหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น และเอกชนโดยเน้นเรื่อง การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วม ปฏิรูประบบครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นให้มีการยกระดับสถานภาพของวิชาชีพครู การพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพครู ปฏิรูประบบทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา เพื่อระดมทรัพยากรมาให้เพื่อการศึกษา ปฏิรูประบบประกัน คุณภาพการศึกษา เน้นเรื่องของการประกันคุณภาพภายในและให้มีการรับรองและประเมินผลมาตรฐานจากองค์กรภายนอก และปฏิรูปสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มุ่งให้มีการผลิตใช้สื่อและเทคโนโลยีในรูปแบบที่หลากหลายที่มีคุณภาพ( สำนักนางปฏิรูปการศึกษา 2544 :15-18)

• การปฏิรูปการศึกษามุ่งให้เกิดคุณภาพทั้งในด้านผลผลิต กระบวนการจัดการ และปัจจัยต่างๆ โดยมุ่งหวังให้การจัดการศึกษา พัฒนาทั้งระบบ ( Whole School Approach : WSA) บุคคลที่มี ความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ก็คือ ผู้บริหารสถานศึกษา เพราะต้อง เป็นผู้นำและผู้ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ยที่มีความสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการเรียน การสอน และการเรียนรู้ รวมทั้งประสานสัมพันธ์ ระดมและจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ( สุพล วังสินธ์. 2545 : 29) ผู้บริหารสถานศึกษาจึงเปรียบได้ว่าเป็นจอมทัพสำคัญที่จะนำพาองค์กรให้ก้าวไปในกระแสแห่งการปฏิรูปได้อย่างมีเกียรและศักดิ์ศรี ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางบริบท (Context) หลากหลายส่วนนั้น น่าจะเปรียบได้กับ“ ผู้บริหารมืออาชีพ ” จึงจะเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันที่จะทำหน้าที่สำคัญให้ไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์โดยการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติที่แสดงให้เห็นศักยภาพ คุณภาพ เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการศึกษาภายในสถานศึกษาแห่งนั้น

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา

ผู้บริหารหรือผู้นำหรือผู้จัดองค์การ หรือหัวหน้างาน ไม่ว่าหน่วยงานเล็กหรือหน่วยงานใหญ่ หน่วยงาน ราชการหรือเอกชนก็ตาม ย่อมมีบทบาทที่เป็นผลต่อการสำเร็จหรือประสิทธิภาพของงานเป็นอย่างยิ่ง บางครั้ง การจัดองค์การ แม้จะไม่เรียบร้อยถูกต้องอยู่บ้าง ก็อาจได้รับผลงานสูงได้ หากผู้บริหารมีคุณลักษณะที่ดี แต่ถ้าคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมในการนำของผู้บริหารไม่ดี แม้การจัดองค์การถูกต้อง หรือดีเพียงใดก็ตาม ผลงาที่เกิดขึ้นของหน่วยงานนั้นๆ ย่อมสมบูรณ์ได้ยาก ดังนั้นผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติเหมาะสม มีพฤติกรรม ในการนำที่ถูกต้อง เหมาะสมเพราะความสำเร็จของงานทุกด้านขององค์การ ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร หรือผู้นำ ซึ่งจะวินิจฉัยสั่งการ หรือตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อให้งานเกิดประสิทธิภาพ ซึ่งคุณลักษณะ ที่พึงประสงค ์ของผู้บริหารหรือผู้นำนั้น ควรที่จะประกอบด้วยเรื่องที่สำคัญ ได้แก่ คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ คุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำ คุณลักษณะด้านความรู้ทางวิชาการ และ คุณลักษณะด้านความสามารถในการบริหาร

1. คุณลักษณะด้านบุคลิกลักษณะ

อรุณ รักธรรม (2527 : 198-202) ได้กล่าวถึงบุคลิกภาพของผู้นำหรือผู้บริหารที่ดี

• 1. เป็นผู้มีความรู้

• 2. เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

• 3. เป็นผู้มีความกล้าหาร

• 4. เป็นผู้มีความเด็ดขาด

• 5. เป็นผู้มีความแนบเนียน มีกิริยาวาจาที่ถูกต้องเหมาะสม

• 6. เป็นผู้มีความยุติธรรม

• 7. เป็นผู้มีลักษณะท่าทางการแสดงออกที่ดี

• 8. เป็นผู้ที่มีความอดทน

• 9. เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น

• 10. เป็นผู้ที่ไม่เห็นแก่ตัว

• 11. เป็นผู้มีความตื่นตัวหรือระมัดระวังอยู่เสมอ

• 12. เป็นผู้มีความพินิจพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างมีเหตุผล

• 13. เป็นผู้มีความสงบเสงี่ยม

• 14. เป็นผู้มีความสงรักภักดี

• 15. เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

• 16. เป็นผู้มีความสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี

2. คุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำ

• 1. ความมีชีวิตชีวาและทนทาน (Vitality and Endurance) จะต้องมีความคล่อง แคล่วว่องไว ตื่นตัวอยู่เสมอ พร้อมอยู่เสมอที่จะรับสถานการณ์ทุกชนิด ปรับตัวได้ เปลี่ยนแปลงได้ และร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ มีความอดทนต่อการทำงานหนักและนานๆ ทนต่อความลำบากเจ็บช้ำได้ โดยไม่ปริปาก หรือแสดงอาการ ท้อแท ้ให้พบเห็น

• 2. ความสามารถในการตัดสินใจ (Decisiveness) จะต้องตัดสินใจถูกต้อง ตัดสินใจ ได้เร็ว และเต็มใจเสมอ ที่จะเป็น ผู้ตัดสินใจด้วยตัวเอง ในเมื่อมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น

• 3. ความสามารถในการจูงใจคน (Persuasiveness) ผู้นำที่สามารถชักจูงให้ผู้อื่นร่วม มือกับตน ได้เท่านั้น ที่จะได้รับความสำเร็จ

• 4. ความรับผิดชอบ (Respensibility)

• 5. ความฉลาดไหวพริบ (Intellectual Capacity) ความฉลาดไหวพริบจำเป็นที่สุด สำหรับผู้บริหาร หรือผู้นำ ที่จะใช้ในการบริหารงาน หรือใช้ในการวินิจฉัยสั่งการ

3. คุณลักษณะด้านความรู้ทางวิชาการ

ความรู้ทางวิชาการได้แก่ การศึกษาวิชาการทั่วไป การศึกษาด้านวิชาชีพ และการศึกษา ให้เกิด ความรอบรู้ เชี่ยวชาญในแขนงวิชาที่คนสนใจ สำหรับใช้จัดระดับความรู้ และประสบการณ์ ในการทำงานของบุคคลที่มาทำงาน ในการเป็นผู้บริหาร

4. คุณลักษณะด้านความสามารถในการบริหาร

• 1.ใช้แผนเป็นเครื่องมือในการบริหารโรงเรียน อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัด ระบบข้อมูลสารสนเทศให้ถูกต้อง การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน การมอบหมายงานให้บุคลากรทำตามความรู้ความสามารถ การควบคุม กำกับ ติดตาม นิเทศงาน

• 2. สนับสนุนให้บุคลากรเกิดความมุ่งมั่นในการพัฒนา ได้แก่ การส่งเสริมให้ บุคลากรพัฒนาตนเองและพัฒนางาน การจัดสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวก และประโยชน์ ตอบแทน

• 3. จัดกิจกรรมหลากหลายเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่ การจัดกิจกรรม ทางวิชาการ การจัดบริการแนะแนว บริการสุขภาพ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้มีบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้

• 4. ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อพัฒนางาน

• 5. ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงาน อย่างต่อเนื่อง ใช้วิธีการที่หลากหลาย ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม นำผลการประเมินไปนิเทศ และพัฒนางานการบริหารเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา

ปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างการเรียนรู้ในโรงเรียน คือ ระบบการบริหารจัดการที่มี ประสิทธิภาพ และการมีส่วนร่วม ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปในการศึกษาจึงต้องมีศาสตร์และ ศิลป ์ในการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่จะทำให้การบริหารจัดการศึษาบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เมื่อกล่าวถึงคุณลักษณะ ของนักบริหารดูเหมือนจะมีการกล่าวไว้มากมาย ซึ่งมีทั้งทัศนะส่วนตัว ที่เกิดจาก ประสบการณ์ ในการเป็นผู้บริหารมาและผลจากการศึกษาและวิจัยของนักวิชาการซึ่งมีทั้งของไทยและต่างประเทศ

บุรัญชัย จงกลนี ( ม . ป . ป . : 11-12) กล่าวถึงคุณลักษณะของนักบริหารที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

• 1. เฉลียวฉลาด แต่ไม่อวดฉลาด

• 2. มีความสามารถรอบด้าน (Well rounder)

• 3. มีพลังผลักดันภายใน (Inner drive) ให้กระตือรือร้นอยู่เสมอ

• 4. ทำตนให้เป็นที่เชื่อถือ (Integrity)

• 5. กล้าหาญทั้งกายและใจ (Courage physically and morally)

• 6. มีความคิดริเริ่ม (Innitiative)

• 7. รู้จักวิธีส่งเสริมและบำรุงขวัญผู้ใต้บังคับบัญชา

• 8. การเสียสละปราศจากการเห็นแก่ตัว

• 9. มีความยุติธรรม (Justice)

• 10. วางตัวดี (Bearing)

• 11. กระตุ้นให้ผู้น้อยมีความภูมิใจในงานของตน

• 12. ให้เกียรติในผลงานที่ผู้น้อยได้ปฏิบัติ

• 13. ปฏิบัติงานอย่างเป็นทีม ให้ทำงานแทนกันได้

• 14. ใช้ผู้ใต้บังคับบัญชาให้เหมาะสมกับความสามารถ และมีการพัฒนาฝีมือผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอ

จากการรายงานการประชุมระดับชาติ (Nation Conference of Professors of Educational Administration

( อ้างใน . บุรัญชัย จงกลนี . ม . ป . ป . : 14-15) เมื่อปี ค . ศ . 1951 ได้มีการประมวลปรัชญา ของการบริหาร การศึกษา ไว้ว่า

• 1. ผู้บริหารต้องใช้ความฉลาด ไหวพริบมาแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่สำคัญในการบริหาร (Application of intelligence to life problems)

• 2. ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้บุคคลจำนวนมาก หรือบุคคลหลายๆ คนเข้ามามีส่วนร่วม ในการกระทำ โดยไม่ทำงานตามลำพัง (Necessity of social group action)

• 3. ผู้บริหารต้องเคารพความเป็นคนของแต่ละคน และจะต้องให้ความยอมรับนับถือใน ความเห็น ธรรมชาติ และความสามารถของผู้อื่น (Respect of the individual)

• 4. ผู้บริหารต้องยึดเป้าหมาย หรือจุดประสงค์ของการศึกษาเป็นหลัก การบริหารการศึกษา จะไม่มีความหมายถ้าขาดเป้าหมายดังกล่าว นอกจากนี้ผู้บริหารจะต้องถือว่า เป้าหมายหรือจุดประสงค์ของ การศึกษาย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเหมาะสมกับสภาพ ของสังคม ในฐานะผู้นำผู้บริหาร จะต้องปรับปรุงการศึกษา ให้เหมาะสมกับสภาพ สังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (Function Social Organization)

• 5. ผู้บริหารจะต้องถือว่าตนเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่ประสานประโยชน์ ซึ่งเข้ามาให้บริการ แก่บุคคลอื่นทุกๆ คน ในการที่จะช่วยให้เขาดำเนินงานต่างๆ ในการให้การศึกษาให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพที่สุด (Administrator as group instrument)

• 6. ผู้บริหารจะต้องเปิดโอกาสให้บุคคลทั้งหลายมาทำความเข้าใจกันได้ทุกเมื่อและรับฟังความคิดเห็น ของบุคคล ทุกคนในวงการศึกษาและในชุมชนที่สถานศึกษาตั้งอยู่ (Freedom of Communication)

• 7. ผู้บริหารจะต้องถือว่าตนเองเป็นผู้นำ มิใช่เจ้านายผู้ทรงอำนาจ (Administrator as a leader)

• 8. ผู้บริหารต้องถือว่าตนเองคือ นักการศึกษา ผู้ยึดมั่นในปรัชญาของการศึกษา จึงต้องปฏิบัติและ วางตนอย่างนักการศึกษา (Administrator as an educator)

• 9. ผู้บริหารจะต้องเสียสละทุกอย่างเพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชน และเพื่อให้สังคมดี ขึ้นทุกๆ ทาง (Dedication of pubic education to community betterment)

• 10. ผู้บริหารจะต้องประสานงานประสานน้ำใจ ระหว่างชาวบ้านกับสถานศึกษาในการดำเนินงาน การศึกษา (School community integration in education)

• 11. ผู้บริหารจะต้องประเมินผลงานตนเองอยู่เสมอ การประเมินจะต้องทำทั้งสองอย่าง คือ ประเมินวิธีการ หรือกระบวนการทำงานพร้อมๆ กันไปกับการประเมินการปฏิบัติงาน เพราะการทำงาน จะมุ่งเอาแต่ผลอย่างเดียวไม่ได้ วิธีการก็จำเป็น (Two fold evaluation of Administration means and ends)

