วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา

การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา หมายถึง สิ่งต่างๆที่ทำให้การจัดการศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ ทรัพยากรทางการศึกษาจึงครอบคลุมอยู่ในความหมายต่างๆไม่ว่าจะมองในแง่ของทางเศรษฐศาสตร์ หรือทางการบริหารก็ตาม การดำเนินการกับทรัพยากรเหล่านี้ต้องมีหลักการ วิธีการ และแนวคิดเป็นกรอบเพื่อให้เกิดผลและมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่เนื่องจากการศึกษาเป็นงานใหญ่ ขอบข่ายกว้างขวางครอบคลุมหลายส่วน ทรัพยากรจึงมีเป็นจำนวนมากและกลากหลายรูปแบบ เช่น ทรัพยากรทางการเงิน วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการ รวมทั้งทรัพยากรบุคคลด้วย


หลักการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา

หลักการบริหารทางการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตามระดับการศึกษา คือระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา

1. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การบริหารในระดับนี้ต้องมุ่งตอบสนองเจตนา-รมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่เน้นความสำคัญของตัวผู้เรียน และเน้นการบริหารที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามโครงสร้างการกระจายอำนาจ การบริหารทรัพยากรจะเป็นกลไกหรือเครื่องมือสำคัญที่กระตุ้นให้สถานศึกษาดำเนินการเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการจัดการศึกษาดังกล่าว จึงกำหนดหลักการสำคัญดังนี้

1.1 หลักความเป็นธรรม (Equity)

1.2 หลักความเสมอภาค (Equality)

1.3 หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness)

1.4 หลักความพอเพียง (Adequacy)

1.5 หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)

1.6 หลักเสรีภาพ (Freedom of Choice)

1.7 หลักการปฏิบัติได้จริง (Practicality)


แนวปฏิบัติในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา

สถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไปจะอยู่ในความดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพราะฉะนั้นการดำเนินการด้านงบประมาณหรือทรัพยากร ที่จะได้รับจากทางรัฐบาลจึงต้องดำเนินการผ่านเขตพื้นที่การศึกษา ยกเว้นรายได้ที่สถานศึกษาสามารถหาได้เองไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินเช่นที่เคยเป็นมา แต่สถานศึกษาจะมีฐานะเป็นหน่วยงบประมาณและหน่วยบริหารการเงินของตนเองด้วยแต่ยังต้องมีเขตพื้นที่ดูแลอีกชั้นหนึ่งเนื่องจากสถานศึกษาไม่ได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่สามารถรับงบประมาณโดยตรงจากสำนักงานงบประมาณได้และแนวคิดทางการบริหารการศึกษาที่ต้องการให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด การให้เขตพื้นที่การศึกษาเป็นตัวกลางประสานระหว่างสถานศึกษาต่างๆจึงเป็นการดี


งานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา


การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นั้นต้องตอบสนองต่อนโยบายที่สำคัญดังนี้

1. การระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงินและทรัพย์สินจากทุกส่วนของสังคมเพื่อนำมาใช้จัดการศึกษา

2. ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษา โดยจัดสรรเงินอุดหนุนรายบุคคลให้แก่ผู้เรียนการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดโดยรัฐและเอกชนให้เท่าเทียมกันและจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้แก่ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ

3. ให้สถานศึกษามีอิสระในการบริหารงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาควบคู่กับระบบการบริหารการเงินและบัญชี ระบบการตรวจสอบ ติดตามและประเมินประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ


แนวปฏิบัติในการนำระบบการบริหารจัดการทรัพยากรทางหารศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษามีดังนี้

1. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากร

2. พัฒนาระบบงบประมาณและบัญชีของส่วนกลาง

3. พัฒนาระบบการตรวจสอบ ติดตามประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล

4. พัฒนาระบบการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา

5. พัฒนาระบบบริหารบุคคลทางการศึกษา

ดังนั้นสถานศึกษาจะต้องปฏิบัติในเรื่องต่างๆดังต่อไปนี้

1. การจัดทำระบบสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อการตรวจสอบและรองรับการประเมินภายในและภายนอก

2. ควรมีคณะกรรมการหรือหน่วยงานเฉพาะเรื่องเพื่อทำหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์พัฒนารูปแบบวิธีคำนวณค่าใช้จ่ายรายบุคคล

3. สถานศึกษาต้องจัดให้มีมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ประการ คือ

