วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่ (Structural Functionalism)

ทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่ (Structural Functionalism)


ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ เป็นทฤษฎีหลักทางสังคมวิทยา และเป็นทฤษฎีที่ทางอิทธิพลทฤษฎีหนึ่งของสังคมวิทยา นั่นหมายถึงเราสามารถใช้ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ อธิบายหรือพยากรณ์ ทำความเข้าใจ ปรากฏการณ์ทางสังคมได้อย่างชัดเจนและละเอียดในทุกระดับชั้นของสังคมโลกเป็นอย่างดี

ขอบข่ายของทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่

ถ้าเราจะศึกษาทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่ ให้ครบถ้วนแล้วเราต้องศึกษาเรื่องใดบ้าง เรื่องที่เราจะต้องศึกษามีดังต่อไปนี้คือ

1. ทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่คลาสสิก (Classical Structural Functionalism)

2. ทฤษฎีหน้าที่ของการชนชั้น (The Functional Theory of Stratification)

3. สิ่งจำเป็นของหน้าที่ในสังคม (The Functional Prerequisites of Society)

4. ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ของพาร์สัน (Parsons’s Structural Functionalism)

ความสมานฉันท์และความขัดแย้ง (Consensus and Conflict)

ก่อนที่เรียนรู้ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ เราต้องรู้ 2 ศัพท์ คือ

1. ความสมานฉันท์ (Consensus)

2. ความขัดแย้ง (Conflict)

ทฤษฎีสมานฉันท์ มองที่บรรทัดฐานร่วม (Shared Norms and Values) และค่านิยมร่วมว่าเป็นพื้นฐานของสังคม และมองที่ความเป็นระเบียบทางสังคม ขึ้นอยู่กับข้อตกลงโดยอ้อม ๆ(Social Order) และมองการเปลี่ยนแปลงทางสังคมว่า เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และเป็นไปตามแฟชั่น

ทฤษฎีความขัดแย้ง เน้นที่ การมีอิทธิพลต่อกลุ่มคนในสังคม โดยคนอีกกลุ่มหนึ่ง และมองเห็นความเป็นระเบียบของสังคมว่า ขึ้นอยู่กับการใช้กลยุทธ์และควบคุม โดยคนอีกกลุ่มหนึ่ง และมองการเปลี่ยนแปลงทางสังคมว่าเกิดขึ้นโดยอย่างรวดเร็ว และไม่เป็นไปตามแฟชั่น

ทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่ (Structural Functionalism)

คำว่า “โครงสร้างกับหน้าที่” ไม่ต้องใช้รวมกันก็ได้ เราสามารถแยกใช้ต่างกันได้ มาร์ก อับราฮัมสัน ได้ระบุทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ ไว้ 3 ระดับ

1. Individualistic Functionalism (หน้าที่นิยมส่วนบุคคล) = ทฤษฎีนี้เน้นที่ความต้องการผู้กระทำ (Actors) โครงสร้างหน้าที่จึงปรากฏที่หน้าที่ที่สนองตอบต่อความต้องการ

2. Interpersonal Functionalism (หน้าที่นิยมกับผู้อื่น) = ทฤษฎีนี้เน้นที่ความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relationship) โดยกลไกที่ขจัดความตึงเครียดที่มีอยู่ในความสัมพันธ์นั้น ๆ

3. Societal Functionalism (หน้าที่นิยมสังคม) = ทฤษฎีนี้เน้นที่โครงสร้างทางสังคมขนาดใหญ่และสถาบันทางสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างกันและบังคับ ผลของการบังคับต่อผู้กระทำ

ทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่แบบคลาสสิก

นักสังคมวิทยาแบบคลาสสิก 3 ท่าน คือ ออกุสค์ คองต์, เฮอร์เบริต์ สเปนเซอร์ และอีมิล เดอร์คไฮม์ มีอิทธิพลต่อทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่อย่างมาก