• 12. ผู้บริหารจะต้องเคารพในวิชาชีพของการบริหาร และมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ จะไม่ทำความเสื่อมเสีย ให้ผู้คนเหยียดหยามวิชาชีพของนักบริหาร (Professional integrity and responsibility)

• 13. ผู้บริหารจะต้องขวนขวายหาความรู้ใส่ตนอยู่เสมอ และแสวงหาความชำนาญ ทุกวิธีทาง เพื่อให้การบริหารงานของตนเองทันสมัย (Necessity for professional growth)

คุณสมบัติทั้ง 13 ประการนี้ เป็นแนวทางแห่งความเชื่อหรือปรัชญาของนักการบริหารที่พึงมี อันเป็นวิถี หรือแนวทางที่ผู้บริหารพึงยึดถือในการบริหารงาน ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นการยากที่จะปฏิบัติได้ครบถ้วน แต่การที่ได้ทราบไว้ก็จะเป็นประโยชน์ ให้แก่นักบริหาร ที่จะสามารถหยิบยกเอามาประยุกต์ ใช้ให้เหมาะสมกับงาน ของนักบริหาร ซึ่งแตกต่างกันออกไปของแต่ละคนได้

สุรศักดิ์ ปาเฮ (2543 : 72-73) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ ในยุคปฏิรูปการศึกษา ที่มีการเปลี่ยนแปลงบริบทต่างๆ ไปอย่างมากมายในปัจจุบัน ว่าควรมีลักษณะพื้นฐานที่สำคัญ ดังนี้

• 1. มองกว้างไกลอย่างต่อเนื่องและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ (Vission) สามารถที่จะกำหนดกลยุทธ์ในการบริหาร (Strategic Management)

• 2. สามารถที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ (Analyze Situation) เพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์และ แผนปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายและนโยบายได้อย่างเหมาะสม

• 3. ไวต่อการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งสังคมภายนอกและภายในองค์กร ทั้งในและนอกเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งรู้จักวิเคราะห์ความเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาอีกด้วย

• 4. ความสามารถในการจัดระบบการสื่อสารให้ได้ผล (Effective Communication) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้ทั่วถึงทุกระดับขององค์กร หน่วยงาน / สถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี สารสนเทศ (It) เป็นอย่างดี

• 5. ความสามารถในการบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resources Management) ต้องสามารถวางแผนบุคคล สรรหา คัดเลือก กำหนดระบบงบประมาณ ความก้าวหน้าในอาชีพ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อให้ทราบแนวคิด ทัศนคติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น และนำมาเป็นข้อมูล ในการบริหารทรัพยากรบุคคล

• 6. มีคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหาร สามารถที่จะเป็นแบบอย่างที่ดี ในการประพฤติปฏิบัติเพื่อ ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาใช้เป็นแบบอย่าง ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่การงาน แสวงหาผลประโยชน์ ให้ตนเองไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม

เช่นเดียวกับ ถวิล อรัญเวศ (2544 : 17 – 18) ได้ให้ทรรศนะนักบริหารมืออาชีพว่าควรจะมีลักษณะดังนี้

• 1. กล้าตัดสินใจ การตัดสินใจเป็นคุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของนักบริหาร นักบริหารมืออาชีพ ต้องมีข้อมูลที่เพียงพอในการตัดสินใจหรือวินัจฉัยสั่งการ เป็นคนที่สุขุมรอบคอบ มีเหตุมีผลในการตัดสินใจ

• 2. ไวต่อข้อมูล นักบริหารมืออาชีพ จำเป็นต้องเป็นคนที่ทันสมัย ไวต่อข้อมูลหรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ฉะนั้นจำเป็นต้องเป็นผู้ที่ติดตามข่าวสารต่างๆ อยู่เสมอ

• 3. เพิ่มพูนวิสัยทัศน์ นักบริหารมืออาชีพจะต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล สามารถมองเห็นภาพ ในอนาคตและแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี

• 4. ซื่อสัตย์และสร้างสรรค์ผลงาน คือ จะต้องเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีการสร้างสรรค ์ผลงาน ให้ปรากฏต่อสายตาเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ

• 5. ประสานสิบทิศ นักบริหารมืออาชีพจำต้องเป็นบุคคลที่สามารถประสานงานกับ หน่วยงาน หรือบุคคลต่างๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถไกล่เกลี่ยข้อกรณีพิพาทได้ และสามารถ ขจัดปัดเป่าปัญหา ต่างๆ ในหน่วยงานได้

• 6. คิดสร้างสรรค์วิธีการทำงานใหม่ๆ จะต้องคิดหาวิธีการทำงานแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ

• 7. จูงใจเพื่อร่วมงาน จำเป็นต้องมีบุคคลที่สามารถโน้มน้าวหรือจูงใจเพื่อนร่วมงาน ให้เกิดความกระตือรือร้น ในการทำงาน และมีความรับผิดชอบต่องานสูง ประเมินผล การปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม รู้จักให้การชมเชย ให้รางวัลหรือบำเหน็จ ความชอบ

• 8. ทนทานต่อปัญหาและอุปสรรค จะต้องมีความอดทนอดกลั้นต่อปัญหาอุปสรรคที่กำลังเผชิญ และพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อการแก้ไขปัญหาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยอย่างสันติสุข ไม่หนีปัญหา และไม่หมักหมมปัญหาไว้

• 9. รู้จักยืดหยุ่นตามเหตุการณ์ นักบริหารมืออาชีพจะต้องรู้จักยืดหยุ่น และอ่อนตัวตามเหตุการณ์นั้นๆ ไม่ตึงเกินไปหรือไม่หย่อนเกินไป บางครั้งก็ต้องดำเนินการในสายกลาง แต่ในบางครั้งต้องมี ความเด็ดขาด

• 10. บริหารงานแบบมีส่วนร่วม จะต้องบริหารงานแบบให้ทีมงานมีส่วนร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ และร่วมรับผิดชอบ

สมบัติ บุญประเคน (2544 : 20 – 21) ได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหาร ในยุคปฏิรูปการศึกษาไว้ว่า แบบผู้บริหารในยุคปฏิรูปการศึกษาจะต้องประกอบด้วย 6 ป สรุปได้ดังนี้

• 1. ปฏิรูป การทำงานของผู้บริหารแบบนี้จะเป็นนักคิด นักพัฒนา ปรับเปลี่ยนหน่วยงาน และพัฒนางานตลอดเวลา การดำเนินงานต้องทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ได้ ผู้ใต้บังคับบัญชา จะต้องกระตือรือร้นในการทำงานอยู่เสมอ

• 2. ประชาธิปไตย เป็นการบริหารงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้บังคับบัญชาจะต้องพบกันครึ่งทาง หาแนวทางที่พึงประสงค์ให้ได้ ผู้บริหารจะต้องตัดสินปัญหาที่ไม่มีทางออกให้ได้ ผู้บริหารจะต้องมีบุคลิกภาพ และการทำงานเป็นประชาธิปไตย จึงจะเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงาน

• 3. ประสาน เป็นลักษณะของผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพมาก ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี การทำงานจะคำนึงถึงผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ รู้จักใช้ความสามารถ ของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด มีความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาดีมาก ให้เกียรติปูนบำเหน็จรางวัล และยกย่องอย่างสมศักดิ์ศรี ไม่แย่งเอาผลงานของผู้ใต้บังคับบัญชา

• 4. ประนีประนอม บุคลิกลักษณะของผู้บริหารแบบนี้ จะพยายามไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความขัดแย้ง ในหน่วยงาน จะอะลุ่มอล่วยตลอดเวลา สิ่งใดที่พอยอมได้ก็จะยอม ไม่ติดใจกับปัญหา

• 5. ประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารลักษณะนี้จะมีบุคลิกที่ว่าจะทำอะไร จะพูดที่ไหนจะเป็นเรื่องสำคัญทุกเรื่อง มีความสามารถในการโน้มน้าวจูงใจสูง มีมนุษยสัมพันธ์ดี การทำงานจะสนับสนุน ให้ทุกคนทำรายงาน และ นำรายงานมาประชาสัมพันธ์

• 6. ประชาสงเคราะห์ ผู้บริหารลักษณะนี้จะให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมงานทุกเรื่อง เป็นห่วงเป็นใยตลอดเวลา จะประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อขอความช่วยเหลือผู้ร่วมงาน การพัฒนาบุคลากรจะพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ทุกคนมีความก้าวหน้าในอาชีพ และครอบครัวอยู่เสมอ มีการให้อภัยเพื่อนร่วมงาน ไม่มีการตักเตือนอย่างรุนแรง ผู้ร่วมงานจะมีความสุขมากในการทำงาน เป็นกัลยาณมิตรกับทุกคน

จากที่กล่าวมาเบื้องต้นนั้น สอดคล้องกับผลการวิจัยบางชิ้นงานที่สรุปและจำแนกถึง คุณลักษณะ ของผู้บริหารที่ส่งผลสำเร็จ ต่อการบริหารการศึกษาอย่างมืออาชีพ สามารถจำแนกได้เป็น 10 ประการ ได้แก่ ( สุรศักดิ์ ปาเฮ . 2543 : 72 – 73)

• 1. มีความพร้อมทางด้านข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ (Command of Basic Facts) ต้องรู้ความเคลื่อนไหว ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและนอกองค์กร โดยมีข้อมูลและสารสนเทศ ช่วยในการดำเนินการ และบริหารงาน ให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

• 2. มีความรู้ทางวิชาชีพ (Relevant Professional Knowledge) เป็นความรู้ที่รวมถึงความรู้ทางเทคนิค เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ทางการบริหาร เช่น หลักการทฤษฎีการบริหาร การวางแผน การจัดองค์กร หลักสูตร การสอน การวัดผลประเมินผล เหล่านี้เป็นต้น

• 3. มีความรู้เท่าทันในสถานการณ์ (Continuing Sensitivity to Events) สามารถปรับตัวและสนอง ได้ฉับไวและต่อเนื่องกับสถานการณ์รอบด้าน และดำเนินบทบาทได้อย่าง เหมาะสม รวดเร็ว และเข้าใจความรู้สึกของคนรอบข้าง

• 4. มีทักษะในการเข้าสังคม (Social Skills and Abilities) โดยการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น การสื่อสาร การกระจายอำนาจ การเจรจาต่อรอง การมอบหมายงาน การสมาคม การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ให้เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์กร

• 5. มีทักษะในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และการตัดสินใจ (Analytical , Problem Solving , Decision Making Skills) อาศัยหลักตรรกศาสตร์ การใช้เหตุผลและ วิจารณญาณเข้าช่วย เพื่อรักษาความสมดุล ให้เกิดขึ้นทุกๆ ด้านในองค์กร

• 6. การควบคุมอารมณ์ (Emotion Resilience) ผู้บริหารต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง มั่นคงในอารมณ์ ไม่หวั่นไหวง่าย จะต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกมีจิตระลึกเสมอ และแสดงออก ได้อย่างเหมาะสม

• 7. มีพฤติกรรมกล้าเสี่ยง (Pro activity inclination to Respond Purposefully to events) ผู้บริหารการศึกษา มืออาชีพต้องมองงานได้อย่างทะลุปรุโปร่ง รู้ระบบการทำงานอย่างดี รู้ภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบ ทั้งตนเองและสมาชิกในองค์กร และรู้รับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ คำนึงถึงผลประโยชน์ระยะยาว และเป้าหมายโดยรวม

• 8. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity) ริเริ่มโครงการใหม่ๆ และทำให้สำเร็จ เป็นที่ยอมรับ ของบุคคลทั่วไป ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นวิธีการที่เกิดการยอมรับว่าเป็นแนวคิดที่ดี มีความละเอียดรอบคอบ และยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม

• 9. มีความรู้สึกไวต่อบุคคลอื่น (Mental Agility) เกี่ยวข้องกับระดับสติปัญญา สามารถค้นหาทางเลือก ได้หลากหลายเพื่อการแก้ไขปัญหา รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้เกียรติและสนใจในความรู้สึก ของคนอื่น

• 10. มีความรู้และฝึกฝนการเรียน (Balanced Leaning Habits and Skills) ต้องรู้ว่าจะรู้ต้องรู้อะไร และต้องรู้ให้จริง ต้องคิดเป็นคิดได้ และสามารถบูรณาการความรู้ได้ ประยุกต์ ใช้ได้ สามารถสร้างทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์ ได้จากการปฏิบัติงาน สามารถพัฒนางานวิชาการ และรูปแบบวิธีการจากทฤษฎีได้

สุพล วังสินธ์ (2545 : 29 – 30) ได้สรุปคุณลักษณะที่สำคัญของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา ไว้ว่า

• 1. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล

• 2. มีบุคลิกภาพประชาธิปไตย ใช้หลักเหตุผลในการบริหารงาน

• 3. มีจิตสำนึกในความมุ่งมั่น

• 4. ใจกว้าง เปิดโอกาสให้ครูมีเสรีภาพในการคิด

• 5. ปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ให้เกิดตามเป้าหมายของการจัดการศึกษา

