วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แนวคิดในการจัดการ

  แนวคิดแบบดั้งเดิม

• มุ่งศึกษาประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness)

1 การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)

• (1) แนวคิดของ Frederick W. Taylor :

• The Father of Scientific Management

ค้นหาวิธีทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

• การจัดการแบบวิทยาศาสตร์

• ศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหวในการทำงาน (Time-and-Motion Study)

• ประดิษฐ์เครื่องตัดเหล็กที่มีรวดเร็วสูง

• Taylor’s Principles

 ใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการจัดการแทนการใช้หลักทั่วไป (Rules Thumb)

 ยอมรับความกลมเกลียวมากกว่าความขัดแย้ง

 ยอมรับความร่วมมือมากกว่าต่างคนต่างทำ

 ทำงานเพื่อผลผลิตสูงสุดมากกว่าผลผลิตที่จำกัด

 พัฒนาทุกคนให้สามารถใช้ความสามารถสูงสุด


(2) แนวคิดของ Henry L. Gantt:

• Gantt ร่วมงานกับ Taylor

• พัฒนาวิธีการอธิบายแผนโดยใช้กราฟเรียกว่าผังแกนต์ (Gantt chart) ซึ่งเป็นการค้นพบที่สำคัญที่สุดใน ศตวรรษที่ 20


(3) แนวคิดของ Frank Gilbreth และ Lillian Gilbreth

• สนับสนุนแนวคิดของ Taylor

• ศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหวในการทำงาน (Time-and-Motion study)

• คิดค้นวิธีเรียงอิฐให้ได้งานเป็นสองเท่าในเวลาเท่ากัน

• Lillian Gilbreth เป็น First Lady of Management

(4) แนวคิดของ Harrington Emerson :

• ศึกษาประสิทธิภาพขององค์กร

• ศึกษาความสำคัญของโครงสร้างและเป้าหมายขององค์กร

• หลักประสิทธิภาพ 12 ประการ

 กำหนดจุดมุ่งหมายชัดเจน (Clearly defined goal)

 ใช้หลักเหตุผลทั่วไป (Common sense)

 คำแนะนำที่ดี (Competent counsel)

 มีวินัย (Discipline)

 มีความยุติธรรม (Fair deal)

 มีข้อมูลเชื่อถือได้ (Reliable Information)

 มีความฉับไว (Dispatching)

 มีมาตรฐานและมีตารางเวลา (Standard and Schedule)

 อยู่ในสภาพที่มีมาตรฐานเสมอ (Standardized condition)

 ปฏิบัติการได้มาตรฐาน (Standardized operation)

 คำสั่งได้มาตรฐาน (Standardized directing)

 มีการให้รางวัลอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency reward)


1.2 ทฤษฎีองค์กรแบบดั้งเดิม (Classical Organization Theory)

(1) แนวคิดของ Henri Fayol :

• ทฤษฎีการจัดการปฏิบัติการ (Operation-Management Theory)

• Fayol แบ่งกิจกรรมของอุตสาหกรรมออกเป็น 6 กลุ่ม

 กิจกรรมเทคนิค (Technical Activities)

(1) การผลิต (Production)

(2) การประกอบอุตสาหกรรม (Manufacturing)

 กิจกรรมการค้า (Commercial Activities)

(1) การซื้อ (Buying)

(2) การขาย (Selling)

(3) การแลกเปลี่ยน (Exchanging)

 กิจกรรมการเงิน (Financial Activities)

(1) การหาเงินทุนและสินเชื่อ (Searching for Capital and Credit)

(2) การใช้เงินทุนอย่างเหมาะสม (Using them optimally)

 กิจกรรมความมั่นคง (Security Activities)

(1) การคุ้มครองทรัพย์สมบัติ (Protecting property)

(2) การคุ้มครองบุคคล (Protecting persons)

 กิจกรรมทางบัญชี (Accounting Activities)

(1) การควบคุมสินค้า (Taking stock)

(2) การจัดทำงบดุล (Keeping balance sheets)

(3) การตรวจสอบต้นทุน (Tracking costs)

 กิจกรรมการจัดการ (Managerial Activities)

(1) การวางแผน (Planning)

(2) การจัดองค์การ (Organizing)

(3) การบังคับบัญชา (Commanding)

(4) การประสานงาน (Coordinating)

(5) การควบคุม (Controlling)



• Fayol กำหนด “หลักการจัดการที่มีประสิทธิภาพของ Fayol” (Fayol’s Principles of Effective Management) มี 14 ข้อคือ

 การแบ่งงานกันทำ (Division of Work)

 อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority and Responsibility)

 ระเบียบวินัย (Discipline)

 มีการบังคับบัญชาที่มีเอกภาพ (Unity of Command)