คองต์ มีความคิดแบบบรรทัดฐานเกี่ยวกับสังคมที่ดี (Good Society) สังคมที่ดีต้องมีดุลยภาพ (equilibrium) เขานำเสนอทฤษฎีอินทรีย์ทางสังคม (Organism) โดยมองเปรียบเทียบสังคมกับอวัยวะทางร่างกายคล้าย ๆ กัน โดยเฉพาะการทำหน้าที่ เขาจึงเรียกว่า “ทฤษฎีอินทรีย์ทางสังคม” (Social Organism ) เช่น เขาเปรียบเซลส์เหมือนกับครอบครัว และเนื้อเยื่อกับการแบ่งชนชั้นทางสังคม อวัยวะกับเมือง และชุมชน เป็นต้น

สเปนเซอร์ ก็นำหลักอินทรีย์มาใช้เหมือนกัน แต่เขามองที่สังคมทั้งหมด โดยเน้นที่ตัวผู้กระทำเป็นหลัก เขาแบ่งอินทรีย์ไว้เป็น 2 ระดับ คือ

1. สังคม (Social Organism)

2. ปัจเจก (Individual Organism)

ขณะที่ทั้ง 2 อย่างเจริญขึ้น สิ่งที่ไม่เป็นอินทรีย์ไม่เจริญ และยิ่งมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ยิ่งมีความสลับซับซ้อนและแตกต่างยิ่งขึ้น ยิ่งแตกต่าง ยิ่งทำให้หน้าที่แตกต่างไปด้วย และต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ดังนั้น ตัวไหนเปลี่ยนอีกตัวก็เปลี่ยน

เดอร์คไฮม์ ความสนใจของเขาอยู่ที่ Social Organism และการปฏิสัมพันธ์กัน ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความต้องการทางสังคม (Social Need) อันประกอบไปด้วย

1. สาเหตุทางสังคม (Social Cause)

2. หน้าที่ทางสังคม (Social Function)

สาเหตุ เกี่ยวกับว่าเหตุใดจึงมีโครงสร้างอย่างนี้และมีรูปแบบอย่างนี้

หน้าที่ เกี่ยวกับความต้องการการต่อระบบที่ขยายออกไปได้รับการตอบสนอง โดยโครงสร้างที่ให้ไว้หรือไม่



ทฤษฎีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดชนชั้นทางสังคม

ตามความคิดของ Kingley David & Wilbert Moore คิงเลย์ เดวิด และวิลเบริต์ มัวร์ ทั้งสองคิดว่า การจัดชนชั้นทางสังคม (Social Stratification) เป็นสากลและจำเป็นทุกสังคมต้องมีชนชั้น ชนชั้นมาจากเจตจำนงในการทำหน้าที่

1. ในด้านโครงสร้าง มองว่าการจัดชนชั้นได้จัดบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งต่าง ๆ ที่ได้รับความนับถือตาม (ค่านิยม) โดยมีเหตุจูงใจ 2 ประการ

1.1 ปลูกฝังให้บุคคลอยากเข้าสู่ตำแหน่งที่กำหนด

1.2 ทำตามบทบาทในตำแหน่งที่สังคมคาดหวังไว้







ชนชั้น







ดังนั้นการจัดบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งที่เหมาะสมจึงเป็นระบบทางสังคมในทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สิ่งจำเป็นพื้นฐานต่อหน้าที่หลักของสังคม (The Functional Prerequisite of Society ) ในการนิยามหน้าที่พื้นฐาน (Prerequisite) ก่อนเกิดหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ (Action System) มี 4 อย่าง คือ

1. การปรับตัว (Adaptation)

2. การบรรลุเป้าหมาย (Goal Attainment)

3. บูรณาการ (Integration)

4. การธำรงไว้ซึ่งแบบแผน (Pattern Maintenance)

สังคมเกิดจาการต้องการอยู่รวมกันแบบสมานฉันท์ของสมาชิกในสังคม สิ่งที่ทำให้เกิดการสมานฉันท์ที่สมบูรณ์แบบคือ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Potential Communication) หมายถึง ระบบสัญลักษณ์ร่วม (Shared Symbolic systems )โดยผ่านการเรียนรู้ระเบียบทางสังคม (Socialization)