• 6. มีศักยภาพในการจัดการระบบบริหารโรงเรียน โดยการนำระบบคุณธรรมมาใช้ใน โรงเรียน

• 7. สร้างขวัญกำลังใจให้ครู มีกำลังใจที่จะเป็นครูดี ครูเก่ง ครูที่ปรึกษา ( Mentor)

บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปการศึกษา บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ พอสรุป ได้ดังนี้

• 1. เป็นผู้นำในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของครูและ นักเรียน

• 2. เป็นผู้นำในการบริหาร โดยยึดแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

• 3. เป็นผู้นำด้านการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้

• 4. เป็นผู้นำในการพัฒนาวิชาการ

• 5. เป็นผู้ประสานความร่วมมือกับชุมชน

• 6. เป็นผู้นำในการบริหารงานแบบประชาธิปไตย โดยร่วมกันทำงานเป็นทีม และส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม อย่างแข็งขัน

• 7. เป็นผู้นำในการจัดการศึกษา และเป็นเอกลักษณ์ขององค์กรในทางสร้างสรรค์

• 8. เป็นผู้นำในการบริหารคุณภาพ โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ลงมือทำและรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ

• 9. เป็นผู้สร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในการเรียนรู้และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

• 10. เป็นผู้นำในการจัดหางบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

2. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีการบริหารที่ใช้โรงเรียนฐาน (SBM : School Based Management) ประกอบด้วยเกณฑ์ต่อไปนี้ ( ธีระ รุญเจริญ . อัดสำเนา )

• 1. การเป็นผู้นำทางวิชาการ

• 2. การบริหารแบบมีส่วนร่วม

• 3. การเป็นผู้อำนวยความสะดวก

• 4. การประสานความสัมพันธ์

• 5. การส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากร

• 6. การสร้างแรงจูงใจ

• 7. การประเมินภายในและประเมินภายนอก

• 8. การส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย พัฒนา

• 9. การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์

• 10. การส่งเสริมเทคโนโลยี

3. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ตามมาตรา 39 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ . ศ . 2542 ที่ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารจัดการ ไปยังคณะกรรมการ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง ใน 4 ด้าน คือ ด้านวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไป สรุปพอสังเขปได้ดังนี้ ( สำนักงานปฏิรูปการศึกษา . 2543 : 82 – 84)

ด้านวิชาการ

• 1. มีความรู้และเป็นผู้นำด้านวิชาการ

• 2. มีความรู้ มีทักษะ มีประสบการณ์ด้านการบริหารงาน

• 3. สามารถใช้ความรู้และประสบการณ์แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที

• 4. มีวิสัยทัศน์

• 5. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

• 6. ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ มุ่งพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

• 7. รอบรู้ทางด้านการศึกษา

• 8. ความรับผิดชอบ

• 9. แสวงหาข้อมูลข่าวสาร

• 10. รายงานผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ

• 11. ใช้นวัตกรรมทางการบริหาร

• 12. คำนึงถึงมาตรฐานวิชาการ

การบริหารงบประมาณ

• 1. เข้าใจนโยบาย อำนาจหน้าที่ และกิจกรรมในหน่วยงาน

• 2. มีความรู้ระบบงบประมาณ

• 3. เข้าใจระเบียบคลัง วัสดุ การเงิน

• 4. มีความซื่อสัตย์ สุจริต

• 5. มีความละเอียดรอบคอบ

• 6. มีความสามารถในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล

• 7. หมั่นตรวจสอบการใช้งบประมาณอยู่เสมอ

• 8. รายงานการเงินอย่างเป็นระบบ

การบริหารงานบุคคล

• 1. มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ในการบริหารงานบุคคล

• 2. เป็นแบบอย่างที่ดี

• 3. มีมนุษยสัมพันธ์

• 4. มีอารมณ์ขัน

• 5. เป็นนักประชาธิปไตย

• 6. ประนีประนอม

• 7. อดทน อดกลั้น

• 8. เป็นนักพูดที่ดี

• 9. มีความสามารถในการประสานงาน

• 10. มีความสามารถจูงใจให้คนร่วมกันทำงาน

• 11. กล้าตัดสินใจ

• 12. มุ่งมั่นพัฒนาองค์กร

การบริหารทั่วไป

• 1. เป็นนักวางแผนและกำหนดนโยบายที่ดี

• 2. เป็นผู้ที่ตัดสินใจและวินิจฉัยสั่งการที่ดี

• 3. มีความรู้ และบริหารโดยใช้ระบบสารสนเทศที่ทันสมัย

• 4. เป็นผู้ที่มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร

• 5. รู้จักมอบอำนาจและความรับผิดชอบแก่ผู้ที่เหมาะสม

• 6. มีความคล่องแคล่ว ว่องไว และตื่นตัวอยู่เสมอ

• 7. มีความรับผิดชอบงานสูง ไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรค

• 8. กำกับ ติดตาม และประเมินผล

4. บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียน เป็นการให้หลักฐานข้อมูลแก่ประชาชนว่า บุคลากรในโรงเรียนทำงานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียน และสาธารณชนมั่นใจในคุณภาพของนักเรียน ดังนั้น โรงเรียนต้องจัด ให้มีระบบประกันคุณภาพภายใน และให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่กล่าวถึงที่ยังเป็นผลให้เกิดการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ที่จะต้องบริหารแบบมีส่วนร่วม มีลักษณะของผู้นำแบบประชาธิปไตย จะให้ความสำคัญ ให้เกียรติและเคารพ ในศักดิ์ศรีของผู้ร่วมงาน ยอมรับและเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานแสดงความคิดเห็นร่วมแก้ปัญหาและร่วมตัดสินใจ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มีความเชื่อมั่น เห็นคุณค่าของตนเองและผู้ร่วมงาน ซื่อสัตย์ จริงใจ มีความสามารถกระตุ้น และจูงใจให้เกิดความรักและความผูกพันในโรงเรียน

ดังนั้น การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลง บทบาทของตนเองโดยการใช้หลักการบริหารคุณภาพที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมคิดร่วมตัดสินใจ โรงเรียนสร้างทีมงาน ซึ่งมีความสำคัญต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management : SBM)

ปัจจัยเสริมสร้างความเป็นนักบริหารมืออาชีพ

นอกจากคุณลักษณะและบทบาทที่สำคัญของการเป็นนักผู้บริหารการศึกษามืออาชีพดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีปัจจัยเสริมบางประการที่จะเป็นตัวชี้วัด (Indicators) สำคัญของการเป็นผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ ได้อย่างสง่างาม เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายต่อการปฏิบัติภารกิจตามบทบาท หน้าที่เชิงบริหารจัดการศึกษา ในสถานศึกษา ปัจจัยบ่งบอกความสำคัญเหล่านี้ ได้แก่

• 1. คุณวุฒิด้านการศึกษา เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญจะต้องมี กล่าวคือ ต้องมีคุณวุฒิด้านการศึกษา ตรงตามคุณสมบัติ ที่กำหนดในกฎหมายวิชาชีพ โดยเฉพาะในยุคปฏิรูปการศึกษาที่ต้องการมืออาชีพทางการบริหาร บุคคลเหล่านี้ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาตรี โท เอก ด้านการศึกษาเป็นสำคัญ

• 2. ประสบการณ์การปฏิบัติงาน ต้องมีประสบการณ์สั่งสมในการปฏิบัติงานที่ผ่านมา โดยเฉพาะ ประสบการณ ์ด้านการบริหารทางการศึกษาในองค์กรทางการศึกษาระดับต่างๆ ในตำแหน่งทาง การบริหารการศึกษา ที่ได้ดำเนินบทบาทภารกิจตามสายงานที่กำหนดไว้

• 3. ประสบการณ์การฝึกอบรม ศึกษา ดูงาน ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพต้องได้รับการเพิ่มพูน ประสบการณ์ ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ การศึกษาดูงานจากแหล่งวิทยาการความรู้ สามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

• 4. การสร้างผลงานทางวิชาการ เป็นองค์ประกอบของการสร้างนักบริหารการศึกษาก้าวสู่มืออาชีพ โดยมีผลงานทางวิชาการเป็นเครื่องมือยืนยันถึงศักยภาพดังกล่าว ผลงานสามารถจัดกระทำได้หลายรูปแบบ ทั้งด้านการวิเคราะห์งานวิจัย การเขียนและเรียบเรียงเอกสารทางวิชาการ การเขียนบทความ ตำรา ฯลฯ ออกเผยแพร่แก่หน่วยงานอื่นๆ ให้แพร่หลายทั่วถึง รวมทั้งการเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

• 5. ผลงานดีเด่นที่สั่งสมไว้ผลสำเร็จจากการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ อาจดูจากหลักฐาน ที่เป็นผลงานที่สั่งสมไว้ จนเป็นที่ประจักษ์แก่ชุมชน สังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

• 6. ลักษณะเฉพาะของเอกัตบุคคล เป็นลักษณะเฉพาะตัว (Character) ที่นักบริหารการศึกษามืออาชีพ ควรเสริมสร้างให้บังเกิดขึ้น ได้แก่

• 1. มีบุคลิกที่ดี สง่างาม น่านับถือ

• 2. มีความขยันหมั่นเพียร สัมมาอาชีพ

• 3. มีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อตนเอง ครอบครัว หน่วยงาน

• 4. มีความซื่อสัตย์ สุจริต

• 5. ตรงต่อเวลา บริหารเวลาได้ดี

• 6. กระตือรือร้นในการทำงาน

• 7. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

• 8. รักษาระเบียบวินัยได้ดี เป็นแบบอย่างที่ดี

สรุป

• ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา จะต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหาร จัดการ มีวิสัยทัศน์ในการบริหารการศึกษาให้ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลง มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์เป็นที่ยอมรับ ของผู้เกี่ยวข้อง และมีความเป็นประชาธิปไตย เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้ ความสามารถ บุคลิกลักษณะ และคุณสมบัติตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างแท้จริง ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพในยุคปฏิรูปการศึกษา ควรมีลักษณะที่สำคัญ คือ นักพัฒนา นักแก้ปัญหา นักตัดสินใจ นักประนีประนอม นักการฑูต นักวางแผน นักปกครอง และนักปราชญ์

บรรณานุกรม

ถวิล อรัญเวส . “ นักบริหารมืออาชีพในยุคเขตพื้นที่การศึกษา ” วารสารวิชาการ . 4(2) : 17-18; กุมภาพันธ์ , 2544

ธีระ รุญเจริญ . “ การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา ” อัดสำเนา . ม . ป . ป .

บุรัญชัย จงกลนี . คุณธรรมของนักบริหาร . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สัตยการพิมพ์ . ม . ป . ป .

สมบัติ บุญประเคน . “ ผู้บริหารยุคปฏิรูปการศึกษาตามลักษณะ 5 ป . ”

วารสารครูขอนแก่น . 1(2) : 20-21; สิงหาคม 2544

สุพล วังสินธ์ . “ การบริหารโรงเรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา” วารสารวิชาการ. 5(6) : 29-30; มิถุนายน , 2543

สุรศักดิ์ ปาเฮ “ สู่มิติการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ ” วารสารวิชาการ . 3(6) : 70-74; มิถุนายน , 2543

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา . “ การบริหารตามแนวปฏิรูปการศึกษา ” วาสารวิชาการ . 5(6) : 23-30; พฤษภาคม , 2545

………………… “ คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนยุคใหม่ . ” วาสารวิชาการ . 5(7) : 16-17; กรกฎาคม , 2545

………………… “ภาวะผู้นำ :สมรรถภาพหลักของผู้บริหารในยุคปฏิรูป”วารสารวิชาการ .5(9) : 35-44; กันยายน,2545

เขียนโดย…นายวิเชียร วงค์คำจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกุดเชียงมี

ทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่ (Structural Functionalism)

ทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่ (Structural Functionalism)


ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ เป็นทฤษฎีหลักทางสังคมวิทยา และเป็นทฤษฎีที่ทางอิทธิพลทฤษฎีหนึ่งของสังคมวิทยา นั่นหมายถึงเราสามารถใช้ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ อธิบายหรือพยากรณ์ ทำความเข้าใจ ปรากฏการณ์ทางสังคมได้อย่างชัดเจนและละเอียดในทุกระดับชั้นของสังคมโลกเป็นอย่างดี

ขอบข่ายของทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่

ถ้าเราจะศึกษาทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่ ให้ครบถ้วนแล้วเราต้องศึกษาเรื่องใดบ้าง เรื่องที่เราจะต้องศึกษามีดังต่อไปนี้คือ

1. ทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่คลาสสิก (Classical Structural Functionalism)

2. ทฤษฎีหน้าที่ของการชนชั้น (The Functional Theory of Stratification)

3. สิ่งจำเป็นของหน้าที่ในสังคม (The Functional Prerequisites of Society)

4. ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ของพาร์สัน (Parsons’s Structural Functionalism)

ความสมานฉันท์และความขัดแย้ง (Consensus and Conflict)

ก่อนที่เรียนรู้ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ เราต้องรู้ 2 ศัพท์ คือ