 มีทิศทางที่เป็นเอกภาพ (Unity of Direction)

 ผลประโยชน์ส่วนตัวสำคัญน้อยกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม (Individual Interest less than General Interest)

 มีการรวมอำนาจ (Centralization)

 มีสายสัมพันธ์ที่คล่องตัว (Scalar chain)

 มีลำดับตำแหน่ง (Order)

 ความเสมอภาค (Equity)

 ความมั่นคง (Stability)

 ความคิดริเริ่ม (Initiative)

 ความสามัคคี (Esprit de corps)

 ค่าตอบแทน (Remuneration)

(2) แนวคิดของ Max Weber :

• ทฤษฎีระบบราชการของ Weber (Weber’s Theory of Bureaucracy)

• ระบบราชการ เป็นรูปแบบองค์กรที่ใช้เหตุผล (Logic) และประสิทธิภาพ (Efficient) โดยมีอำนาจหน้าที่ตามระเบียบ (Order) และตามกฎหมาย (Legitimate Authority) ซึ่งมีลักษณะ 5 ประการ คือ

 การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor)

 มีสายบังคับบัญชาเป็นลำดับหน้าที่ (Hierarchy of Authority)

 มีกฎระเบียบและวิธีปฏิบัติอย่างเป็นทางการ (Formal Rules and procedure)

 ความไม่เป็นส่วนตัว (Impersonality)

 ความก้าวหน้าในงานอาชีพตามหลักคุณภาพ (Careers based on Merit)



  แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์


• การจัดการเป็นทักษะที่มุ่งที่การเพิ่มความสำเร็จในองค์กรของบุคคล สนใจพฤติกรรมในองค์กรของบุคคลความเป็นผู้นำ แรงจูงใจ เหล่านี้เป็นต้น



1 แนวคิดของ Hugo Munsterberg :

• ศึกษาจิตวิทยาอุตสาหกรรม

• The Father of Industrial Psychology

• ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมกับอุตสาหกรรม

 คุณภาพทางด้านจิตใจมีความสัมพันธ์กับลักษณะของงานที่ทำ

 ความพอใจของคนงานมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มผลผลิต

 วิธีการทางธุรกิจมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มผลผลิต



2 แนวคิดของ Elton Mayo, F.J. Roethlisberger และคณะ :

• การทดลองที่โรงงาน Hawthorne ของบริษัท Western Electric ระหว่างปี 1927-1932 โดย Elton Mayo และคณะ เพื่อหาความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมของการทำงานกับการเพิ่มผลผลิต ผลการทดลอง ไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว แต่ผู้วิจัยสรุปว่า การเพิ่มผลผลิตเกิดจากปัจจัยทางสังคม เช่น ขวัญกำลังใจ (Morale) มิตรภาพภายในกลุ่ม (Interrelationships) ความรู้สึกในการเป็นเจ้าของ (Sense of belonging) การจูงใจ (Motivating) การให้คำปรึกษา (counseling) การนำ (Leading) และการติดต่อสื่อสาร (Communicating)



3 แนวคิดของ Abraham Maslow :

• ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ (Hierarchy of Needs Theory) ของ Maslow พบว่า บุคคลมีสิ่งกระตุ้นให้ต้องสนองตามลำดับความต้องการของมนุษย์ 5 ประการ โดยลำดับคือ

1. ความต้องการทางกายภาพ (Physiological need)

2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety need)

3. ความต้องการทางสังคม (Social need)

4. ความต้องการได้รับการยกย่อง (Esteem need)

5. ความต้องการประสบผลสำเร็จในชีวิต (Self-actualization need)



4 แนวคิดของ Douqlas McGregor :

• ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ McGregor เป็นฐานคติ (Assumption) เกี่ยวกับมนุษย์ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในทางตรงกันข้ามระหว่างแบบทฤษฎี X และแบบทฤษฎี Y

• ฐานคติของทฤษฎี X

 พนักงานต้องการทำงานให้น้อยที่สุด ดังนั้นผู้บริหารต้องควบคุม สั่งการ จูงใจ ให้รางวัล หรือลงโทษเพื่อให้บุคคลทำงานเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การ

 พนักงานมีความทะเยอทะยานน้อยและไม่ชอบความรับผิดชอบ

 โดยทั่วไปพนักงานจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

• ฐานคติของทฤษฎี Y

 โดยธรรมชาติพนักงานชอบทำงาน

 พนักงานมีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาและบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การ

 พนักงานเต็มใจที่จะค้นหาและยอมรับความรับผิดชอบ

 พนักงานจะยอมรับจุดมุ่งหมายขององค์การ เพื่อสามารถใช้ความพยายามและบรรลุจุดมุ่งหมายส่วนตัว