สังคมต้องมีเป้าหมายร่วมกัน ถ้าต่างกันจะเกิดความวุ่นวาย ด้วยเหตุนี้สังคมจำเป็นต้องมีวิธีการในการกำหนดเป้าหมาย โดยใช้ระบบบรรทัดฐาน (Normative System) , ความสำเร็จของบุคคล ถ้าไร้บรรทัดฐานแล้ว สังคมจะไร้ระเบียบและเดือดร้อน

สังคมต้องมีระบบการเรียนรู้ สำหรับคนในสังคมต้องเรียนสิ่งต่างๆ ทั้งสถานภาพในระบบชนชั้น ค่านิยมร่วม จุดหมายที่ยอมรับร่วมกัน การรับรู้ร่วมกัน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก จึงช่วยให้เกิดความร่วมมือและปฏิบัติที่สอดคล้องกับบรรทัดฐาน

สังคมต้องมีมาตรการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ ยอมรับในค่านิยมที่เหมาะสม เขาจะประพฤติอยู่ในกรอบของความถูกต้องดีงาม โดยความสมัครใจ

ทฤษฎีหน้าที่นิยมของทัลคอตต์ พาร์สันส์ (Talcott Parsons’s Structural Functionalism) 4 ประการ ที่จำเป็นต่อระบบต่าง ๆ คือ

1. Adaptation = การปรับตัว ระบบต้องจำเป็นปรับให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ในภายนอก คือ ปรับเข้ากับสิ่งแวดล้อมและความต้องการของสังคม

2. Goal Attainment = การบรรลุเป้าหมาย ระบบจะต้องกำหนดและตอบสนองต่อเป้าหมายหลัก

3. Integration = บูรณาการ ระบบจะต้องกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ และจะต้องจัดการความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่พื้นฐานอื่น ๆ

4. Latency (Pattern Maintenance) ระบบต้องธำรงและพื้นฟู แรงจูงใจของปัจเจกบุคคลและแบบบรรยายทางวัฒนธรรมที่นร้างรักษาแรงจูงใจนั้นไว้

สิ่งจำเป็นพื้นฐานด้านหน้าที่ 4 ประการนี้ จะต้องเกี่ยวข้องระบบการกระทำ (Action system) 4 อย่างคือ

1. อินทรีย์ทางชีววิทยา (Biological Organism) ทำหน้าที่ในการปรับตัว

2. ระบบบุคลิกภาพ (Personality System) ทำหน้าที่ในการบรรลุ

เป้าหมาย

3. ระบบสังคม (Social system) ดูแลเกี่ยวกับการบูรณาการ โดยควบคุม

ส่วนต่าง ๆ

4. ระบบวัฒนธรรม (Cultural system) ทำหน้าที่ในการธำรงแบบแผน โดยกำหนดบรรทัดฐานและค่านิยมแก่ผู้ปฏิบัติ

โครงสร้างระบบการทำหน้าที่หลัก

L I

ระบบวัฒนธรรม ระบบสังคม

อินทรีย์แห่งพฤติกรรม ระบบบุคลิกภาพ

A G



ระบบการระทำ (The Action System)

พาร์สันมีความคิดชัดเจนเกี่ยวกับ “ระดับ” ของความเป็นจริงในสังคม = การชนชั้น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้น ที่ต้องสนองพลังและความต้องการของระบบ ดังนี้

ข่าวสารระดับสูง



ลำดับขั้นของปัจจัยที่เป็นตัวสร้างเงื่อนไข





พลังงานระดับสูง



พาร์สันค้นพบระบบจากความเป็นระเบียบทางสังคม

1. ระบบต่างมีความเป็นระเบียบ เป็นคุณลักษณะและหลายส่วนต้องพึ่งพาอาศัยกัน

2. ระบบมีแนวโน้มไปสู่การมีระเบียบแก่ตัวเอง หรือเรียกว่า “ดุลยภาพ” (Equilibrium)

