วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การบริหารการเงินของโรงเรียน

การบริหารการเงินของโรงเรียน


กิติมา ปรีดีดิลก ได้กล่าวว่า เนื่องจากการบริหารการเงินหรือการบริหารการคลังโรงเรียนเป็นกิจกรรมที่สำคัญอันหนึ่งในการบริหารการศึกษา หลักการบริหารการคลังโรงเรียน มีลักษณะไม่ห่างไกลจากการบริหารการคลังในสาขาอื่น เพียงแต่ขอบเตและวัตถุประสงค์ในการบริหารแตกต่างกันเท่านั้น

ความหมาย

สำหรับความหมายของการบริหารการคลังโรงเรียนนั้น ได้มีผู้ให้ความหมายจำแนกแตกต่างกันออกไปดังนี้

ฮันท์ และเพียซ (Hunt & Pierce) ได้กล่าวถึงเรื่องการคลังโรงเรียนไว้ว่า การคลังโรงเรียน หมายถึง แผนการเงินของโรงเรียน การพัฒนาฐานภาพทางการเงินของโรงเรียน รายจ่ายของโรงเรียน หลักและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ หน่วยงานหรือแหล่งของรายรับของโรงเรียน การตรวจสอบการเงิน และการอุดหนุนทางการเงินแก่โรงเรียน ส่วนคิมบรอก และนันเนอร์ (Kimbrough & Nunnery) กล่าวว่า การคลังโรงเรียน หมายถึง การหาวิธีจะให้ไดมาซึ่งรายได้และเพิ่มรายได้ของโรงเรียนให้สูงขึ้น การจัดสรรเงินเพื่อก่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน โดยพยายามจัดสรรเงินที่ได้มาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการทางด้านการเงินของ หน่วยงานย่อย เช่น ผู้บริหารการศึกษาระดับสูงควรพิจารณาความต้องการทาง ด้านการเงิน โรงเรียนต่าง ๆ ที่อยู่ในสังกัดอย่างเหมาะสม เช่นเดียวกับผู้บริหารการศึกษาระดับโรงเรียนจะต้องพิจารณาความต้องการทางการเงิน ของหน่วยงานย่อยของโรงเรียนและโครงการต่าง ๆ ของโรงเรียน อย่างเหมาะสมด้วย หาวิธีใช้จ่ายเงินของโรงเรียนและทรัพยากรอื่น ๆ ของโรงเรียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียนให้มากที่สุด อีกทั้งจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบกระเทือนของภาระเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อรายได้และรายจ่ายของโรงเรียน

จากความหมายดังกล่าวข้างต้น อาจสรุปได้ว่า การบริหารการเงินของโรงเรียนหมายถึงการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินเพื่อนำมาใช้จ่ายในการศึกษาของโรงเรียนการจัดการเกี่ยวกับการใช้จ่าย ตลอดจนการควบคุมการดำเนินงานทางด้านการเงินให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ ในการบริหารการเงินโรงเรียนมีสิ่งที่เป็นอุปสรรคบางอยบ่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นอิทธิพลของความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม นโยบายของการเมืองและรัฐบาล เป็นต้อน อย่างไรก็ตามขอบข่ายในการบริหารการเงินโรงเรียนควรจะประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้

การวางแผนการเงินของโรงเรียน มีการคาดการล่วงหน้าเกี่ยวกับการใช้จ่ายและ

ดำเนินการเกี่ยวกับการเงินของโรงเรียน ซึ่งผู้บริหารจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบกระเทือนที่มีต่อการให้ได้มาหรือการจ่ายไปซึ่งการเงินของโรงเรียน เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ รายได้ของประชาชนในท้องถิ่น ฯลฯ เป็นต้น

การจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของโรงเรียนโดยส่วนรวม เช่น ที่ดิน และสิ่งก่อ

สร้าง วัสดุครุภัณฑ์ต่าง ๆ ของโรงเรียนเป็นต้น

การควบคุมการดำเนินงานทาง ด้านการเงิน เพื่อให้มีประสิทธิภาพให้เป็นไปตาม

มาตรฐานและกฎเกณฑ์เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบไปด้วยระบบบัญชี และวิธีการต่าง ๆ ในการตรวจสอบเงินและทรัพย์สินของโรงเรียน

การจัดการเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินของโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้อง