 พนักงานมีศักยภาพในการพัฒนาตัวเองซึ่งโดยทั่วไปยังไม่ได้ประโยชน์เต็มที่ในองค์การส่วนใหญ่


 แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ


• เป็นการจัดการซึ่งนำเทคนิคทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือสถิติและข้อมูลมาใช้ในการแก้ปัญหาทางการจัดการ

1 แนวคิดวิทยาการจัดการหรือการวิจัยการจัดการ

• ประยุกต์ใช้ model คณิตศาสตร์และสถิติในสถานการณ์ต่าง ๆ ในการจัดการ

• ทฤษฎีการจัดลำดับแถวคอย (Queuing Theory หรือ Waiting Line Analysis) ใช้ในการวิเคราะห์แถวรอคอยในการรับบริการ

• โมเดลสถานการณ์จำลอง (Simulation Model) โดยสร้าง Model ทางธุรกิจขึ้นมา และเปรียบเทียบกับความเป็นจริง



2 แนวคิดการจัดการฏิบัติการ

• การจัดการปฏิบัติการ (Operation Management) ศึกษากระบวนแปรสภาพทรัพยากรเป็นผลผลิตซึ่งเป็นสินค้าหรือบริการ

• ใช้เทคนิคเชิงปริมาณเพื่อปรับปรุงผลผลิต เช่น การใช้สถิติเพื่อการควบคุมกระบวนการผลิต (Statistical Process Control, SPC)



3 แนวคิดระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

• ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System, MIS) เป็นระบบที่มุ่งจัดเก็บ การจัดระเบียบ และการกระจายข้อมูลเพื่อตอบสนองหน้าที่การจัดการและความต้องการของผู้บริหาร

• MIS เกี่ยวกับองค์การ ลูกค้า และสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว


แนวคิดทฤษฎีระบบ

• ทฤษฎีระบบ (System Theory) เป็นแนวคิดการจัดการซึ่งมององค์การเป็นระบบตามหน้าที่ที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม

• ระบบประกอบด้วย 4 ส่วนที่เกี่ยวข้องกัน คือ

 ปัจจัยนำเข้า (Input)

 กระบวนการแปรสภาพในการจัดการ (Transformation Process)

 ผลผลิต (Product)

 การป้อนกลับ (Feedback)


 แนวคิดการจัดการเชิงสถานการณ์



• การจัดการขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้จึงจำเป็นต้องปรับปรุงการจัดการอยู่เสมอ

• มุ่งปรับปรุงพฤติกรรมการบริหารตามสถานการณ์เฉพาะขององค์การ

• นักทฤษฎีแนวนี้มีหลายคน เช่น Joan Woodward, Paul Lawrence, Jay Lorsch

• ทฤษฎีการจัดการเชิงสถานการณ์ (Contingency Theory of Management) ผสมผสาน 4 แนวคิดเข้าด้วยกันคือ

 แนวคิดแบบดั้งเดิม (Classical Perspective)

 แนวคิดเชิงพฤติกรรม (Behavioral Perspective)

 แนวคิดเชิงปริมาณ (Quantitative Perspective)

 แนวคิดเชิงระบบ (System Perspective)


แนวคิดการจัดการแบบญี่ปุ่น



• ความสำเร็จทางเศรษฐกิจอย่างดีเยี่ยมของบริษัทต่าง ๆ ของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ทั่วโลกหันมาสนใจวิธีการบริหารที่ญี่ปุ่นนำมาใช้กับบริษัทของญี่ปุ่น

• ลักษณะการบริหารที่สำคัญของบริษัทญี่ปุ่น คือ

 ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นเปิดโอกาสให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

 ผู้บริหารให้ความสนใจคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงาน

 บริษัทของญี่ปุ่นสนใจอย่างมากกับคุณภาพของสินค้าและบริหาร

 ผู้บริหารระดับสูงมีบทบาทในฐานะผู้อำนวยความสะดวกมากกว่าการออกคำสั่ง

 การไหลของข้อมูลข่าวสารและความคิดริเริ่มจะเห็นจากระดับล่างขึ้นสู่ระดับบน

 องค์การของญี่ปุ่นจะดูแลพนักงานโดยการจ้างงานตลอดชีพ


แนวคิดทฤษฎี Z ของ Ouchi



• ทฤษฎีของ Z ของ Ouchi (Ouchi’s Theory Z) เป็นทฤษฎีอธิบายโครงสร้างตามการจัดการผสมผสานระหว่างการบริหารแบบสหรัฐอเมริกาหรือ Theory A กับการบริหารแบบญี่ปุ่น หรือ Theory J คือ

 ทฤษฎี A เป็นแนวความคิดการจัดการของสหรัฐอเมริกาซึ่งองค์การเน้นการจ้างงานระยะสั้น พนักงานมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อองค์การน้อย