3. ระบบอาจมีลักษณ์สถิตย์ (Static) หรือเป็นพลวัตร (Change) ก็ได้

4. ส่วนหนึ่งของระบบต้องมีผลกระทบต่อมีส่วนหนึ่งเสนอ

5. ระบบมีขอบเขตภายในสภาพแวดล้อมนั้น

6. การแบ่งสรรและบูรณาการ (จัดการ) เป็นกระบวนการพื้นฐานสำหรับการสร้างดุลยภาพในระบบ

7. ระบบต่างมีแนวโน้มที่รักษาไว้ขอบเขตและความสัมพันธ์ของส่วนร่วมที่มีต่อส่วนรวมและควบคุมความแตกต่าง และการเปลี่ยนแปลงภายในระบบไว้

ระบบสังคม (Social System)

Pansons เริ่มความคิดเกี่ยวกับระบบสังคม ในระดับดุลภาค (Micro Level) ด้วยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเอง (ego) กับผู้อื่น (Alter ego) โดยนิยมว่าระบบหน้าที่

Pansons ระบบสังคมประกอบขึ้นด้วยผู้กระทำมาปฏิสัมพันธ์กันในสถานการณ์ที่มีลักษณะทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมคล้ายคลึงกัน ผู้กระทำถูกจูงใจจากแนวโน้มด้านความพึงพอใจขั้นสูงและพฤติกรรมของพวกเขาเกี่ยวพันกับสถานการณ์นั้น ๆ มันถูกนิยามและสื่อสารในรูปของระบบ โครงสร้างทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ร่วม











ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของทัลค๊อต พาร์สัน



พาร์สัน เริ่มทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ด้วยความจำเป็นทางหน้าที่ 4 ประการ คือ AGIL

AGIL

หน้าที่คือ ภารกิจที่ซับซ้อนที่มุ่งไปสูการตอบสนองต่อความต้องการ หรือสู่ความจำเป็นของระบบ พาร์สัน เชื่อว่า มีหน้าที่ ๆ จำเป็นจริงอยู่ 4 อย่างคือ

1. Adaptation (การปรับตัว) ระบบต้องปรับเข้ากับความจำเป็นเร่งด่วน (ฉุกเฉิน) จากภายนอนสถานการณ์ ต้องปรับเข้ากับสิ่งแวดล้อมและปรับสิ่งแวดล้อมไปสู่ความจำเป็น

2. Goal Attainment (การบรรลุเป้าหมาย) ระบบต้องกำหนดและบรรลุเป้าหมายเบื้องต้น

3. Integration (บูรณาการ) ระบบต้องสร้างระบบความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ขององค์ประกอบต่างๆ คือ ต้องจัดความจำเป็นพื้นฐานทั้ง 3 ตัวคือ AGL ให้สอดคล้องกัน

4. Latency (Pattern Maintenance) การรักษาแบบแผนไว้ ระบบต้องธำรงไว้ รักษา ฟื้นฟู ทั้งการกระตุ้นปัจเจกชน และแบบแผนทางวัฒนธรรม ที่สร้างและสนับสนุนแรงจูงใจนั้น

สิ่งจำเป็นพื้นฐานเหล่านี้ เชื่อมกับระบบอินทรีย์ 4 ประการ คือ

1. ระบบอินทรีย์ทางชีวภาพ (Biological) + ระบบการปรับตัว (Adaptation)

2. ระบบบุคลิกภาพ (Personality System) + การบรรลุเป้าหมาย (Goal Attainment)

3. ระบบทางสังคม (Social System) + บูรณาการ (Integration)

4. ระบบทางวัฒนธรรม (Cultural System) + การรักษาแบบแผน (The Pattern Maintenance)

โครงสร้างของระบบการกระทำหลัก

L I

Cultural System Social System

Biological Organism Personality System

A G

ระบบการกระทำ

ความคิดของพาร์สันชัดเจน่มากในเรื่องของระบบการกระทำซึ่งเราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. ระดับล่าง (A & G) เป็นพื้นฐานสำหรั้บระดับข้างบนนและจำเป็นสำหรับระดับบน