กับหลักการทางเศรษฐศาสตร์ หลักการทางการบริหารและรวมทั้งหลักการคลังทั่วไป

การบริหารงานมีความสำคัญต่อผู้บริหารมาเนื่องจากผลของการปฏิบัติงานกระทบ

กระเทือนทั้งต่อหน่วยงานและประเทศชาติ หน่วยงานจะพัฒนาได้มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการบริหารการเงินว่าดีหรือไม่เพียงใด หากผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเงินของหน่วยงานของตนและหน่วยงานที่ต้องเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ผลก็จะทำให้หน่วยงานพัฒนาและได้ชื่อว่าเป็นผู้บริหารงานที่มีความสามารถ

หน่วยงานที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยเฉพาะโรงเรียน เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ต้องใช้เงินในการดำเนินงานและพัฒนาตนเอง ผู้บริหารโรงเรียนจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารการเงินของโรงเรียนเป็นอย่างดีด้วย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการจัดสรรเงินเพื่อการศึกษา แนวปฏิบัติในการบริหารการเงินในโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย งานการรับเงิน, การจ่ายเงิน, การเก็บรักษาเงิน, การนำส่ง, การซื้อ, การจ้าง, บัญชีพัสดุ, การตรวจสอบและรายงานการเงินเป็นต้น

การเงินที่ผู้บริหารการศึกษาควรทราบเพื่อยึดเป็นแนวปฏิบัติตามระเบียบของราชการ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามคำสั่งของทางราชการ บางครั้งก็เปลี่ยนไปตามฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ บางครั้งก็เปลี่ยนไปตามความผันผวนทางการเมืองและบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติและหลักการที่ผู้บริหารระดับสูงในส่วนกลางยึดถือตามแนวที่ตนคิดว่าดีหรือควรปฏิบัติ

ผู้บริหารการศึกษาระดับสูงควรจะทำหน้าที่หาเงินหรือจัดตั้งงบประมาณเพื่อการศึกษาด้วย มิใช่มีหน้าที่เพียงใช้เงินอย่างผู้บริหารระดับโรงเรียนส่วนมากทำอยู่เพียงอย่างเดียว

ความไม่ทราบทฤษฎีการเงินโรงเรียนทำให้ผู้บริหารการศึกษาในประเทศไทยจัดสรรงบประมาณและการเงินให้แก่โรงเรียนตามความพอใจของส่วนบุคคลและตามวิธีทางการเมืองตลอดมาทุกยุคทุกสมัย จะเห็นได้ว่าสภาพโรงเรียนปัจจุบันนี้โรงเรียนที่ดีอยู่แล้วกลับได้งบประมาณมากขึ้นทุกปี แต่โรงเรียนที่ขาดแคลนก็ยิ่งขาดแคลนลง เพราะการให้เงินงบประมาณมักจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของงบประมาณที่ได้รับเดิม จึงทำให้ดูคล้ายกับว่าการได้รับงบประมาณของโรงเรียนมีสภาพเป็นโรงเรียนที่ต้องการเงินมากกลับได้น้อยโรงเรียนที่ต้องการเงินน้อยกลับได้มาก

ผู้บริหารมีหน้าที่ในการบริหารการเงินให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกฎเกณฑ์หน้าที่เกี่ยวกับการเงินพอสรุปได้ดังนี้

งานเกี่ยวกับการเงิน

ทำการรับเงินค่าธรรมเนียม

รับเงินบริจาค

รับเงินผลประโยชน์อื่น ๆ

รับเงินทุนการศึกษา ซึ่งมีผู้มอบให้เพื่อจ่ายเป็นทุนอุดหนุนการศึกษา

รับฝากเงินรายได้ของหน่วยงานในสังกัด

รับฝากเงินค่าประกันของเสียหาย และเงินประกันสัญญา

จ่ายเงินงบประมาณทุกหมวด

จ่ายเงินรายได้ สำหรับการดำเนินงานของหน่วยงาน

จ่ายเงินบริจาคเพื่อกิจการของหน่วยงาน

จ่ายเงินอุดหนุนการศึกษา

จ่ายคืนเงินฝาก

ทำฎีกาเบิกจ่ายงบประมาณทุกหมวด และเงินนอกงบประมาณ

ตรวจสอบใบสำคัญและหลักฐานรับ - จ่ายเงินทุกประเภท

คำนวณ และเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย เพื่อแจ้งและส่งสรรพากร