 ทฤษฎี J เป็นแนวความคิดการจัดการของญี่ปุ่นซึ่งองค์การเป็นการจ้างงานตลอดชีพ พนักงานมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อองค์การสูง

 ทฤษฎี Z เป็นแนวความคิดการจัดการประสมประสาน ระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาโดยเน้นการจ้างงานระยะยาวมีการตัดสินใจและความรับผิดชอบร่วมกัน


 แนวคิดความเป็นเลิศขององค์การ

• Thomas J. Peters และ Robert H. Waterman Jr. ในหนังสือชื่อ In Search of Excellence กำหนดคุณสมบัติความเป็นเลิศขององค์การไว้ 8 ประการคือ

 การมุ่งการกระทำ (A bias for action)

 การใกล้ชิดกับลูกค้า (close to the customer)

 การส่งเสริมความเป็นอิสระและความเป็นเจ้าของ (Autonomy and Entrepreneurship)

 การเพิ่มผลผลิตโดยอาศัยคน (Productivity through People)

 การมุ่งที่ค่านิยม (Hand on Value driven)

 การดำเนินธุรกิจที่เชี่ยวชาญ (Stick to the knitting)

 การมีโครงสร้างที่เรียบง่ายและมีที่ปรึกษาน้อยลง (Simple structure and Loss consulted)

 การเข้มงวดและผ่อนปรนในขณะเดียวกัน (Simultanous)

• คุณสมบัติทั้ง 8 ประการเหล่านี้พัฒนามาจากโครงสร้างการทำงาน J-8 ของ McKingseys คือ

 กลยุทธ์ (Stratigy)

 โครงสร้าง (Structure)

 ระบบ (System)

 รูปแบบ (Styles)

 พนักงาน (Staff)

 ค่านิยมร่วม (Shared Value)

 ทักษะ (Skill)



 แนวคิดองค์การการเรียนรู้



• องค์การการเรียนรู้ (Learning Organization) หมายถึง องค์การที่มีการริเริ่มสร้างสรรค์ได้มาซึ่งความรู้ ถ่ายทอดความรู้และปรับพฤติกรรมเพื่อตอบสนองต่อความรู้ใหม่

• องค์การการเรียนรู้จะมีการแก้ปัญหาเป็นระบบ ทดลองความรู้ใหม่ เรียนจากประสบการณ์ในอดีต

• ผู้บริหารต้องพยายามสร้างองค์การการเรียนรู้ สร้างสภาพแวดล้อมส่งเสริมการเรียนรู้ สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล

• ปัจจัยที่สำคัญสำหรับองค์การการเรียนรู้มี 5 ประการคือ

 การคิดอย่างเป็นระบบ (System thinking)

 การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared vision)

 มีความกระตือรือร้นที่จะทำตามตัวแบบในการแก้ปัญหา (Challenging of mental models)

 เรียนรู้เป็นทีม (Team learning)

 มีความเชี่ยวชาญ (Personal mastery)


แนวคิดการปรับรื้อระบบ

• การปรับรื้อระบบ (Reengineering) หมายถึง การรื้อโครงสร้างระบบให้เป็นระบบใหม่ที่ดีกว่า

• การปรับรื้อระบบขององค์การจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การ ออกแบบกิจกรรมการปฏิบัติการเสียใหม่ให้สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้

• การปรับรื้อระบบขององค์การจะเปลี่ยนผู้บริหารจากการเป็นเจ้านาย (Bosses) มาเน้น

 การรับฟัง (Listening)

 การจูงใจ (Motivating)

 การให้คำแนะนำ (Coaching)

 ให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชาคิดเอง (Self-thinking)

 ทำงานตามคำสั่งให้น้อยลง (Less commanded working)


 แนวคิดการจัดการคุณภาพโดยรวม

• การจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management, TQM) เป็นระบบการจัดการองค์กรทั้งหมดให้มีคุณภาพ

• TQM ในปัจจุบันถูกพัฒนาขึ้นในญี่ปุ่น โดย Edwards Deming จากสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลก

• กล่าวกันว่าจาก TQM ทำให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้นำทางอุตสาหกรรมโดยเฉพาะเอาชนะสหรัฐอเมริกาได้หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

• TQM มีหลักการสำคัญ 5 ข้อ คือ

 มุ่งเน้นความพึงพอใจของลูกค้า

 มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

 มีการปรับปรุงคุณภาพขององค์กรทั้งหมด

 มีการวัดและประเมินผลอย่างแม่นยำ

 พนักงานทุกระดับมีส่วนร่วม

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอถามว่า แนวคิดทางการจัดการเชิงบริหาร นั้นเหมาะกับอาชีพใดบ้างค่ะ และเพราะอะไร

    ตอบลบ