2. ระดับบน (L & I) คอยควบคุมระดับล่างตามลำดับชั้น

ระบบสังคม (Social System) = แนวความคิดของพาร์สันในเรื่อง “ระบบสังคม” เริ่มที่จุดเล็ก ๆ คือ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเรา (Ego) กับผู้อื่น (Atter ego) เขาจึงนิยามคำว่า “Social System” ดังนั้น

“ระบบสังคมประกอบไปด้วยคนหลาย ๆ คน มาปฏิสัมพันธ์กัน ในสถานการณ์อันใดอันหนึ่ง ผู้กระทำได้รับแรงจูงใจในแนวโน้มมีความพึงพอใจสูงสุด ถูกกำหนด และเชื่อมต่อในระบบที่มีสัญลักษณ์ทางมีโครงสร้างวัฒนธรรม และร่วมกันอยู่”

ความหมายของพาร์สัน ประกอบไปด้วยตัวหลัก 5 ตัว คือ

1. Acton = ผู้กระทำ 2. Interaction = การปฏิสัมพันธ์

3. Environment = สภาพแวดล้อม 4. Optimization of gratification = ความพึงพอใจสูงสุด 5. Culture = วัฒนธรรม

สรุปก็คือ ระบบสังคม (Social System)

ระบบสังคม (Social System) คือ การปฏิสัมพันธ์กันทางสังคม ภายในระบบบการปฏิสัมพันธ์นั้น พาร์สันเน้นที่ บทบาทและสถานภาพ เป็นเรื่องใหญ่

สถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งทางโครงสร้างภายในระบบของสังคม

บทบาท หมายถึง สิ่งที่ผู้กระทำ ๆ ตามสถานภาพผู้กระทำ ตามทัศนะของพาร์สัน จึงเป็นส่วนหนึ่งในสถานภาพและบทบาทภายในระบบสังคม

นอกจากนี้แล้ว พาร์สัน ยังสนใจองค์ประกอบของโครงสร้าง ได้แก่ ลักษณะส่วนรวม (Collectivities) บรรทัดฐาน (Norm) ค่านิยม (Values)

พาร์สัน ยังสนใจเกี่ยวกับวิธีที่จะนำโครงสร้างทั้ง 3 ประการข้างต้น ไปสู่ผู้กระทำให้ได้ นั่นคือ กระบวนการ, ขัดเกลาทางสังคม (Socialization) และกระบวนการการปลูกฝัง (Internalization) ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อได้ให้สมาชิกในสังคมได้เกิดความสำนึกต่อสังคม นั่นหน้าที่ของโครงสร้างของบทบาทและค่านิยมสำคัญของระบบทางสังคม

อีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนในสังคมปฏิบัติตามบรรทัดฐานและค่านิยม คือ การควบคุมทางสังคม (Social Control) แต่ควรใช้เพียงเล็กน้อย และในสถานการณ์ที่เหมาะสมเท่านั้น ระบบที่ยืดหยุ่นจะทำให้ระบบแข็งเกร็ง และบูรณาการในตัว

สรุป การขัดเกลาทางสังคมและการควบคุมทางสังคมจึงเป็นกลไก (เครื่องมือ) อย่างดีที่จะทำให้ระบบทางสังคมอยู่ในดุลยภาพ



การขัดเกลาทางสังคม

สังคม กลไก สังคมดุลยภาพ

การควบคุมทางสังคม



ระบบวัฒนธรรม (Cultural System)

พาร์สัน เห็นว่าวัฒนธรรม เป็นพลังยึดเหนี่ยวที่สำคัญของพื้นฐานต่าง ๆ (Element) ของสังคม = ระบบการกระทำ (Social System) มันเชื่อมการปฏิสัมพันธ์กับตัวผู้กระทำ และทำให้บุคลิกภาพและระบบสังคมสัมบูรณ์แบบ ระบบวัฒนธรรมจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมและอยู่ในบรรทัดฐานและค่านิยม

พาร์สัน มองระบบวัฒนธรรมว่าเป็นแบบแผน มีระเบียบทางสัญลักษณ์ มีการปลูกฝังด้านบุคลิกภาพ มีแบบแผนในรูปสถาบัน ในระบบสังคม เช่น มีลักษณะเชิงสัญลักษณ์และจิตพิสัย และมักถูกถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งเสมอ