3.1 การวางแผนงบประมาณ

3.2 การคำนวณต้นทุนของกิจกรรม

3.3 การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง

3.4 การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ

3.5 การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน

3.6 การบริหารสินทรัพย์

3.7 การตรวจสอบภายใน

4. เปลี่ยนระบบบัญชีจากเกณฑ์เงินสด

5. ต้องมีระบบตรวจสอบ ความโปร่งใส

การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรทางการศึกษา

Rob Cuthbert ได้ให้กลยุทธ์กว้างๆในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรทางการศึกษามี 2 แนวทางคือ

1. การลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยในการดำเนินการโดยไม่เปลี่ยนรูปแบบขององค์กร

2. การเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรเพื่อลดค่าใช้จ่าย

World Bank ได้ให้แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาคือ

1. ให้ครุอาจารย์ 1 คนรับผิดชอบนักเรียน 20-25 คน

2. กำหนดมาตรฐานของห้องเรียนและรายวิชา

3. ลดอัตราบุคลากร

4. เพิ่มจำนวนชั่วโมงสอนของอาจารย์

5. ใช้วิธีการศึกษาด้วยตัวเอง

6. ต้องหาแหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้น

7. ต้องจำกัดและควบคุมค่าใช้จ่ายต่อหน่วยงาน

Jamil Salmi ได้ให้แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาดังนี้

1. การบริหารสถานศึกษาต้องเน้นประสิทธิภาพมากขึ้นและต้องให้ความมั่นใจว่าทรัพยากรถูกใช้ออกไปอย่างคุ้มค่า

2. ควรเปลี่ยนแปลงการบริหารแบบเดิมที่รวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางมาเป็นการกระจายอำนาจ

3. นำเอาระบบงบประมาณและวิธีการเงินที่ยืดหยุ่นมาใช้

4. จัดตั้งระบบ MIS ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรและสถานการณ์ทางทรัพยากร

5. มีระบบการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมเพื่อหม่ให้ศูนย์เปล่าจากการเรียนไม่จบหรือลาออกกลางคัน

6. มีการยุบรวมภาควิชา คณะหรือโปรแกรมที่ไม่คุ้ม

7. ลดความซับซ้อนของการใช้ทรัพยากรบุคคลและเครื่องมือ

8. หาแหล่งเงินภายนอกเพิ่ม

9. สนับสนุนให้เอกชนเข้ามามากขึ้น


การวางแผนและการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา

ความจำเป็นในการบริหารทรัพยากรทางหารศึกษา

1. เพื่อสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมทุกๆกิจกรรมไม่ว่าจะเป็น คน วัสดุ หรือสิ่งอื่นๆ

2. เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานในการจัดสรรทรัพยากรให้แก่หน่วยงานนั้นๆ

3. เพื่อเป็นการควบคุมการดำเนินงานขององค์การหรือผู้รับผิดชอบการบริหารทรัพยากร

4. เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมใหม่ๆ

5. เพื่อเป็นการกระจายทรัพยากร

หลักในการบริหารทรัพยากรทางหารศึกษา

1. หลักความเสมอภาค ในการบริหารทรัพยากรต้องถือหลักความเสมอภาค

อย่างเคร่งครัดคือต้องมีความเสมอภาคในด้านคุณภาพและความเสมอภาคในด้านโอกาส

ความเสมอภาคแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.1 ความเสมอภาคในแนวราบ ได้แก่ นักเรียนกลุ่มและภาวะเหมือนกันจะได้รับการปฏิบัติทัดเทียมกัน

1.2 ความเสมอภาคในแนวตั้ง ได้แก่ การกระทำกับนักเรียนที่แตกต่างหันออกไป

2. หลักประสิทธิผล หลักการดำเนินงานของหน่วยงานก็คือการบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้นๆได้กำหนดไว้ การใช้หรือการบริหารทรัพยากรก็คือพยายามหาสิ่งมาช่วยเหลือสนับสนุนให้การดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆบรรลุเป้าหมาย

3. หลักประสิทธิภาพ ความมีประสิทธิภาพในการบริหารจะรวมทั้งประสิทธิภาพในการจัดสรร ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่น คน เงิน วัสดุ อาคาร สถานที่หรือที่ดิน

การวางแผน ตามพจนานุกรมฉบับบัณฑิตราชยสถาน 2542 หมายถึง การกำหนดแผนหรือโครงการที่จะดำเนินการต่อไป