1. ความสมานฉันท์ (Consensus)

2. ความขัดแย้ง (Conflict)

ทฤษฎีสมานฉันท์ มองที่บรรทัดฐานร่วม (Shared Norms and Values) และค่านิยมร่วมว่าเป็นพื้นฐานของสังคม และมองที่ความเป็นระเบียบทางสังคม ขึ้นอยู่กับข้อตกลงโดยอ้อม ๆ(Social Order) และมองการเปลี่ยนแปลงทางสังคมว่า เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และเป็นไปตามแฟชั่น

ทฤษฎีความขัดแย้ง เน้นที่ การมีอิทธิพลต่อกลุ่มคนในสังคม โดยคนอีกกลุ่มหนึ่ง และมองเห็นความเป็นระเบียบของสังคมว่า ขึ้นอยู่กับการใช้กลยุทธ์และควบคุม โดยคนอีกกลุ่มหนึ่ง และมองการเปลี่ยนแปลงทางสังคมว่าเกิดขึ้นโดยอย่างรวดเร็ว และไม่เป็นไปตามแฟชั่น

ทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่ (Structural Functionalism)

คำว่า “โครงสร้างกับหน้าที่” ไม่ต้องใช้รวมกันก็ได้ เราสามารถแยกใช้ต่างกันได้ มาร์ก อับราฮัมสัน ได้ระบุทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ ไว้ 3 ระดับ

1. Individualistic Functionalism (หน้าที่นิยมส่วนบุคคล) = ทฤษฎีนี้เน้นที่ความต้องการผู้กระทำ (Actors) โครงสร้างหน้าที่จึงปรากฏที่หน้าที่ที่สนองตอบต่อความต้องการ

2. Interpersonal Functionalism (หน้าที่นิยมกับผู้อื่น) = ทฤษฎีนี้เน้นที่ความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relationship) โดยกลไกที่ขจัดความตึงเครียดที่มีอยู่ในความสัมพันธ์นั้น ๆ

3. Societal Functionalism (หน้าที่นิยมสังคม) = ทฤษฎีนี้เน้นที่โครงสร้างทางสังคมขนาดใหญ่และสถาบันทางสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างกันและบังคับ ผลของการบังคับต่อผู้กระทำ

ทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่แบบคลาสสิก

นักสังคมวิทยาแบบคลาสสิก 3 ท่าน คือ ออกุสค์ คองต์, เฮอร์เบริต์ สเปนเซอร์ และอีมิล เดอร์คไฮม์ มีอิทธิพลต่อทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่อย่างมาก

คองต์ มีความคิดแบบบรรทัดฐานเกี่ยวกับสังคมที่ดี (Good Society) สังคมที่ดีต้องมีดุลยภาพ (equilibrium) เขานำเสนอทฤษฎีอินทรีย์ทางสังคม (Organism) โดยมองเปรียบเทียบสังคมกับอวัยวะทางร่างกายคล้าย ๆ กัน โดยเฉพาะการทำหน้าที่ เขาจึงเรียกว่า “ทฤษฎีอินทรีย์ทางสังคม” (Social Organism ) เช่น เขาเปรียบเซลส์เหมือนกับครอบครัว และเนื้อเยื่อกับการแบ่งชนชั้นทางสังคม อวัยวะกับเมือง และชุมชน เป็นต้น

สเปนเซอร์ ก็นำหลักอินทรีย์มาใช้เหมือนกัน แต่เขามองที่สังคมทั้งหมด โดยเน้นที่ตัวผู้กระทำเป็นหลัก เขาแบ่งอินทรีย์ไว้เป็น 2 ระดับ คือ

1. สังคม (Social Organism)

2. ปัจเจก (Individual Organism)

ขณะที่ทั้ง 2 อย่างเจริญขึ้น สิ่งที่ไม่เป็นอินทรีย์ไม่เจริญ และยิ่งมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ยิ่งมีความสลับซับซ้อนและแตกต่างยิ่งขึ้น ยิ่งแตกต่าง ยิ่งทำให้หน้าที่แตกต่างไปด้วย และต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ดังนั้น ตัวไหนเปลี่ยนอีกตัวก็เปลี่ยน

เดอร์คไฮม์ ความสนใจของเขาอยู่ที่ Social Organism และการปฏิสัมพันธ์กัน ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความต้องการทางสังคม (Social Need) อันประกอบไปด้วย

1. สาเหตุทางสังคม (Social Cause)

2. หน้าที่ทางสังคม (Social Function)

สาเหตุ เกี่ยวกับว่าเหตุใดจึงมีโครงสร้างอย่างนี้และมีรูปแบบอย่างนี้

หน้าที่ เกี่ยวกับความต้องการการต่อระบบที่ขยายออกไปได้รับการตอบสนอง โดยโครงสร้างที่ให้ไว้หรือไม่



ทฤษฎีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดชนชั้นทางสังคม

ตามความคิดของ Kingley David & Wilbert Moore คิงเลย์ เดวิด และวิลเบริต์ มัวร์ ทั้งสองคิดว่า การจัดชนชั้นทางสังคม (Social Stratification) เป็นสากลและจำเป็นทุกสังคมต้องมีชนชั้น ชนชั้นมาจากเจตจำนงในการทำหน้าที่

1. ในด้านโครงสร้าง มองว่าการจัดชนชั้นได้จัดบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งต่าง ๆ ที่ได้รับความนับถือตาม (ค่านิยม) โดยมีเหตุจูงใจ 2 ประการ

1.1 ปลูกฝังให้บุคคลอยากเข้าสู่ตำแหน่งที่กำหนด

1.2 ทำตามบทบาทในตำแหน่งที่สังคมคาดหวังไว้







ชนชั้น







ดังนั้นการจัดบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งที่เหมาะสมจึงเป็นระบบทางสังคมในทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สิ่งจำเป็นพื้นฐานต่อหน้าที่หลักของสังคม (The Functional Prerequisite of Society ) ในการนิยามหน้าที่พื้นฐาน (Prerequisite) ก่อนเกิดหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ (Action System) มี 4 อย่าง คือ

1. การปรับตัว (Adaptation)

2. การบรรลุเป้าหมาย (Goal Attainment)

3. บูรณาการ (Integration)

4. การธำรงไว้ซึ่งแบบแผน (Pattern Maintenance)

สังคมเกิดจาการต้องการอยู่รวมกันแบบสมานฉันท์ของสมาชิกในสังคม สิ่งที่ทำให้เกิดการสมานฉันท์ที่สมบูรณ์แบบคือ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Potential Communication) หมายถึง ระบบสัญลักษณ์ร่วม (Shared Symbolic systems )โดยผ่านการเรียนรู้ระเบียบทางสังคม (Socialization)

สังคมต้องมีเป้าหมายร่วมกัน ถ้าต่างกันจะเกิดความวุ่นวาย ด้วยเหตุนี้สังคมจำเป็นต้องมีวิธีการในการกำหนดเป้าหมาย โดยใช้ระบบบรรทัดฐาน (Normative System) , ความสำเร็จของบุคคล ถ้าไร้บรรทัดฐานแล้ว สังคมจะไร้ระเบียบและเดือดร้อน

สังคมต้องมีระบบการเรียนรู้ สำหรับคนในสังคมต้องเรียนสิ่งต่างๆ ทั้งสถานภาพในระบบชนชั้น ค่านิยมร่วม จุดหมายที่ยอมรับร่วมกัน การรับรู้ร่วมกัน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก จึงช่วยให้เกิดความร่วมมือและปฏิบัติที่สอดคล้องกับบรรทัดฐาน

สังคมต้องมีมาตรการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ ยอมรับในค่านิยมที่เหมาะสม เขาจะประพฤติอยู่ในกรอบของความถูกต้องดีงาม โดยความสมัครใจ

ทฤษฎีหน้าที่นิยมของทัลคอตต์ พาร์สันส์ (Talcott Parsons’s Structural Functionalism) 4 ประการ ที่จำเป็นต่อระบบต่าง ๆ คือ

1. Adaptation = การปรับตัว ระบบต้องจำเป็นปรับให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ในภายนอก คือ ปรับเข้ากับสิ่งแวดล้อมและความต้องการของสังคม

2. Goal Attainment = การบรรลุเป้าหมาย ระบบจะต้องกำหนดและตอบสนองต่อเป้าหมายหลัก

3. Integration = บูรณาการ ระบบจะต้องกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ และจะต้องจัดการความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่พื้นฐานอื่น ๆ

4. Latency (Pattern Maintenance) ระบบต้องธำรงและพื้นฟู แรงจูงใจของปัจเจกบุคคลและแบบบรรยายทางวัฒนธรรมที่นร้างรักษาแรงจูงใจนั้นไว้

สิ่งจำเป็นพื้นฐานด้านหน้าที่ 4 ประการนี้ จะต้องเกี่ยวข้องระบบการกระทำ (Action system) 4 อย่างคือ

1. อินทรีย์ทางชีววิทยา (Biological Organism) ทำหน้าที่ในการปรับตัว

2. ระบบบุคลิกภาพ (Personality System) ทำหน้าที่ในการบรรลุ

เป้าหมาย

3. ระบบสังคม (Social system) ดูแลเกี่ยวกับการบูรณาการ โดยควบคุม

ส่วนต่าง ๆ

4. ระบบวัฒนธรรม (Cultural system) ทำหน้าที่ในการธำรงแบบแผน โดยกำหนดบรรทัดฐานและค่านิยมแก่ผู้ปฏิบัติ

โครงสร้างระบบการทำหน้าที่หลัก

L I

ระบบวัฒนธรรม ระบบสังคม

อินทรีย์แห่งพฤติกรรม ระบบบุคลิกภาพ

A G



ระบบการระทำ (The Action System)

พาร์สันมีความคิดชัดเจนเกี่ยวกับ “ระดับ” ของความเป็นจริงในสังคม = การชนชั้น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้น ที่ต้องสนองพลังและความต้องการของระบบ ดังนี้

ข่าวสารระดับสูง



ลำดับขั้นของปัจจัยที่เป็นตัวสร้างเงื่อนไข





พลังงานระดับสูง



พาร์สันค้นพบระบบจากความเป็นระเบียบทางสังคม

1. ระบบต่างมีความเป็นระเบียบ เป็นคุณลักษณะและหลายส่วนต้องพึ่งพาอาศัยกัน

2. ระบบมีแนวโน้มไปสู่การมีระเบียบแก่ตัวเอง หรือเรียกว่า “ดุลยภาพ” (Equilibrium)

3. ระบบอาจมีลักษณ์สถิตย์ (Static) หรือเป็นพลวัตร (Change) ก็ได้

4. ส่วนหนึ่งของระบบต้องมีผลกระทบต่อมีส่วนหนึ่งเสนอ

5. ระบบมีขอบเขตภายในสภาพแวดล้อมนั้น

6. การแบ่งสรรและบูรณาการ (จัดการ) เป็นกระบวนการพื้นฐานสำหรับการสร้างดุลยภาพในระบบ

7. ระบบต่างมีแนวโน้มที่รักษาไว้ขอบเขตและความสัมพันธ์ของส่วนร่วมที่มีต่อส่วนรวมและควบคุมความแตกต่าง และการเปลี่ยนแปลงภายในระบบไว้

ระบบสังคม (Social System)

Pansons เริ่มความคิดเกี่ยวกับระบบสังคม ในระดับดุลภาค (Micro Level) ด้วยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเอง (ego) กับผู้อื่น (Alter ego) โดยนิยมว่าระบบหน้าที่

Pansons ระบบสังคมประกอบขึ้นด้วยผู้กระทำมาปฏิสัมพันธ์กันในสถานการณ์ที่มีลักษณะทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมคล้ายคลึงกัน ผู้กระทำถูกจูงใจจากแนวโน้มด้านความพึงพอใจขั้นสูงและพฤติกรรมของพวกเขาเกี่ยวพันกับสถานการณ์นั้น ๆ มันถูกนิยามและสื่อสารในรูปของระบบ โครงสร้างทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ร่วม











ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของทัลค๊อต พาร์สัน



พาร์สัน เริ่มทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ด้วยความจำเป็นทางหน้าที่ 4 ประการ คือ AGIL

AGIL

หน้าที่คือ ภารกิจที่ซับซ้อนที่มุ่งไปสูการตอบสนองต่อความต้องการ หรือสู่ความจำเป็นของระบบ พาร์สัน เชื่อว่า มีหน้าที่ ๆ จำเป็นจริงอยู่ 4 อย่างคือ

1. Adaptation (การปรับตัว) ระบบต้องปรับเข้ากับความจำเป็นเร่งด่วน (ฉุกเฉิน) จากภายนอนสถานการณ์ ต้องปรับเข้ากับสิ่งแวดล้อมและปรับสิ่งแวดล้อมไปสู่ความจำเป็น

2. Goal Attainment (การบรรลุเป้าหมาย) ระบบต้องกำหนดและบรรลุเป้าหมายเบื้องต้น

3. Integration (บูรณาการ) ระบบต้องสร้างระบบความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ขององค์ประกอบต่างๆ คือ ต้องจัดความจำเป็นพื้นฐานทั้ง 3 ตัวคือ AGL ให้สอดคล้องกัน