ระบบวัฒนธรรมสามารถควบคุมระบบการกระทำอีกระบบหนึ่งได้ พาร์สันสรุปว่า มาตรฐานทางศีลธรรมเป็นเทคนิคสมบูรณ์แบบที่เชื่อมประสานของระบบการกระทำ ระบบวัฒนธรรมจึงอยู่เหนือระบบอื่น

ระบบบุคลิกภาพ (Personality System)

ระบบบุคลิกภาพ (Personality System) ถูกควบคุมโดย 3 ระบบ

1. ระบบวัฒนธรรม ผ่านการขัดเกลาทางสังคม

2. ระบบสังคม ผ่านการขัดเกลาทางสังคม

3. องค์ประกอบพื้นฐานของบุคลิกภาพ คือ การแสดงออกซึ่งความต้องการ

บุคลิกภาพจึงถูกนิยามความหมายว่า ระบบที่จัดระเบียบไว้เกี่ยวกับแนวทาง และแรงจูงใจต่อการกระทำของผู้กระทำแต่ละคน และมูลเหตุของการจูงใจต้องการกระทำ = แรงขับ (Drive) แรงขับถูกกำหนดโดยบริบททางสังคม

แรงขับมี 3 ประเภท

1. การแสวงหาความรัก, การยอมรับจาก สังคม

2. ค่านิยมที่ถูกปลูกฝังมา ซึ่งนำผู้กระทำไปสู่มาตรฐานทางวัฒนธรรม

3. การคาดหวังต่อบทบาท นำไปสู่การให้และได้รับการตอบสนองที่เหมาะสม

ระบบอินทรีย์ด้านพฤติกรรม (Behavioral Organism)

ระบบอินทรีย์ด้านพฤติกรรม = ระบบทางกายภาพภายในร่างกาย ซึ่งกลายพลังและพื้นฐานของการกระทำในด้านต่าง ๆ หลงเหลืออยู่ (Residue System)

ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของโรเบริต์ เมอร์ตัน (Robert Merton’s Structural Functionalism)

เมอร์ตัน (Merton) เป็นลูกศิษย์ของพาร์สัน (Parson) เขาแต่งหนังสือชื่อว่า “Toward the codification of Functional Analysis in Sociology” เมอร์ตันวิจารณ์ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ว่า สมมุติฐานของการวิเคราะห์เกี่ยวกับหน้าที่มี 3 ประการคือ

1. สมมุติฐานเกี่ยวกับเอกภาพของหน้าที่ (The Postulate of Functional Unity) = ความเชื่อและการปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นหน้าที่ต่อสังคม เท่ากับมีหน้าที่ต่อปัจเจกชน ความจริงคือถูกสำหรับสังคมเล็ก, ดั้งเดิม แต่ใช้กับสังคมใหญ่ ๆ และสลับซับซ้อนกว่าไม่ได้

2. สมมุติฐานเกี่ยวกับลักษณะสากลของทฤษฎีหน้าที่ (The Postulate of Universal Functionalism) = โครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม ต้องมีหน้าที่เชิงบวก เขาแย้งว่า ในโลกแห่งความจริง มันชัดเจนว่า ไม่ใช่ทุกโครงสร้างที่เป็นอย่างนี้ เช่น ลัทธิชาตินิยม หัวรุนแรง กลับมีหน้าที่เชิงลบ

3. สมมุติฐานว่าความไม่จำเป็น (The Postulate of Indispensability) = ลักษณะของสังคมทั้งหมดจำเป็นต่อสังคม แต่ที่จริงแล้ว ยังมีระบบอื่นในสังคมที่ไม่จำเป็นด้วยก็มี

เมอร์ตัน กล่าวว่า การวิเคราะห์ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ ต้องเน้นที่กลุ่มคน, องค์กร, สังคม, และวัฒนธรรม โดยเปลี่ยนจากวัตถุวิสัยเป็นจิตพิสัย ดังนี้