การวางแผน เป็นกระบวนการหนึ่งที่ทำให้การปฏิบัติภารกิจสามารถดำเนินไปอย่างมีทิศทางและบรรลุผลตามวัตถุประสงค์

การวางแผนการใช้ทรัพยากรทางการศึกษา เป็นจุดเริ่มต้นของกิจกรรมทางหารศึกษาที่สำคัญยิ่ง ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทภารกิจในการวางแผนและการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาดังต่อไปนี้

1. กำหนดนโยบายและแผนของสถานศึกษา โดยการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆทั้งปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน มาวิเคราะห์กำหนดเป็นนโยบายและแผนของสถานศึกษาให้สนองกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ซึ่งในแผนงานควรมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

- วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน

- ขั้นตอนการดำเนินงาน

- ระยะเวลาของการดำเนินงาน

- ทรัพยากรที่ต้องใช้ในการดำเนินงาน

- ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน

- การนิเทศกำกับติดตามการดำเนินงาน

- การประเมินผลการดำเนินงาน

2. การบริหารทรัพยากร โดยการรวบรวมทรัพยากรต่างๆที่ต้องใช้ในการดำเนิน

งานจากแผนงาน นำมาจัดเรียงลำดับความสำคัญก่อน-หลังเพื่อจัดสรรและใช้ทรัพยากรที่ได้มาอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลเกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด

3. การประเมินผลการใช้ทรัพยากร เพื่อตรวจสอบความสามารถในการนำทรัพยากรไปใช้ว่าตรงกับความต้องการหรือไม่เพียงไร เกิดผลสำเร็จอย่างไร

4. การนำผลการประเมินไปใช้ เมื่อประเมินผลการใช้ทรัพยากรจะได้รับข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งสามารถนำไปปรับปรุง พัฒนาบริหารทรัพยากรในด้านต่างๆ เช่น การจัดสรร การใช้และควบคุม ตรวจสอบเป็นต้น


แหล่งทรัพยากรทางการศึกษา

1. งบประมาณแผ่นดิน

2. เงินนอกงบประมาณ

3. เงินจากการลงทุน

4. ทรัพยากรจากชุมชน แบ่งเป็น 2 รูปแบบ

4.1 รูปแบบที่ 1 เป็นการให้แก่บุคลากรโดยตรง เช่นให้ทุนอุดหนุนในการศึกษา การศึกษาวิจัยค้นคว้า

4.2 รูปแบบที่ 2 ให้การอุดหนุนแก่สถาบันโดยส่วนรวม เช่นการให้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ

5. แหล่งทรัพยากรต่างประเทศ

5.1 จากภาครัฐ ได้จากงบประมาณแผ่นดิน เงินอุดหนุนจากภาครัฐบาล

5.2 จากเอกชน เช่น การลงทุน การบริจาคช่วยเหลือสนับสนุนจากทั้งชุมชนหรือหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ

5.3 รายได้จากการดำเนินงาน เช่น เงินค่าบำรุงการศึกษา ค่าหน่วยกิต

ค่าลงทะเบียน ค่าจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์การศึกษาที่ผลิตจาก

สถาบันการศึกษา

การระดุมทรัพยากรท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการศึกษา

การระดุมทรัพยากรท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการศึกษา เป็นกิจกรรมสำคัญที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรตระหนัก และให้ความสำคัญมาเป็นพิเศษ เนื่องจากว่า

1. สถานศึกษาต่างมีข้อจำกัดเกี่ยวกับทรัพยากรทางการศึกษาที่ใช้ในการบริหารสถานศึกษาที่จะได้รับจากรัฐ

2. การคำนึงถึงการมีประสิทธิภาพ ในการใช้ทรัพยากรทางการบริหาร

อย่างที่ทราบกันว่าทรัพยากรท้องถิ่นมีมากมาย ดังนั้นการที่ผู้บริหารควรดำเนินการโดยคำถึงสิ่งต่อไปนี้

1. นโยบายและแผนงานที่ชัดเจนของสถานศึกษา ผู้บริหารต้องตอบให้ได้ว่า

เป้าหมายของการผลิตและการบริการคืออะไร จะดำเนินการอย่างไร จึงมีประสิทธิภาพ จะใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง ระดมจากแหล่งไหนและจะใช้อย่างไร

2. การดำเนินงานของสถานศึกษา เป็นยุทธวิธีที่ผู้บริหารจะต้องใช้ในการระดม

ทรัพยากรท้องถิ่น ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3. การติดตามและประเมินผล เป็นกิจกรรมทางการบริหารที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่สถานศึกษาต้องใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้รับทราบผลการดำเนินงานว่ามีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายหรือไม่