4. Latency (Pattern Maintenance) การรักษาแบบแผนไว้ ระบบต้องธำรงไว้ รักษา ฟื้นฟู ทั้งการกระตุ้นปัจเจกชน และแบบแผนทางวัฒนธรรม ที่สร้างและสนับสนุนแรงจูงใจนั้น

สิ่งจำเป็นพื้นฐานเหล่านี้ เชื่อมกับระบบอินทรีย์ 4 ประการ คือ

1. ระบบอินทรีย์ทางชีวภาพ (Biological) + ระบบการปรับตัว (Adaptation)

2. ระบบบุคลิกภาพ (Personality System) + การบรรลุเป้าหมาย (Goal Attainment)

3. ระบบทางสังคม (Social System) + บูรณาการ (Integration)

4. ระบบทางวัฒนธรรม (Cultural System) + การรักษาแบบแผน (The Pattern Maintenance)

โครงสร้างของระบบการกระทำหลัก

L I

Cultural System Social System

Biological Organism Personality System

A G

ระบบการกระทำ

ความคิดของพาร์สันชัดเจน่มากในเรื่องของระบบการกระทำซึ่งเราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. ระดับล่าง (A & G) เป็นพื้นฐานสำหรั้บระดับข้างบนนและจำเป็นสำหรับระดับบน

2. ระดับบน (L & I) คอยควบคุมระดับล่างตามลำดับชั้น

ระบบสังคม (Social System) = แนวความคิดของพาร์สันในเรื่อง “ระบบสังคม” เริ่มที่จุดเล็ก ๆ คือ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเรา (Ego) กับผู้อื่น (Atter ego) เขาจึงนิยามคำว่า “Social System” ดังนั้น

“ระบบสังคมประกอบไปด้วยคนหลาย ๆ คน มาปฏิสัมพันธ์กัน ในสถานการณ์อันใดอันหนึ่ง ผู้กระทำได้รับแรงจูงใจในแนวโน้มมีความพึงพอใจสูงสุด ถูกกำหนด และเชื่อมต่อในระบบที่มีสัญลักษณ์ทางมีโครงสร้างวัฒนธรรม และร่วมกันอยู่”

ความหมายของพาร์สัน ประกอบไปด้วยตัวหลัก 5 ตัว คือ

1. Acton = ผู้กระทำ 2. Interaction = การปฏิสัมพันธ์

3. Environment = สภาพแวดล้อม 4. Optimization of gratification = ความพึงพอใจสูงสุด 5. Culture = วัฒนธรรม

สรุปก็คือ ระบบสังคม (Social System)

ระบบสังคม (Social System) คือ การปฏิสัมพันธ์กันทางสังคม ภายในระบบบการปฏิสัมพันธ์นั้น พาร์สันเน้นที่ บทบาทและสถานภาพ เป็นเรื่องใหญ่

สถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งทางโครงสร้างภายในระบบของสังคม

บทบาท หมายถึง สิ่งที่ผู้กระทำ ๆ ตามสถานภาพผู้กระทำ ตามทัศนะของพาร์สัน จึงเป็นส่วนหนึ่งในสถานภาพและบทบาทภายในระบบสังคม

นอกจากนี้แล้ว พาร์สัน ยังสนใจองค์ประกอบของโครงสร้าง ได้แก่ ลักษณะส่วนรวม (Collectivities) บรรทัดฐาน (Norm) ค่านิยม (Values)

พาร์สัน ยังสนใจเกี่ยวกับวิธีที่จะนำโครงสร้างทั้ง 3 ประการข้างต้น ไปสู่ผู้กระทำให้ได้ นั่นคือ กระบวนการ, ขัดเกลาทางสังคม (Socialization) และกระบวนการการปลูกฝัง (Internalization) ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อได้ให้สมาชิกในสังคมได้เกิดความสำนึกต่อสังคม นั่นหน้าที่ของโครงสร้างของบทบาทและค่านิยมสำคัญของระบบทางสังคม

อีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนในสังคมปฏิบัติตามบรรทัดฐานและค่านิยม คือ การควบคุมทางสังคม (Social Control) แต่ควรใช้เพียงเล็กน้อย และในสถานการณ์ที่เหมาะสมเท่านั้น ระบบที่ยืดหยุ่นจะทำให้ระบบแข็งเกร็ง และบูรณาการในตัว

สรุป การขัดเกลาทางสังคมและการควบคุมทางสังคมจึงเป็นกลไก (เครื่องมือ) อย่างดีที่จะทำให้ระบบทางสังคมอยู่ในดุลยภาพ



การขัดเกลาทางสังคม

สังคม กลไก สังคมดุลยภาพ

การควบคุมทางสังคม



ระบบวัฒนธรรม (Cultural System)

พาร์สัน เห็นว่าวัฒนธรรม เป็นพลังยึดเหนี่ยวที่สำคัญของพื้นฐานต่าง ๆ (Element) ของสังคม = ระบบการกระทำ (Social System) มันเชื่อมการปฏิสัมพันธ์กับตัวผู้กระทำ และทำให้บุคลิกภาพและระบบสังคมสัมบูรณ์แบบ ระบบวัฒนธรรมจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมและอยู่ในบรรทัดฐานและค่านิยม

พาร์สัน มองระบบวัฒนธรรมว่าเป็นแบบแผน มีระเบียบทางสัญลักษณ์ มีการปลูกฝังด้านบุคลิกภาพ มีแบบแผนในรูปสถาบัน ในระบบสังคม เช่น มีลักษณะเชิงสัญลักษณ์และจิตพิสัย และมักถูกถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งเสมอ

ระบบวัฒนธรรมสามารถควบคุมระบบการกระทำอีกระบบหนึ่งได้ พาร์สันสรุปว่า มาตรฐานทางศีลธรรมเป็นเทคนิคสมบูรณ์แบบที่เชื่อมประสานของระบบการกระทำ ระบบวัฒนธรรมจึงอยู่เหนือระบบอื่น

ระบบบุคลิกภาพ (Personality System)

ระบบบุคลิกภาพ (Personality System) ถูกควบคุมโดย 3 ระบบ

1. ระบบวัฒนธรรม ผ่านการขัดเกลาทางสังคม

2. ระบบสังคม ผ่านการขัดเกลาทางสังคม

3. องค์ประกอบพื้นฐานของบุคลิกภาพ คือ การแสดงออกซึ่งความต้องการ

บุคลิกภาพจึงถูกนิยามความหมายว่า ระบบที่จัดระเบียบไว้เกี่ยวกับแนวทาง และแรงจูงใจต่อการกระทำของผู้กระทำแต่ละคน และมูลเหตุของการจูงใจต้องการกระทำ = แรงขับ (Drive) แรงขับถูกกำหนดโดยบริบททางสังคม

แรงขับมี 3 ประเภท

1. การแสวงหาความรัก, การยอมรับจาก สังคม

2. ค่านิยมที่ถูกปลูกฝังมา ซึ่งนำผู้กระทำไปสู่มาตรฐานทางวัฒนธรรม

3. การคาดหวังต่อบทบาท นำไปสู่การให้และได้รับการตอบสนองที่เหมาะสม

ระบบอินทรีย์ด้านพฤติกรรม (Behavioral Organism)

ระบบอินทรีย์ด้านพฤติกรรม = ระบบทางกายภาพภายในร่างกาย ซึ่งกลายพลังและพื้นฐานของการกระทำในด้านต่าง ๆ หลงเหลืออยู่ (Residue System)

ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของโรเบริต์ เมอร์ตัน (Robert Merton’s Structural Functionalism)

เมอร์ตัน (Merton) เป็นลูกศิษย์ของพาร์สัน (Parson) เขาแต่งหนังสือชื่อว่า “Toward the codification of Functional Analysis in Sociology” เมอร์ตันวิจารณ์ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ว่า สมมุติฐานของการวิเคราะห์เกี่ยวกับหน้าที่มี 3 ประการคือ

1. สมมุติฐานเกี่ยวกับเอกภาพของหน้าที่ (The Postulate of Functional Unity) = ความเชื่อและการปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นหน้าที่ต่อสังคม เท่ากับมีหน้าที่ต่อปัจเจกชน ความจริงคือถูกสำหรับสังคมเล็ก, ดั้งเดิม แต่ใช้กับสังคมใหญ่ ๆ และสลับซับซ้อนกว่าไม่ได้

2. สมมุติฐานเกี่ยวกับลักษณะสากลของทฤษฎีหน้าที่ (The Postulate of Universal Functionalism) = โครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม ต้องมีหน้าที่เชิงบวก เขาแย้งว่า ในโลกแห่งความจริง มันชัดเจนว่า ไม่ใช่ทุกโครงสร้างที่เป็นอย่างนี้ เช่น ลัทธิชาตินิยม หัวรุนแรง กลับมีหน้าที่เชิงลบ

3. สมมุติฐานว่าความไม่จำเป็น (The Postulate of Indispensability) = ลักษณะของสังคมทั้งหมดจำเป็นต่อสังคม แต่ที่จริงแล้ว ยังมีระบบอื่นในสังคมที่ไม่จำเป็นด้วยก็มี

เมอร์ตัน กล่าวว่า การวิเคราะห์ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ ต้องเน้นที่กลุ่มคน, องค์กร, สังคม, และวัฒนธรรม โดยเปลี่ยนจากวัตถุวิสัยเป็นจิตพิสัย ดังนี้

บทบาททางสังคม (Social Role), แบบแผนของสถานบัน (Institutionlized Patterns), กระบวนการทางสังคม (Social Process) รูปแบบทางวัฒนธรรม (Cultural Patterns) บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) การจัดกลุ่ม (Group Organization) โครงสร้างทางสังคม (Social Structure) และเครื่องมือสำหรับการควบคุมทางสังคม (Devices for Social Control)

เมอร์ตัน คิดว่า นักทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ ควรสนใจที่หน้าที่ของสังคม มากกว่าแรงจูงใจของปัจเจกชน เขาปฏิเสธแรงจูงใจด้านจิตพิสัยของปัจเจกชน ต่อระบบโครงสร้าง – หน้าที่

หน้าที่ ตามนิยามของเมอร์ตัน คือ สิ่งที่เกิดผลซึ่งสร้างไว้สำหรับการปรับตัวกับระบบที่กำหนดไว้ คือ คนมักจะมองหน้าที่แต่ในทางบวก แต่ความเป็นจริงแล้ว หน้าที่ในทางลบก็มีเช่นกัน โครงสร้างหรือสถาบัน อาจจะก่อให้เกิดผลในทางลบต่อสับคมเช่นกัน

นอกจากนี้ เมอร์ตันยังได้เสนอความคิดเรื่อง การไม่มีหน้าที่ (Non - Functions) คือผลที่ไม่เกี่ยวเนื่องระบบที่คิดไว้อยู่ ซึ่งแม้จะมีผลทั้งบวกและลบในอดีต แต่ปัจจุบันมันไม่มีผลแล้ว

เมอร์ตัน ยังคิดพัฒนา Concept เรื่อง Net Balance (ดุลยภาพสุทธิ) = ความเท่าเทียมของทั้ง 2 อย่างให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หน้าที่ควรจะสมดุลยทั้ง 2 ฝ่ายที่กล่าวไป

หน้าที่ 2 ประการของ โรเบริต์ เมอร์ตัน (Robert Merton)

1. หน้าที่ปรากฏชัด (Manifest Function)

2. หน้าที่แอบแฝง (Latent Function)

เช่น ระบบวรรณะ หน้าที่ชัด คือ การแบ่งหน้าที่กันทำ (Division of Labour) และหน้าที่แฝง คือ การกดขี่ทางชนชั้น (Class Exploitation) หน้าที่ทั้ง 2 อย่างนี้ จะเกิดผล 2 อย่างคือ

1. ผลที่ได้ตั้งใจไว้ (Anticipated Consequences)

2. ผลที่ไม่ได้ตั้งใจไว้ (Unanticipated Consequences)

เมอร์ตันถือว่าผลทั้ง 2 สิ่ง มีความหมายทางสังคมวิทยา เมอร์ตันกล่าวอีกว่า โครงสร้างบางส่วนอาจจะก่อให้เกิดผลลบต่อบางส่วนของสังคมก็จริง เช่น การแบ่งแยกยิว เป็นต้น แต่หน้าที่ตัวนี้ยังอยู่ต่อไปได้ เพราะมันยังให้ประโยชน์ต่อส่วนอื่น เช่น คนส่วนใหญ่ เป็นต้น

คาดหวัง

หน้าที่

ไม่ได้คาดหวัง



หน้าที่ คาดหวัง



หน้าที่ ไม่ได้คาดหวัง



สรุป โครงสร้างบางส่วน อาจจะเกิดผลลบก็จริง แต่ยังอยู่ได้เพราะให้ผลประโยชน์กับอีกส่วนหนึ่ง จึงอยู่ได้ เช่น ธุรกิจใต้ดิน เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ในยุคปฏิรูปการศึกษา


ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ในยุคปฏิรูปการศึกษา

  • ภายใต้รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ในยุคของการบริหารจัดการศึกษาไทยในปัจจุบัน ท่ามกลาง กระแส แห่งความเป็น โลกาภิวัฒน ์ (Globalization) ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขการปรับเปลี่ยนการแข่งขัน เพื่อสร้างข้อได้เปรียบ และความมุ่งมั่นของสังคม ที่ดำเนินไป อย่างรวดเร็ว รุนแรง และมีความ หลากหลายนั้น ต่างก็ส่งผลกระทบต่อวงวิชาชีพ โดยเฉพาะด้านการศึกษา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการ ปรับเปลี่ยนบริบท และ โครงสร้างการบริหาร ของการบริหารจัดการศึกษาภายใต้สาระแห่งบทบัญญัต ิของกฎหมายการศึกษา ที่เรียกว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542เป็นการจัด โครงสร้าง การบริหาร การศึกษา โดยยึดหลักของการ มีเอกภาพเชิงนโยบาย หลากหลาย ในการปฏิบัติ โดยเน้นระบบการกระจายอำนาจ และการยึดหลักการมีส่วนร่วม ของท้องถิ่นเป็นสำคัญ
  • สาระสำคัญของ พระราชบัญญัต ิการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 นั้นได้เสนอแนวคิดและ วิธีการจัดการศึกษาที่ท้าทายหลายด้าน จึงเป็นเสมือนกฎหมายปฏิรูปการศึกษา ดังจะเห็นได้ว่าใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินี้ให้ความสำคัญกับการปฎิรูปในด้านต่างๆ คือ ปฏิรูประบบ การศึกษา ให้สอดรับซึ่งกันและกันทั้งระบบ ปฏิรูปแนวการจัดการศึกษาโดยให้ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ปฏิรูปหลักสูตรและเนื้อหาสาระ วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ปฏิรูประบบการบริหา รและการจัดการศึกษาทั้งหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น และเอกชนโดยเน้นเรื่อง การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วม ปฏิรูประบบครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นให้มีการยกระดับสถานภาพของวิชาชีพครู การพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพครู ปฏิรูประบบทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา เพื่อระดมทรัพยากรมาให้เพื่อการศึกษา ปฏิรูประบบประกัน คุณภาพการศึกษา เน้นเรื่องของการประกันคุณภาพภายในและให้มีการรับรองและประเมินผลมาตรฐานจากองค์กรภายนอก และปฏิรูปสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มุ่งให้มีการผลิตใช้สื่อและเทคโนโลยีในรูปแบบที่หลากหลายที่มีคุณภาพ( สำนักนางปฏิรูปการศึกษา 2544 :15-18)
  • การปฏิรูปการศึกษามุ่งให้เกิดคุณภาพทั้งในด้านผลผลิต กระบวนการจัดการ และปัจจัยต่างๆ โดยมุ่งหวังให้การจัดการศึกษา พัฒนาทั้งระบบ ( Whole School Approach : WSA) บุคคลที่มี ความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ก็คือ ผู้บริหารสถานศึกษา เพราะต้อง เป็นผู้นำและผู้ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ยที่มีความสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการเรียน การสอน และการเรียนรู้ รวมทั้งประสานสัมพันธ์ ระดมและจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ( สุพล วังสินธ์. 2545 : 29) ผู้บริหารสถานศึกษาจึงเปรียบได้ว่าเป็นจอมทัพสำคัญที่จะนำพาองค์กรให้ก้าวไปในกระแสแห่งการปฏิรูปได้อย่างมีเกียรและศักดิ์ศรี ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางบริบท (Context) หลากหลายส่วนนั้น น่าจะเปรียบได้กับผู้บริหารมืออาชีพ จึงจะเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันที่จะทำหน้าที่สำคัญให้ไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์โดยการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติที่แสดงให้เห็นศักยภาพ คุณภาพ เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการศึกษาภายในสถานศึกษาแห่งนั้น