บทบาททางสังคม (Social Role), แบบแผนของสถานบัน (Institutionlized Patterns), กระบวนการทางสังคม (Social Process) รูปแบบทางวัฒนธรรม (Cultural Patterns) บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) การจัดกลุ่ม (Group Organization) โครงสร้างทางสังคม (Social Structure) และเครื่องมือสำหรับการควบคุมทางสังคม (Devices for Social Control)

เมอร์ตัน คิดว่า นักทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ ควรสนใจที่หน้าที่ของสังคม มากกว่าแรงจูงใจของปัจเจกชน เขาปฏิเสธแรงจูงใจด้านจิตพิสัยของปัจเจกชน ต่อระบบโครงสร้าง – หน้าที่

หน้าที่ ตามนิยามของเมอร์ตัน คือ สิ่งที่เกิดผลซึ่งสร้างไว้สำหรับการปรับตัวกับระบบที่กำหนดไว้ คือ คนมักจะมองหน้าที่แต่ในทางบวก แต่ความเป็นจริงแล้ว หน้าที่ในทางลบก็มีเช่นกัน โครงสร้างหรือสถาบัน อาจจะก่อให้เกิดผลในทางลบต่อสับคมเช่นกัน

นอกจากนี้ เมอร์ตันยังได้เสนอความคิดเรื่อง การไม่มีหน้าที่ (Non - Functions) คือผลที่ไม่เกี่ยวเนื่องระบบที่คิดไว้อยู่ ซึ่งแม้จะมีผลทั้งบวกและลบในอดีต แต่ปัจจุบันมันไม่มีผลแล้ว

เมอร์ตัน ยังคิดพัฒนา Concept เรื่อง Net Balance (ดุลยภาพสุทธิ) = ความเท่าเทียมของทั้ง 2 อย่างให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หน้าที่ควรจะสมดุลยทั้ง 2 ฝ่ายที่กล่าวไป

หน้าที่ 2 ประการของ โรเบริต์ เมอร์ตัน (Robert Merton)

1. หน้าที่ปรากฏชัด (Manifest Function)

2. หน้าที่แอบแฝง (Latent Function)

เช่น ระบบวรรณะ หน้าที่ชัด คือ การแบ่งหน้าที่กันทำ (Division of Labour) และหน้าที่แฝง คือ การกดขี่ทางชนชั้น (Class Exploitation) หน้าที่ทั้ง 2 อย่างนี้ จะเกิดผล 2 อย่างคือ

1. ผลที่ได้ตั้งใจไว้ (Anticipated Consequences)

2. ผลที่ไม่ได้ตั้งใจไว้ (Unanticipated Consequences)

เมอร์ตันถือว่าผลทั้ง 2 สิ่ง มีความหมายทางสังคมวิทยา เมอร์ตันกล่าวอีกว่า โครงสร้างบางส่วนอาจจะก่อให้เกิดผลลบต่อบางส่วนของสังคมก็จริง เช่น การแบ่งแยกยิว เป็นต้น แต่หน้าที่ตัวนี้ยังอยู่ต่อไปได้ เพราะมันยังให้ประโยชน์ต่อส่วนอื่น เช่น คนส่วนใหญ่ เป็นต้น

คาดหวัง

หน้าที่

ไม่ได้คาดหวัง



หน้าที่ คาดหวัง



หน้าที่ ไม่ได้คาดหวัง



สรุป โครงสร้างบางส่วน อาจจะเกิดผลลบก็จริง แต่ยังอยู่ได้เพราะให้ผลประโยชน์กับอีกส่วนหนึ่ง จึงอยู่ได้ เช่น ธุรกิจใต้ดิน เป็นต้น

1 ความคิดเห็น:

  1. Easy "water hack" burns 2 lbs OVERNIGHT

    Over 160,000 men and women are using a simple and secret "liquids hack" to drop 1-2 lbs each night as they sleep.

    It is painless and it works on anybody.

    This is how you can do it yourself:

    1) Grab a glass and fill it up with water half full

    2) Proceed to do this crazy hack

    and you'll become 1-2 lbs skinnier as soon as tomorrow!

    ตอบลบ