การระดมสรรพกำลังและทรัพยากรทางการศึกษา ผู้บริหารควรตระหนักและความสำคัญดังนี้

1. ความชัดเจนในเป้าหมาย

2. การใช้กระบวนการอย่างผสมกลมกลืน

3. ความเป็นสากลของการบริหาร คือความเมาะสมระหว่างลักษณะของงานหรือภาระกิจ ทักษะทางการบริหารและระดับชั้นของผู้บริหาร


 การระดมทรัพยากรทางการศึกษา

มาตรการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา

1. การจัดเก็บภาษีเพื่อการศึกษา

2. การใช้มาตรการลดหย่อน/ยกเว้นภาษี เพื่อจูงใจให้มีการระดมทุนเพื่อการศึกษา

3. การเป็นผู้จัดหรือมีส่วนร่มในการจัดการศึกษา

4. การร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายของผู้เรียน

5. การหารายได้ ผลประโยชน์ จากทรัพย์สินของสถานศึกษา


การระดมทรัพยากรท้องถิ่น คือ การนำทรัพยากรที่มีอยู่เต็มแผ่นดินมาใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษา ทรัพยากรเพื่อการศึกษาที่สามารถนำมาเป็นทุนหรือทรัพยากรที่ใช้ในการจัดการศึกษาประกอบด้วย

1. ทุนทางสังคม ประกอบด้วย

1.1 สถาบันและหน่วยงานต่างๆ

1.2 ทรัพยากรบุคคล

1.3 ปัจจัยต่างๆ

1.4 เทคนิค วิธีการ วิทยาการต่างๆ

1.5 ผลผลิต

2. ทุนทางวัฒนธรรม

2.1 บุคคล ครอบครัว องค์กร มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2.2 กรมอาชีวศึกษาจัดในสถานศึกษาของรัฐเอกชนหรือสถานประกอบการ

2.3 กระทรวง ทบวง กรม

2.4 สถานศึกษาและบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.5 เช่นแหล่งวิทยากร ชุดความรู้ประสบการณ์ แหล่งโบราณสถาน จิตรกรรม ประติมากรรม การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ รสนิยม ผลผลิตทางวัฒนธรรม เช่น เครื่องแต่งกาย อาหาร เครื่องดื่ม ทรัพยากรบุคคล สถาบันและหน่วยงานต่างๆ

3. ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ห้องเรียนธรรมชาติ

4. ทุนที่เป็นตัวเงิน หมายถึง งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้กับหน่วยงานหรือสถานศึกษาต่างๆ

มาตรการในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการศึกษา

1. การจัดสรรงบประมาณเพื่อการใช้จ่ายประจำ

1.1 เงินอุดหนุนรายหัวสำหรับผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.2 การจัดสรรงบประมาณดำเนินการของสถานศึกษาของรัฐ

1.3 การอุดหนุนการศึกษาที่จัดโดยบุคคล ครอบครัว สถาบันองค์กรต่างๆ

2. การจัดสรรงบประมาณเพื่อการลงทุนให้สถานศึกษาของรัฐ

3. การจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดตั้งกองทุนต่างๆและการเพิ่มประสิทธิภาพการ

บริหารกองทุน

3.1 กองทุนให้ทุนเพื่อการศึกษา

3.2 กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

3.3 กองทุนกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำให้สถานศึกษาเอกชน

3.4 กองทุนเพื่อพัฒนาการศึกษาของรัฐและเอกชน

3.5 กองทุนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

3.6 กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษา

ระบบการบริหารทรัพยากรเพื่อการศึกษา

1. มีระบบบริหารการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

2. มีระบบบริหารการใช้ทรัพยากรอย่างมีความคล่องตัว

3. มีความโปร่งใสตรวจสอบได้

มาตรการในการจัดระบบบริหารการเงินเพื่อการศึกษา

1. วางระบบบัญชีและสารสนเทศเพื่อการจัดทำบัญชีของสถานศึกษา

2. วางระบบการเงินสำหรับการใช้จ่ายเงินของสถานศึกษาและเขตพื้นที่

3. วางระบบการบริหารงานพัสดุและทรัพย์สินของสถานศึกษา

4. วางระบบการบริหารจัดการกองทุนต่างๆ

ระบบการตรวจสอบติดตามและประเมินผล

1. การตรวจสอบภายใน

2. คณะกรรมการตรวจสอบ

3. การตรวจสอบของผู้ตรวจสอบอิสระจากภายนอก

4. การตรวจสอบโดยประชาชน

มาตรการในการพัฒนาระบบตรวจสอบติดตามและประเมินผล

1. วางระบบการตรวจสอบภายใน

2. กำหนดบทบาทภารกิจของคณะกรรมการการตรวจสอบ

3. กำหนดขอบเขตหน้าที่และวิธีการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบอิสระจากภายนอก

4. กำหนดกระบวนการ การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบของชุมชนและภาค

เอกชน


การบริหารงบประมาณภายในสถานศึกษา

การบริหารงานการเงิน จะต้องดำเนินการตามระบบงบประมาณที่เน้นผลงาน และการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

1. เงินงบประมาณ ได้แก่เงินที่ได้รับจากรัฐที่จัดให้โดยตรงเป็นค่าใช้จ่ายดำเนิน

งานและงบลงทุนให้กับสถานศึกษาของรัฐตามนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาของชาติ

2. เงินนอกงบประมาณ หมายถึง เงินที่ไม่ใช่งบประมาณแผ่นดินแต่ได้มาจาก

แหล่งอื่น หรือเรียกว่า “เงินรายได้สถานศึกษา” ได้แก่

2.1 เงินค่าธรรมเนียมการศึกษา

2.2 เงินรายได้จากการให้บริการที่ไม่ขัดแย้งกับนโยบายวัตถุประสงค์และภารกิจ

หลักของสถาบัน

2.3 เงินผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา

2.4 เบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญา ลาศึกษา การซื้อขาย เป็นต้น

2.5 เงินบริจาคจากเอกชน หรือองค์กรปกครองท้องถิ่น

2.6 เงินรายได้อื่นๆ

แนวปฏิบัติในการบริหารการเงิน

1. แนวทางการบริหารทั่วไป

1.1 มีการวางแผนการเงินไว้ทั้งระยะสั้นและระยะปานกลาง โดยให้สอด

คล้องกับแผนการดำเนินงานของสถานศึกษา

1.2 บริหารทรัพย์สินของสถานศึกษา เช่น ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง วัสดุ ครุภัณฑ์

ให้มีประสิทธิภาพ ลดการสิ้นเปลือง

1.3 บริหารเงินงบประมาณ และรายได้ของสถานศึกษาอย่างรวดเร็วและมี

ประสิทธิภาพ

1.4 การควบคุมทางด้านเอกสารการเงินการบัญชีและพัสดุที่รัดกุม

1.5 มีการตรวจสอบตัวเงินและทรัพย์สินต่างๆของสถานศึกษาอย่าง

สม่ำเสมอ

1.6 มีระบบการเก็บข้อมูลและเอกสารที่สะดวกต่อการค้นหาอ้างอิง

1.7 กำหนดหน้าที่บุคลากรแต่ละคนอย่างเหมาะสม

2. การกำหนดความรับผิดชอบของบุคลากร

2.1 คณะกรรมการสถานศึกษามีหน้าที่ให้คำปรึกษาวางแผนทางการเงิน

2.2 ผู้บริหารสถานศึกษามีหน้าที่ดำเนินการตามนโยบายของคณะ

กรรมการพิจารณาอนุมัติเบิกจ่าย

2.3 เจ้าหน้าที่การเงิน มีหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติ

2.4 เจ้าหน้าที่ควบคุมเงินสดย่อย ควรมีบุคคลเฉพาะควบคุมเงินสดย่อย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ขอเบิกจ่าย