ดูแลรักษา เงินสดให้ถูกต้อง เพื่อส่งมอบกรรมการรักษาเงิน

จัดเตรียมใบเสร็จรับเงิน เมื่อรับเงินประเภทต่าง ๆ

เบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ

เบิกเงินและนำเงินฝากธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์

เก็บหลักฐานการเงิน

จัดทำหลักฐานจ่ายเงินเดือนและลูกจ้าง

ทำใบส่งเงิน กระทรวงการคลัง

งานเกี่ยวกับบัญชี

จัดทำบัญชีการเงินประเภทต่าง ๆ ตามหลักบัญชีส่วนราชการ ทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ

ทำบัญชีลูกหนี้เงินยืมทดรองราชการ และเงินยืมนอกงบประมาณ

ลงทะเบียนรายจ่ายย่อยตามงบประมาณ

ลงทะเบียนรายจ่ายเงินรับฝากต่าง ๆ

จัดทำรายงานการเงินทุกประเภท

จัดทำงบเดือนเงินงบประมาณทุกหมวด

จัดทำงบเดือนรายได้ของหน่วยงาน

จัดทำทะเบียนการชำระเงินค่าบำรุงของนิสิต

ดำเนินการรวบรวมรายละเอียด ตั้งงบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้ของหน่วยงาน

รวบรวมรายละเอียดเสนอตั้งงบประมาณประจำปี

ดำเนินการจัดทำรายละเอียดของเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณสำหรับหน่วยงาน

ดำเนินการจัดสรรเงินไปตั้งจ่ายทางจังหวัดสำหรับหน่วยงานในสังกัด

ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณ

ดำเนินการขอโอน เปลี่ยนแปลงหมวดเงินงบประมาณ เมื่อจำเป็น

ดำเนินการขออนุมัติกันเงิน ตัดฝาก ขยายเวลาตัดฝาก เงินงบประมาณ

ดำเนินการ ขออนุมัติจัดซื้อ จ้างทำ วัสดุ ครุภัณฑ์ ตลอดจนการจัดสร้างอาคารต่าง ๆ

ดำเนินการ จัดทำสัญญาซื้อขาย จ้างทำวัสดุครุภัณฑ์ ตลอดจนสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง

งานเกี่ยวกับพัสดุครุภัณฑ์

ดำเนินการ จัดหา วัสดุ ครุภัณฑ์ แบบพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในกิจการของหน่วยงาน

ดูแลรักษา ซ่อมแซม เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อใช้ในกิจการของหน่วยงาน

ดูแลรักษาซ่อมแซมยานพาหนะ

ดูแลรักษาและซ่อมแซมอาคารต่าง ๆ

จัดทำทะเบียนครุภัณฑ์

จัดทำบัญชีพัสดุ

เขียนหมายเลขประจำครุภัณฑ์

จ่ายพัสดุ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน

เก็บรักษาทะเบียนยานพาหนะ

สำรวจวัสดุครุภัณฑ์คงเหลือ

จัดทำรายงานการสำรวจทรัพย์สิน

จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี

ง. งานเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน

ตรวจนับเงินสดคงเหลือประจำวันที่ทำการตรวจสอบ

ตรวจหลักฐานการรับเงิน

ตรวจหลักฐานและใบสำคัญการจ่ายเงิน

ตรวจสอบการลงบัญชีต่าง ๆ

ตรวจสอบทะเบียนต่าง ๆ

ตรวจสอบบัญชีพัสดุครุภัณฑ์

ตรวจสอบหลักฐานการฝากเงินกับธนาคาร

รายงานการตรวจสอบและเสนอแนะวิธีการแก้ไข

ในการปฏิบัติ อาจจะมีเปลี่ยนแปลงแนวการจัดงานต่างไปจากข้างต้นที่กล่าวมาบ้างทั้งนี้แล้วแต่ผู้บริหารที่จะพิจารณาตามขนาด และงานที่ต้องปฏิบัติ

การจัดบุคลาการการเงิน

บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับการเงิน จะมาจากสายงานฝ่ายธุรการซึ่งควบคุมโดย

ผู้บริหารบุคลากรการเงินอีกทีหนึ่ง ปริมาณบุคลากรการเงิน จะแตกต่างกันไปตามขนาดของโรงเรียน โดยปกติแล้วมักนิยมจัดเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 3 คน ซึ่งงานที่ได้รับมอบหมายจะเป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับงบประมาณ พนักงานบัญชี และพนักงานเบิกจ่าย เป็นต้น สำหรับโรงเรียนเล็ก ๆ การจัดทำการเงินนั้น ส่วนมากจะมีคนเดียว แต่ต้องมีกรรมการเงินครบ 3 คน ตามระเบียบดังผังการบริหารการเงินดังนี้