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา

ผู้บริหารหรือผู้นำหรือผู้จัดองค์การ หรือหัวหน้างาน ไม่ว่าหน่วยงานเล็กหรือหน่วยงานใหญ่ หน่วยงาน ราชการหรือเอกชนก็ตาม ย่อมมีบทบาทที่เป็นผลต่อการสำเร็จหรือประสิทธิภาพของงานเป็นอย่างยิ่ง บางครั้ง การจัดองค์การ แม้จะไม่เรียบร้อยถูกต้องอยู่บ้าง ก็อาจได้รับผลงานสูงได้ หากผู้บริหารมีคุณลักษณะที่ดี แต่ถ้าคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมในการนำของผู้บริหารไม่ดี แม้การจัดองค์การถูกต้อง หรือดีเพียงใดก็ตาม ผลงาที่เกิดขึ้นของหน่วยงานนั้นๆ ย่อมสมบูรณ์ได้ยาก ดังนั้นผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติเหมาะสม มีพฤติกรรม ในการนำที่ถูกต้อง เหมาะสมเพราะความสำเร็จของงานทุกด้านขององค์การ ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร หรือผู้นำ ซึ่งจะวินิจฉัยสั่งการ หรือตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อให้งานเกิดประสิทธิภาพ ซึ่งคุณลักษณะ ที่พึงประสงค ์ของผู้บริหารหรือผู้นำนั้น ควรที่จะประกอบด้วยเรื่องที่สำคัญ ได้แก่ คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ คุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำ คุณลักษณะด้านความรู้ทางวิชาการ และ คุณลักษณะด้านความสามารถในการบริหาร
1. คุณลักษณะด้านบุคลิกลักษณะ
อรุณ รักธรรม (2527 : 198-202) ได้กล่าวถึงบุคลิกภาพของผู้นำหรือผู้บริหารที่ดี
  • 1. เป็นผู้มีความรู้
  • 2. เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  • 3. เป็นผู้มีความกล้าหาร
  • 4. เป็นผู้มีความเด็ดขาด
  • 5. เป็นผู้มีความแนบเนียน มีกิริยาวาจาที่ถูกต้องเหมาะสม
  • 6. เป็นผู้มีความยุติธรรม
  • 7. เป็นผู้มีลักษณะท่าทางการแสดงออกที่ดี
  • 8. เป็นผู้ที่มีความอดทน
  • 9. เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น
  • 10. เป็นผู้ที่ไม่เห็นแก่ตัว
  • 11. เป็นผู้มีความตื่นตัวหรือระมัดระวังอยู่เสมอ
  • 12. เป็นผู้มีความพินิจพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างมีเหตุผล
  • 13. เป็นผู้มีความสงบเสงี่ยม
  • 14. เป็นผู้มีความสงรักภักดี
  • 15. เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
  • 16. เป็นผู้มีความสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี
2. คุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำ
  • 1. ความมีชีวิตชีวาและทนทาน (Vitality and Endurance) จะต้องมีความคล่อง แคล่วว่องไว ตื่นตัวอยู่เสมอ พร้อมอยู่เสมอที่จะรับสถานการณ์ทุกชนิด ปรับตัวได้ เปลี่ยนแปลงได้ และร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ มีความอดทนต่อการทำงานหนักและนานๆ ทนต่อความลำบากเจ็บช้ำได้ โดยไม่ปริปาก หรือแสดงอาการ ท้อแท ้ให้พบเห็น
  • 2. ความสามารถในการตัดสินใจ (Decisiveness) จะต้องตัดสินใจถูกต้อง ตัดสินใจ ได้เร็ว และเต็มใจเสมอ ที่จะเป็น ผู้ตัดสินใจด้วยตัวเอง ในเมื่อมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น
  • 3. ความสามารถในการจูงใจคน (Persuasiveness) ผู้นำที่สามารถชักจูงให้ผู้อื่นร่วม มือกับตน ได้เท่านั้น ที่จะได้รับความสำเร็จ
  • 4. ความรับผิดชอบ (Respensibility)
  • 5. ความฉลาดไหวพริบ (Intellectual Capacity) ความฉลาดไหวพริบจำเป็นที่สุด สำหรับผู้บริหาร หรือผู้นำ ที่จะใช้ในการบริหารงาน หรือใช้ในการวินิจฉัยสั่งการ
3. คุณลักษณะด้านความรู้ทางวิชาการ
ความรู้ทางวิชาการได้แก่ การศึกษาวิชาการทั่วไป การศึกษาด้านวิชาชีพ และการศึกษา ให้เกิด ความรอบรู้ เชี่ยวชาญในแขนงวิชาที่คนสนใจ สำหรับใช้จัดระดับความรู้ และประสบการณ์ ในการทำงานของบุคคลที่มาทำงาน ในการเป็นผู้บริหาร
4. คุณลักษณะด้านความสามารถในการบริหาร
  • 1.ใช้แผนเป็นเครื่องมือในการบริหารโรงเรียน อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัด ระบบข้อมูลสารสนเทศให้ถูกต้อง การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน การมอบหมายงานให้บุคลากรทำตามความรู้ความสามารถ การควบคุม กำกับ ติดตาม นิเทศงาน
  • 2. สนับสนุนให้บุคลากรเกิดความมุ่งมั่นในการพัฒนา ได้แก่ การส่งเสริมให้ บุคลากรพัฒนาตนเองและพัฒนางาน การจัดสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวก และประโยชน์ ตอบแทน
  • 3. จัดกิจกรรมหลากหลายเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่ การจัดกิจกรรม ทางวิชาการ การจัดบริการแนะแนว บริการสุขภาพ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้มีบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้
  • 4. ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อพัฒนางาน
  • 5. ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงาน อย่างต่อเนื่อง ใช้วิธีการที่หลากหลาย ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม นำผลการประเมินไปนิเทศ และพัฒนางานการบริหารเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา
ปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างการเรียนรู้ในโรงเรียน คือ ระบบการบริหารจัดการที่มี ประสิทธิภาพ และการมีส่วนร่วม ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปในการศึกษาจึงต้องมีศาสตร์และ ศิลป ์ในการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่จะทำให้การบริหารจัดการศึษาบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เมื่อกล่าวถึงคุณลักษณะ ของนักบริหารดูเหมือนจะมีการกล่าวไว้มากมาย ซึ่งมีทั้งทัศนะส่วนตัว ที่เกิดจาก ประสบการณ์ ในการเป็นผู้บริหารมาและผลจากการศึกษาและวิจัยของนักวิชาการซึ่งมีทั้งของไทยและต่างประเทศ
บุรัญชัย จงกลนี ( ม . ป . ป . : 11-12) กล่าวถึงคุณลักษณะของนักบริหารที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
  • 1. เฉลียวฉลาด แต่ไม่อวดฉลาด
  • 2. มีความสามารถรอบด้าน (Well rounder)
  • 3. มีพลังผลักดันภายใน (Inner drive) ให้กระตือรือร้นอยู่เสมอ
  • 4. ทำตนให้เป็นที่เชื่อถือ (Integrity)
  • 5. กล้าหาญทั้งกายและใจ (Courage physically and morally)
  • 6. มีความคิดริเริ่ม (Innitiative)
  • 7. รู้จักวิธีส่งเสริมและบำรุงขวัญผู้ใต้บังคับบัญชา
  • 8. การเสียสละปราศจากการเห็นแก่ตัว
  • 9. มีความยุติธรรม (Justice)
  • 10. วางตัวดี (Bearing)
  • 11. กระตุ้นให้ผู้น้อยมีความภูมิใจในงานของตน
  • 12. ให้เกียรติในผลงานที่ผู้น้อยได้ปฏิบัติ
  • 13. ปฏิบัติงานอย่างเป็นทีม ให้ทำงานแทนกันได้
  • 14. ใช้ผู้ใต้บังคับบัญชาให้เหมาะสมกับความสามารถ และมีการพัฒนาฝีมือผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอ
จากการรายงานการประชุมระดับชาติ (Nation Conference of Professors of Educational Administration
( อ้างใน . บุรัญชัย จงกลนี . ม . ป . ป . : 14-15) เมื่อปี ค . ศ . 1951 ได้มีการประมวลปรัชญา ของการบริหาร การศึกษา ไว้ว่า
  • 1. ผู้บริหารต้องใช้ความฉลาด ไหวพริบมาแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่สำคัญในการบริหาร (Application of intelligence to life problems)
  • 2. ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้บุคคลจำนวนมาก หรือบุคคลหลายๆ คนเข้ามามีส่วนร่วม ในการกระทำ โดยไม่ทำงานตามลำพัง (Necessity of social group action)
  • 3. ผู้บริหารต้องเคารพความเป็นคนของแต่ละคน และจะต้องให้ความยอมรับนับถือใน ความเห็น ธรรมชาติ และความสามารถของผู้อื่น (Respect of the individual)
  • 4. ผู้บริหารต้องยึดเป้าหมาย หรือจุดประสงค์ของการศึกษาเป็นหลัก การบริหารการศึกษา จะไม่มีความหมายถ้าขาดเป้าหมายดังกล่าว นอกจากนี้ผู้บริหารจะต้องถือว่า เป้าหมายหรือจุดประสงค์ของ การศึกษาย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเหมาะสมกับสภาพ ของสังคม ในฐานะผู้นำผู้บริหาร จะต้องปรับปรุงการศึกษา ให้เหมาะสมกับสภาพ สังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (Function Social Organization)
  • 5. ผู้บริหารจะต้องถือว่าตนเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่ประสานประโยชน์ ซึ่งเข้ามาให้บริการ แก่บุคคลอื่นทุกๆ คน ในการที่จะช่วยให้เขาดำเนินงานต่างๆ ในการให้การศึกษาให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพที่สุด (Administrator as group instrument)
  • 6. ผู้บริหารจะต้องเปิดโอกาสให้บุคคลทั้งหลายมาทำความเข้าใจกันได้ทุกเมื่อและรับฟังความคิดเห็น ของบุคคล ทุกคนในวงการศึกษาและในชุมชนที่สถานศึกษาตั้งอยู่ (Freedom of Communication)
  • 7. ผู้บริหารจะต้องถือว่าตนเองเป็นผู้นำ มิใช่เจ้านายผู้ทรงอำนาจ (Administrator as a leader)
  • 8. ผู้บริหารต้องถือว่าตนเองคือ นักการศึกษา ผู้ยึดมั่นในปรัชญาของการศึกษา จึงต้องปฏิบัติและ วางตนอย่างนักการศึกษา (Administrator as an educator)
  • 9. ผู้บริหารจะต้องเสียสละทุกอย่างเพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชน และเพื่อให้สังคมดี ขึ้นทุกๆ ทาง (Dedication of pubic education to community betterment)
  • 10. ผู้บริหารจะต้องประสานงานประสานน้ำใจ ระหว่างชาวบ้านกับสถานศึกษาในการดำเนินงาน การศึกษา (School community integration in education)
  • 11. ผู้บริหารจะต้องประเมินผลงานตนเองอยู่เสมอ การประเมินจะต้องทำทั้งสองอย่าง คือ ประเมินวิธีการ หรือกระบวนการทำงานพร้อมๆ กันไปกับการประเมินการปฏิบัติงาน เพราะการทำงาน จะมุ่งเอาแต่ผลอย่างเดียวไม่ได้ วิธีการก็จำเป็น (Two fold evaluation of Administration means and ends)
  • 12. ผู้บริหารจะต้องเคารพในวิชาชีพของการบริหาร และมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ จะไม่ทำความเสื่อมเสีย ให้ผู้คนเหยียดหยามวิชาชีพของนักบริหาร (Professional integrity and responsibility)
  • 13. ผู้บริหารจะต้องขวนขวายหาความรู้ใส่ตนอยู่เสมอ และแสวงหาความชำนาญ ทุกวิธีทาง เพื่อให้การบริหารงานของตนเองทันสมัย (Necessity for professional growth)
คุณสมบัติทั้ง 13 ประการนี้ เป็นแนวทางแห่งความเชื่อหรือปรัชญาของนักการบริหารที่พึงมี อันเป็นวิถี หรือแนวทางที่ผู้บริหารพึงยึดถือในการบริหารงาน ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นการยากที่จะปฏิบัติได้ครบถ้วน แต่การที่ได้ทราบไว้ก็จะเป็นประโยชน์ ให้แก่นักบริหาร ที่จะสามารถหยิบยกเอามาประยุกต์ ใช้ให้เหมาะสมกับงาน ของนักบริหาร ซึ่งแตกต่างกันออกไปของแต่ละคนได้
สุรศักดิ์ ปาเฮ (2543 : 72-73) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ ในยุคปฏิรูปการศึกษา ที่มีการเปลี่ยนแปลงบริบทต่างๆ ไปอย่างมากมายในปัจจุบัน ว่าควรมีลักษณะพื้นฐานที่สำคัญ ดังนี้
  • 1. มองกว้างไกลอย่างต่อเนื่องและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ (Vission) สามารถที่จะกำหนดกลยุทธ์ในการบริหาร (Strategic Management)
  • 2. สามารถที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ (Analyze Situation) เพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์และ แผนปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายและนโยบายได้อย่างเหมาะสม
  • 3. ไวต่อการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งสังคมภายนอกและภายในองค์กร ทั้งในและนอกเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งรู้จักวิเคราะห์ความเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาอีกด้วย
  • 4. ความสามารถในการจัดระบบการสื่อสารให้ได้ผล (Effective Communication) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้ทั่วถึงทุกระดับขององค์กร หน่วยงาน / สถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี สารสนเทศ (It) เป็นอย่างดี
  • 5. ความสามารถในการบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resources Management) ต้องสามารถวางแผนบุคคล สรรหา คัดเลือก กำหนดระบบงบประมาณ ความก้าวหน้าในอาชีพ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อให้ทราบแนวคิด ทัศนคติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น และนำมาเป็นข้อมูล ในการบริหารทรัพยากรบุคคล
  • 6. มีคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหาร สามารถที่จะเป็นแบบอย่างที่ดี ในการประพฤติปฏิบัติเพื่อ ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาใช้เป็นแบบอย่าง ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่การงาน แสวงหาผลประโยชน์ ให้ตนเองไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม
เช่นเดียวกับ ถวิล อรัญเวศ (2544 : 17 18) ได้ให้ทรรศนะนักบริหารมืออาชีพว่าควรจะมีลักษณะดังนี้
  • 1. กล้าตัดสินใจ การตัดสินใจเป็นคุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของนักบริหาร นักบริหารมืออาชีพ ต้องมีข้อมูลที่เพียงพอในการตัดสินใจหรือวินัจฉัยสั่งการ เป็นคนที่สุขุมรอบคอบ มีเหตุมีผลในการตัดสินใจ
  • 2. ไวต่อข้อมูล นักบริหารมืออาชีพ จำเป็นต้องเป็นคนที่ทันสมัย ไวต่อข้อมูลหรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ฉะนั้นจำเป็นต้องเป็นผู้ที่ติดตามข่าวสารต่างๆ อยู่เสมอ
  • 3. เพิ่มพูนวิสัยทัศน์ นักบริหารมืออาชีพจะต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล สามารถมองเห็นภาพ ในอนาคตและแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี
  • 4. ซื่อสัตย์และสร้างสรรค์ผลงาน คือ จะต้องเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีการสร้างสรรค ์ผลงาน ให้ปรากฏต่อสายตาเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ
  • 5. ประสานสิบทิศ นักบริหารมืออาชีพจำต้องเป็นบุคคลที่สามารถประสานงานกับ หน่วยงาน หรือบุคคลต่างๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถไกล่เกลี่ยข้อกรณีพิพาทได้ และสามารถ ขจัดปัดเป่าปัญหา ต่างๆ ในหน่วยงานได้
  • 6. คิดสร้างสรรค์วิธีการทำงานใหม่ๆ จะต้องคิดหาวิธีการทำงานแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ
  • 7. จูงใจเพื่อร่วมงาน จำเป็นต้องมีบุคคลที่สามารถโน้มน้าวหรือจูงใจเพื่อนร่วมงาน ให้เกิดความกระตือรือร้น ในการทำงาน และมีความรับผิดชอบต่องานสูง ประเมินผล การปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม รู้จักให้การชมเชย ให้รางวัลหรือบำเหน็จ ความชอบ
  • 8. ทนทานต่อปัญหาและอุปสรรค จะต้องมีความอดทนอดกลั้นต่อปัญหาอุปสรรคที่กำลังเผชิญ และพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อการแก้ไขปัญหาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยอย่างสันติสุข ไม่หนีปัญหา และไม่หมักหมมปัญหาไว้
  • 9. รู้จักยืดหยุ่นตามเหตุการณ์ นักบริหารมืออาชีพจะต้องรู้จักยืดหยุ่น และอ่อนตัวตามเหตุการณ์นั้นๆ ไม่ตึงเกินไปหรือไม่หย่อนเกินไป บางครั้งก็ต้องดำเนินการในสายกลาง แต่ในบางครั้งต้องมี ความเด็ดขาด
  • 10. บริหารงานแบบมีส่วนร่วม จะต้องบริหารงานแบบให้ทีมงานมีส่วนร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ และร่วมรับผิดชอบ
สมบัติ บุญประเคน (2544 : 20 21) ได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหาร ในยุคปฏิรูปการศึกษาไว้ว่า แบบผู้บริหารในยุคปฏิรูปการศึกษาจะต้องประกอบด้วย 6 ป สรุปได้ดังนี้
  • 1. ปฏิรูป การทำงานของผู้บริหารแบบนี้จะเป็นนักคิด นักพัฒนา ปรับเปลี่ยนหน่วยงาน และพัฒนางานตลอดเวลา การดำเนินงานต้องทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ได้ ผู้ใต้บังคับบัญชา จะต้องกระตือรือร้นในการทำงานอยู่เสมอ
  • 2. ประชาธิปไตย เป็นการบริหารงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้บังคับบัญชาจะต้องพบกันครึ่งทาง หาแนวทางที่พึงประสงค์ให้ได้ ผู้บริหารจะต้องตัดสินปัญหาที่ไม่มีทางออกให้ได้ ผู้บริหารจะต้องมีบุคลิกภาพ และการทำงานเป็นประชาธิปไตย จึงจะเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงาน
  • 3. ประสาน เป็นลักษณะของผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพมาก ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี การทำงานจะคำนึงถึงผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ รู้จักใช้ความสามารถ ของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด มีความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาดีมาก ให้เกียรติปูนบำเหน็จรางวัล และยกย่องอย่างสมศักดิ์ศรี ไม่แย่งเอาผลงานของผู้ใต้บังคับบัญชา
  • 4. ประนีประนอม บุคลิกลักษณะของผู้บริหารแบบนี้ จะพยายามไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความขัดแย้ง ในหน่วยงาน จะอะลุ่มอล่วยตลอดเวลา สิ่งใดที่พอยอมได้ก็จะยอม ไม่ติดใจกับปัญหา
  • 5. ประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารลักษณะนี้จะมีบุคลิกที่ว่าจะทำอะไร จะพูดที่ไหนจะเป็นเรื่องสำคัญทุกเรื่อง มีความสามารถในการโน้มน้าวจูงใจสูง มีมนุษยสัมพันธ์ดี การทำงานจะสนับสนุน ให้ทุกคนทำรายงาน และ นำรายงานมาประชาสัมพันธ์
  • 6. ประชาสงเคราะห์ ผู้บริหารลักษณะนี้จะให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมงานทุกเรื่อง เป็นห่วงเป็นใยตลอดเวลา จะประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อขอความช่วยเหลือผู้ร่วมงาน การพัฒนาบุคลากรจะพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ทุกคนมีความก้าวหน้าในอาชีพ และครอบครัวอยู่เสมอ มีการให้อภัยเพื่อนร่วมงาน ไม่มีการตักเตือนอย่างรุนแรง ผู้ร่วมงานจะมีความสุขมากในการทำงาน เป็นกัลยาณมิตรกับทุกคน
จากที่กล่าวมาเบื้องต้นนั้น สอดคล้องกับผลการวิจัยบางชิ้นงานที่สรุปและจำแนกถึง คุณลักษณะ ของผู้บริหารที่ส่งผลสำเร็จ ต่อการบริหารการศึกษาอย่างมืออาชีพ สามารถจำแนกได้เป็น 10 ประการ ได้แก่ ( สุรศักดิ์ ปาเฮ . 2543 : 72 73)
  • 1. มีความพร้อมทางด้านข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ (Command of Basic Facts) ต้องรู้ความเคลื่อนไหว ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและนอกองค์กร โดยมีข้อมูลและสารสนเทศ ช่วยในการดำเนินการ และบริหารงาน ให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  • 2. มีความรู้ทางวิชาชีพ (Relevant Professional Knowledge) เป็นความรู้ที่รวมถึงความรู้ทางเทคนิค เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ทางการบริหาร เช่น หลักการทฤษฎีการบริหาร การวางแผน การจัดองค์กร หลักสูตร การสอน การวัดผลประเมินผล เหล่านี้เป็นต้น
  • 3. มีความรู้เท่าทันในสถานการณ์ (Continuing Sensitivity to Events) สามารถปรับตัวและสนอง ได้ฉับไวและต่อเนื่องกับสถานการณ์รอบด้าน และดำเนินบทบาทได้อย่าง เหมาะสม รวดเร็ว และเข้าใจความรู้สึกของคนรอบข้าง
  • 4. มีทักษะในการเข้าสังคม (Social Skills and Abilities) โดยการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น การสื่อสาร การกระจายอำนาจ การเจรจาต่อรอง การมอบหมายงาน การสมาคม การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ให้เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์กร
  • 5. มีทักษะในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และการตัดสินใจ (Analytical , Problem Solving , Decision Making Skills) อาศัยหลักตรรกศาสตร์ การใช้เหตุผลและ วิจารณญาณเข้าช่วย เพื่อรักษาความสมดุล ให้เกิดขึ้นทุกๆ ด้านในองค์กร
  • 6. การควบคุมอารมณ์ (Emotion Resilience) ผู้บริหารต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง มั่นคงในอารมณ์ ไม่หวั่นไหวง่าย จะต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกมีจิตระลึกเสมอ และแสดงออก ได้อย่างเหมาะสม
  • 7. มีพฤติกรรมกล้าเสี่ยง (Pro activity inclination to Respond Purposefully to events) ผู้บริหารการศึกษา มืออาชีพต้องมองงานได้อย่างทะลุปรุโปร่ง รู้ระบบการทำงานอย่างดี รู้ภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบ ทั้งตนเองและสมาชิกในองค์กร และรู้รับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ คำนึงถึงผลประโยชน์ระยะยาว และเป้าหมายโดยรวม
  • 8. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity) ริเริ่มโครงการใหม่ๆ และทำให้สำเร็จ เป็นที่ยอมรับ ของบุคคลทั่วไป ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นวิธีการที่เกิดการยอมรับว่าเป็นแนวคิดที่ดี มีความละเอียดรอบคอบ และยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม
  • 9. มีความรู้สึกไวต่อบุคคลอื่น (Mental Agility) เกี่ยวข้องกับระดับสติปัญญา สามารถค้นหาทางเลือก ได้หลากหลายเพื่อการแก้ไขปัญหา รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้เกียรติและสนใจในความรู้สึก ของคนอื่น
  • 10. มีความรู้และฝึกฝนการเรียน (Balanced Leaning Habits and Skills) ต้องรู้ว่าจะรู้ต้องรู้อะไร และต้องรู้ให้จริง ต้องคิดเป็นคิดได้ และสามารถบูรณาการความรู้ได้ ประยุกต์ ใช้ได้ สามารถสร้างทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์ ได้จากการปฏิบัติงาน สามารถพัฒนางานวิชาการ และรูปแบบวิธีการจากทฤษฎีได้
สุพล วังสินธ์ (2545 : 29 30) ได้สรุปคุณลักษณะที่สำคัญของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา ไว้ว่า
  • 1. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
  • 2. มีบุคลิกภาพประชาธิปไตย ใช้หลักเหตุผลในการบริหารงาน
  • 3. มีจิตสำนึกในความมุ่งมั่น
  • 4. ใจกว้าง เปิดโอกาสให้ครูมีเสรีภาพในการคิด
  • 5. ปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ให้เกิดตามเป้าหมายของการจัดการศึกษา
  • 6. มีศักยภาพในการจัดการระบบบริหารโรงเรียน โดยการนำระบบคุณธรรมมาใช้ใน โรงเรียน
  • 7. สร้างขวัญกำลังใจให้ครู มีกำลังใจที่จะเป็นครูดี ครูเก่ง ครูที่ปรึกษา ( Mentor)
บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปการศึกษา บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ พอสรุป ได้ดังนี้
  • 1. เป็นผู้นำในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของครูและ นักเรียน
  • 2. เป็นผู้นำในการบริหาร โดยยึดแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
  • 3. เป็นผู้นำด้านการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้
  • 4. เป็นผู้นำในการพัฒนาวิชาการ
  • 5. เป็นผู้ประสานความร่วมมือกับชุมชน
  • 6. เป็นผู้นำในการบริหารงานแบบประชาธิปไตย โดยร่วมกันทำงานเป็นทีม และส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม อย่างแข็งขัน
  • 7. เป็นผู้นำในการจัดการศึกษา และเป็นเอกลักษณ์ขององค์กรในทางสร้างสรรค์
  • 8. เป็นผู้นำในการบริหารคุณภาพ โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ลงมือทำและรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • 9. เป็นผู้สร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในการเรียนรู้และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
  • 10. เป็นผู้นำในการจัดหางบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีการบริหารที่ใช้โรงเรียนฐาน (SBM : School Based Management) ประกอบด้วยเกณฑ์ต่อไปนี้ ( ธีระ รุญเจริญ . อัดสำเนา )
  • 1. การเป็นผู้นำทางวิชาการ
  • 2. การบริหารแบบมีส่วนร่วม
  • 3. การเป็นผู้อำนวยความสะดวก
  • 4. การประสานความสัมพันธ์
  • 5. การส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากร
  • 6. การสร้างแรงจูงใจ
  • 7. การประเมินภายในและประเมินภายนอก
  • 8. การส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย พัฒนา
  • 9. การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์
  • 10. การส่งเสริมเทคโนโลยี
3. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ตามมาตรา 39 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ . ศ . 2542 ที่ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารจัดการ ไปยังคณะกรรมการ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง ใน 4 ด้าน คือ ด้านวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไป สรุปพอสังเขปได้ดังนี้ ( สำนักงานปฏิรูปการศึกษา . 2543 : 82 84)
ด้านวิชาการ
  • 1. มีความรู้และเป็นผู้นำด้านวิชาการ
  • 2. มีความรู้ มีทักษะ มีประสบการณ์ด้านการบริหารงาน
  • 3. สามารถใช้ความรู้และประสบการณ์แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที
  • 4. มีวิสัยทัศน์
  • 5. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  • 6. ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ มุ่งพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
  • 7. รอบรู้ทางด้านการศึกษา
  • 8. ความรับผิดชอบ
  • 9. แสวงหาข้อมูลข่าวสาร
  • 10. รายงานผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
  • 11. ใช้นวัตกรรมทางการบริหาร
  • 12. คำนึงถึงมาตรฐานวิชาการ
การบริหารงบประมาณ
  • 1. เข้าใจนโยบาย อำนาจหน้าที่ และกิจกรรมในหน่วยงาน
  • 2. มีความรู้ระบบงบประมาณ
  • 3. เข้าใจระเบียบคลัง วัสดุ การเงิน
  • 4. มีความซื่อสัตย์ สุจริต
  • 5. มีความละเอียดรอบคอบ
  • 6. มีความสามารถในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
  • 7. หมั่นตรวจสอบการใช้งบประมาณอยู่เสมอ
  • 8. รายงานการเงินอย่างเป็นระบบ
การบริหารงานบุคคล
  • 1. มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ในการบริหารงานบุคคล
  • 2. เป็นแบบอย่างที่ดี
  • 3. มีมนุษยสัมพันธ์
  • 4. มีอารมณ์ขัน
  • 5. เป็นนักประชาธิปไตย
  • 6. ประนีประนอม
  • 7. อดทน อดกลั้น
  • 8. เป็นนักพูดที่ดี
  • 9. มีความสามารถในการประสานงาน
  • 10. มีความสามารถจูงใจให้คนร่วมกันทำงาน
  • 11. กล้าตัดสินใจ
  • 12. มุ่งมั่นพัฒนาองค์กร
การบริหารทั่วไป
  • 1. เป็นนักวางแผนและกำหนดนโยบายที่ดี
  • 2. เป็นผู้ที่ตัดสินใจและวินิจฉัยสั่งการที่ดี
  • 3. มีความรู้ และบริหารโดยใช้ระบบสารสนเทศที่ทันสมัย
  • 4. เป็นผู้ที่มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร
  • 5. รู้จักมอบอำนาจและความรับผิดชอบแก่ผู้ที่เหมาะสม
  • 6. มีความคล่องแคล่ว ว่องไว และตื่นตัวอยู่เสมอ
  • 7. มีความรับผิดชอบงานสูง ไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรค
  • 8. กำกับ ติดตาม และประเมินผล
4. บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียน เป็นการให้หลักฐานข้อมูลแก่ประชาชนว่า บุคลากรในโรงเรียนทำงานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียน และสาธารณชนมั่นใจในคุณภาพของนักเรียน ดังนั้น โรงเรียนต้องจัด ให้มีระบบประกันคุณภาพภายใน และให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่กล่าวถึงที่ยังเป็นผลให้เกิดการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ที่จะต้องบริหารแบบมีส่วนร่วม มีลักษณะของผู้นำแบบประชาธิปไตย จะให้ความสำคัญ ให้เกียรติและเคารพ ในศักดิ์ศรีของผู้ร่วมงาน ยอมรับและเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานแสดงความคิดเห็นร่วมแก้ปัญหาและร่วมตัดสินใจ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มีความเชื่อมั่น เห็นคุณค่าของตนเองและผู้ร่วมงาน ซื่อสัตย์ จริงใจ มีความสามารถกระตุ้น และจูงใจให้เกิดความรักและความผูกพันในโรงเรียน
ดังนั้น การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลง บทบาทของตนเองโดยการใช้หลักการบริหารคุณภาพที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมคิดร่วมตัดสินใจ โรงเรียนสร้างทีมงาน ซึ่งมีความสำคัญต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management : SBM)
ปัจจัยเสริมสร้างความเป็นนักบริหารมืออาชีพ
นอกจากคุณลักษณะและบทบาทที่สำคัญของการเป็นนักผู้บริหารการศึกษามืออาชีพดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีปัจจัยเสริมบางประการที่จะเป็นตัวชี้วัด (Indicators) สำคัญของการเป็นผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ ได้อย่างสง่างาม เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายต่อการปฏิบัติภารกิจตามบทบาท หน้าที่เชิงบริหารจัดการศึกษา ในสถานศึกษา ปัจจัยบ่งบอกความสำคัญเหล่านี้ ได้แก่
  • 1. คุณวุฒิด้านการศึกษา เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญจะต้องมี กล่าวคือ ต้องมีคุณวุฒิด้านการศึกษา ตรงตามคุณสมบัติ ที่กำหนดในกฎหมายวิชาชีพ โดยเฉพาะในยุคปฏิรูปการศึกษาที่ต้องการมืออาชีพทางการบริหาร บุคคลเหล่านี้ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาตรี โท เอก ด้านการศึกษาเป็นสำคัญ
  • 2. ประสบการณ์การปฏิบัติงาน ต้องมีประสบการณ์สั่งสมในการปฏิบัติงานที่ผ่านมา โดยเฉพาะ ประสบการณ ์ด้านการบริหารทางการศึกษาในองค์กรทางการศึกษาระดับต่างๆ ในตำแหน่งทาง การบริหารการศึกษา ที่ได้ดำเนินบทบาทภารกิจตามสายงานที่กำหนดไว้
  • 3. ประสบการณ์การฝึกอบรม ศึกษา ดูงาน ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพต้องได้รับการเพิ่มพูน ประสบการณ์ ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ การศึกษาดูงานจากแหล่งวิทยาการความรู้ สามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 4. การสร้างผลงานทางวิชาการ เป็นองค์ประกอบของการสร้างนักบริหารการศึกษาก้าวสู่มืออาชีพ โดยมีผลงานทางวิชาการเป็นเครื่องมือยืนยันถึงศักยภาพดังกล่าว ผลงานสามารถจัดกระทำได้หลายรูปแบบ ทั้งด้านการวิเคราะห์งานวิจัย การเขียนและเรียบเรียงเอกสารทางวิชาการ การเขียนบทความ ตำรา ฯลฯ ออกเผยแพร่แก่หน่วยงานอื่นๆ ให้แพร่หลายทั่วถึง รวมทั้งการเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 5. ผลงานดีเด่นที่สั่งสมไว้ผลสำเร็จจากการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ อาจดูจากหลักฐาน ที่เป็นผลงานที่สั่งสมไว้ จนเป็นที่ประจักษ์แก่ชุมชน สังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
  • 6. ลักษณะเฉพาะของเอกัตบุคคล เป็นลักษณะเฉพาะตัว (Character) ที่นักบริหารการศึกษามืออาชีพ ควรเสริมสร้างให้บังเกิดขึ้น ได้แก่
  • 1. มีบุคลิกที่ดี สง่างาม น่านับถือ
  • 2. มีความขยันหมั่นเพียร สัมมาอาชีพ
  • 3. มีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อตนเอง ครอบครัว หน่วยงาน
  • 4. มีความซื่อสัตย์ สุจริต
  • 5. ตรงต่อเวลา บริหารเวลาได้ดี
  • 6. กระตือรือร้นในการทำงาน
  • 7. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  • 8. รักษาระเบียบวินัยได้ดี เป็นแบบอย่างที่ดี
สรุป
  • ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา จะต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหาร จัดการ มีวิสัยทัศน์ในการบริหารการศึกษาให้ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลง มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์เป็นที่ยอมรับ ของผู้เกี่ยวข้อง และมีความเป็นประชาธิปไตย เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้ ความสามารถ บุคลิกลักษณะ และคุณสมบัติตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างแท้จริง ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพในยุคปฏิรูปการศึกษา ควรมีลักษณะที่สำคัญ คือ นักพัฒนา นักแก้ปัญหา นักตัดสินใจ นักประนีประนอม นักการฑูต นักวางแผน นักปกครอง และนักปราชญ์
บรรณานุกรม
ถวิล อรัญเวส . นักบริหารมืออาชีพในยุคเขตพื้นที่การศึกษา วารสารวิชาการ . 4(2) : 17-18; กุมภาพันธ์ , 2544
ธีระ รุญเจริญ . การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา อัดสำเนา . ม . ป . ป .
บุรัญชัย จงกลนี . คุณธรรมของนักบริหาร . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สัตยการพิมพ์ . ม . ป . ป .
สมบัติ บุญประเคน . ผู้บริหารยุคปฏิรูปการศึกษาตามลักษณะ 5 ป .
วารสารครูขอนแก่น . 1(2) : 20-21; สิงหาคม 2544
สุพล วังสินธ์ . การบริหารโรงเรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาวารสารวิชาการ. 5(6) : 29-30; มิถุนายน , 2543