2.5 เจ้าหน้าที่งบประมาณ ดูแลกระบวนการงบประมาณของโรงเรียน

2.6 เจ้าหน้าที่บัญชี ต้องเป็นบุคคลที่มีความถนัดในด้านตัวเลข

3. แนวปฏิบัติในการรับจ่ายเงิน

1. การรับเงินให้สถานศึกษาดำเนินการดังนี้

1.1 ให้รับเป็นเงินสด การรับเป็นเช็ค หรือตราสารอย่างอื่นให้ปฏิบัติตาม

ระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนดว่าด้วยการนั้น

1.2 ให้ออกใบเสร็จรับเงินแก่ผู้ชำระเงินทุกครั้ง ยกเว้นการรับเงินงบ

ประมาณจากคลังให้ใช้ฎีกาเป็นหลักฐานการรับเงิน

1.3 ให้ใช้ใบเสร็จรับเงินตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด

1.4 ให้บันทึกเงินที่ได้รับในบัญชีเงินสดหรือบัญชีเงินฝากธนาคาร

1.5 ในกรณีที่มีการรับเงินภายหลังกำหนดเวลาปิดบัญชีสำหรับวันนั้นให้

บันทึกการรับเงินนั้นในบัญชีเงินสดหรือบัญชีเงินฝากธนาคารในวันทำการต่อไป

1.6 เงินประเภทใดมีใบเสร็จรับเงินวันหนึ่งหลายฉบับ จะรับเงินตาม

สำเนาใบเสร็จ

1.7 เมื่อเสร็จสิ้นเวลารับเงินให้ผู้มีหน้าที่รับชำระเงิน นำเงินที่ได้รับ

พร้อมกับสำเนาใบเสร็จ ส่งต่อเจ้าหน้าที่การเงินของสถานศึกษา

1.8 ให้มีมาตรการตรวจสอบจำนวนเงินที่เจ้าหน้าที่จัดเก็บและนำส่งกับ

หลักฐานและรายการที่บันทึกไว้ในบัญชีเงินสดหรือเงินฝากธนาคารว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่

2. การจ่ายเงินให้กับสถานศึกษาดำเนินการดังนี้

2.1 การจ่ายเงินจะจ่ายได้เฉพาะตามที่มีกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับอนุญาตให้จ่ายได้

2.2 ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงิน

2.3 การจ่ายเงินให้จ่ายเป็นเช็ค การจ่ายเงินค่าจ้าง เงินเดือนให้จ่ายโดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร

2.4 การจ่ายเงินต้องมีหลักฐานในการจ่ายไว้เพื่อการตรวจสอบ

2.5 หลักฐานการจ่ายให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด

2.6 ให้บันทึกการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเงินทุกรายการ

2.7 เมื่อสิ้นเวลารับจ่ายเงิน ให้สถานศึกษาจัดให้มีการตรวจสอบการจ่ายเงิน

3. การจ่ายเงินยืมให้สถานศึกษา

3.1 การจ่ายเงินยืม ให้ทำสัญญาการยืมตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด

3.2 ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติให้ยืมเฉพาะเท่าที่จำเป็นเพื่อใช้ในราชการ

3.3 ให้มีการตรวจสอบสัญญาการยืมเงิน และติดตามให้ผู้ยืมส่งเงินยืมภายใน

เวลาที่กำหนด

3.4 ให้เก็บรักษาสัญญาการยืมเงิน อย่าให้สูญหาย

4. การเก็บรักษาเงิน ให้สถานศึกษาดำเนินการดังนี้

4.1 ให้จัดให้มีตู้นิรภัยสำหรับการเก็บรักษาเงิน

4.2 ให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบทำรายงานเงินคงเหลือประจำวันตามแบบที่

กระทรวงการคลังกำหนด

4.3 แต่งตั้งผู้รับผิดชอบอย่างน้อย 3 คน ทำหน้าทีเป็นกรรมการเก็บรักษาเงิน

4. การบริหารเงินสดหมุนเวียน

1. การจ่ายเงินควรจ่ายเป็นเช็คเพื่อความสะดวก

2. กำหนดให้แผนกการเงินรายงานยอดคงเหลือประจำวันให้ผู้บริหารทราบทุกวัน

3. บริหารเงินสดคงเหลือส่วนเกินไปลงทุนให้เกิดรายได้

4. มีการจัดทำระบบกระแสเงินสด

5. สถานศึกษาที่จะนำเงินไปลงทุน ควรมีสถาบันรองรับความเสี่ยง

6. ควรรู้จักคาดการณ์ ภาวการณ์ล่วงหน้า

7. ควรกระจายการลงทุน

การควบคุมและติดตามตรวจสอบงานการเงิน

1. มีระบบบริหารและควบคุมทางการเงินที่เหมาะสม มีระบบการควบคุมทรัพย์สินที่ถูกต้อง

2. จัดเก็บเอกสาร หลักฐานทางการเงินและเอกสารที่สำคัญอื่นที่เกี่ยวข้องให้

สะดวกต่อการค้นหาตรวจสอบ

3. ให้ผู้ตรวจสอบภายในของเขตพื้นที่การศึกษาเข้าตรวจสอบสถานศึกษา

ตามแผนการตรวจสอบประจำปี

4. คณะกรรมการสถานศึกษาปฏิบัติงานร่วมกับ ผู้ตรวจสอบภายใน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น