ผู้บริหาร

หัวหน้าฝ่ายธุรการ

เจ้าหน้าที่งบประมาณ หัวหน้าฝ่ายบัญชี เจ้าหน้าที่เบิกจ่ายเงิน



หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารในเรื่องเกี่ยวกับการเงินของโรงเรียน ก็คือ ควบคุมสั่งการ และตรวจสอบ

ผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายธุรการ มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่ง เสนอปัญหาหรือรับคำปรึกษาจากครูใหญ่ สั่งการเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมงาน และควบคุมดูแลให้เจ้าหน้าที่และผู้ร่วมงานปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบ

เจ้าหน้าที่บัญชี มีหน้าที่จัดทำบัญชีทุกประเภทให้ถูกต้องตามระเบียบ เสนอผู้ช่วยครูใหญ่ หรือครูใหญ่ตรวจสอบได้ทุกเวลา

เจ้าหน้าที่งบประมาณ มีหน้าที่จัดทำ และเสนอของบประมาณ โดยอยู่ในความดูแลขอคำปรึกษาหารือจากผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายธุรการ หรือครูใหญ่

เจ้าหน้าที่เบิกจ่ายเงิน มีหน้าที่ทำการเบิกเงิน จ่ายเงินทุกอย่างของโรงเรียนทั้งนี้อยู่ในความควบคุมดูแลของผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายธุรการ และครูใหญ่เช่นกัน

เป็นที่น่าสังเกตว่า ตามโรงเรียนระดับต่ำ เช่นโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดส่วนมากไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนใหญ่หรือเล็ก มักจะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทางการเงินขึ้นครบ 3 คน ตามระเบียบ แต่ในทางปฏิบัติจริง ๆ ผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายธุรการจะทำหน้าที่ทั้งหมด เช่น ทำบัญชี ทำการเบิกจ่าย และทำงบประมาณ สำหรับ โรงเรียนเล็กจริง ๆ ปริมาณนักเรียนและครูมีน้อย หน้าที่การเงินทั้งหมดจะเป็นหน้าที่ครูใหญ่คนเดียว ไม่จำเป็นต้องตั้งเจ้าหน้าที่การเงินฝ่ายต่าง ๆ เพราะปริมาณงานมีน้อย

หลักในการบริหารการเงินโรงเรียน

ในการบริหารการเงินโรงเรียนนั้น ย่อมต้องอาศัยหลักการมากมายเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหาร หลักการบริหารการเงินโรงเรียนที่ผู้บริหารทุกระดับจะต้องคำนึงถึงมีดังต่อไปนี้

หลักสารัตถประโยชน์ (Utility Principle ) ในการบริหารการเงินโรงเรียนนั้น จะต้อง

คำนึงถึงการใช้เงินให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งจัดว่าเป็นประเทศที่ยากจน มีงบประมาณในการจัดการศึกษาอยู่ในขอบเขตอันจำกัด ดังนั้นการใช้จ่ายเงินต่าง ๆ ควรเป็นไปเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์อันสูงสุด

หลักแห่งเอกภาพ (Unity Principle ) ใน การบริหารงานการคลังทั่วไปนิยมการ

แยกรายการต่าง ๆ ออกจากกันและรวมกันไว้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน ให้เป็นเอกภาพ เช่นเป็นหมวดรายจ่าย หมวดรายรับ หมวดหนี้สิน เป็นต้น นอกจากนี้เอกสารและบัญชีต่าง ๆ มักจะแยกประเภทเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ

หลักแห่งความสมดุลย์ (Balance Principle ) เนื่องจากหน้าที่รับผิดชอบของรัฐนั้นมี

มากมาย ดังนั้นการทุ่มเงินส่วนใหญ่มาใช้ทางการศึกษา โดยไม่สมดุลย์กับรายจ่ายด้านอื่น ๆ ย่อมไม่เกิดผลดีอย่างแน่นอน ดังนั้นผู้บริหารการศึกษาจะต้องพิจารณาในแง่ของประเทศโดยส่วนรวมด้วย

หลักความเป็นธรรม (Equity Principle ) ในการพิจารณาจัดสรรเงินใช้ในโรงเรียน

ควรพิจารณาตามความจำเป็นและความเหมาะสม ตามหลักการแห่งเหตุผลอันแท้จริง มิควรพิจารณาจัดสรรเงินตามความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นหลัก

หลักแห่งความชัดเจน แจ่มแจ้ง (Clarity Principle ) ในการจัดการเกี่ยวกับการเงิน

ของโรงเรียนจะต้องทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจทุกอย่าง เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามแนวทางเดียวกัน เช่น เกี่ยวกับวัน เวลา และสถานที่ การปฏิบัติ การจัดรายการ จำนวนเงินที่ใช้จ่ายหรือได้มาเป็นต้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความสะดวกในการพิจารณาการกำหนดแยกรายการเป็นหมวดหมู่เพื่อให้เข้าใจง่าย และการคำนวณตัวเลขให้แน่นอนเป็นการสนับสนุนหลักการนี้เช่นเดียวกัน

หลักจารีตประเพณีนิยม (Conservative Principle ) ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการเงิน

นั้น เรามักจะประพฤติปฏิบัติไปในทำนองเดียวกัน และสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตและปัจจุบัน เป็นการทำให้เกิดความเข้าใจและง่ายต่อการปฏิบัติ

หลักสมานฉันท์ ( Harmony Principle ) การบริหารงานคลังจะต้องคำนึงถึงการ

ขจัดข้อแย้งระหว่างบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกิจการทุกอย่างเกี่ยวกับการคลังของโรงเรียนจะต้องได้รับการยอมรับจากทุกคน และไม่ขัดแย้งซึ่งกันและกัน และพยายามก่อให้เกิดความช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วย

หลักความถูกต้องกับความเป็นจริง (Accuracy Principle ) ในการบริหารการเงิน

โรงเรียน จะต้องมีลักษณะเปิดเผย สามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ได้ทุกเวลาและทุกรายการ

หลักการกำหนดเวลา ( Annuality Principle ) ในการบริหารงานคลังโรงเรียนจำ

เป็นต้องกำหนดเวลาไว้ให้แน่นอน เพื่อสะดวกในการติดตามและประเมินผลโดยทั่วไปจะกำหนดไว้เป็นหนึ่งปี โดยให้สอดคล้องกับปีงบประมาณ

หลักการคาดการณ์ล่วงหน้า (Foresight Principle ) ในการบริหารการเงินผู้บริหาร

จะต้องรู้จักคาดการณ์ล่วงหน้าได้ถูกต้อง เพื่อความรอบคอบในการปฏิบัติงาน

หลักความมีลักษณะเฉพาะอย่าง (Specification Principle ) การปฏิบัติงานใน

หน่วยงานการเงินควรแบ่งงานรับผิดชอบระหว่างบุคลากรในหน่วยงานให้แน่นอนและเฉพาะบุคคลไม่ก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน เช่น แยกฝ่ายปฏิบัติการกับฝ่ายตรวจสอบออกจากกัน เป็นต้น การให้ผู้รับผิดชอบงานเฉพาะอย่างนั้นเป็นการทำให้คนได้ทำงานเฉพาะอย่าง ซึ่งทำให้เกิดความแน่นอนในการปฏิบัติงาน ป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้

หลักการประหยัด (Economy Principle ) การใช้เงินทุกอย่างของโรงเรียนการเป็น

ไปโดยความประหยัด พิจารณาถึงความจำเป็นในการดำเนินการงานใดที่ต้องใช้เงินมากและเป็นงานที่ไม่จำเป็น และไม่เป็นประโยชน์ ควรตัดรายการนั้นทิ้งไป

นอกจากหลักการบริหารการเงินโรงเรียนดังกล่าวข้างต้นแล้ว ฮันต์ และเพียซ (Hunt & Pierce) ยังได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารการเงินดังนี้

การวางแผนการเงิน ควรวางแผนไว้เป็นระยะยาวที่สุด และแบ่งกระบวนการปฏิบัติ

การเป็นช่วง ๆ ไป ทั้งนี้ต้องคอยตรวจสอบและปรับปรุงให้เข้างกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการศึกษาอยู่ตลอดเวลา

ควรมีการสนับสนุนให้ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาส

ร่วมในการกำหนดแผนงานการศึกษาไว้ล่วงหน้า เพื่อให้การใช้เงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

งบประมาณของโรงเรียน ควรจะพิจารณาตามแผนงานของการศึกษาของโรงเรียน

ในระยะ 5 ปี หรือ 1 ปี (ถ้าเป็นไปได้) ไม่ควรกำหนดเพียงแต่พิจารณาเพื่อการใช้จ่ายโดยปราศจากการวางแผนเท่านั้น และเงินของโรงเรียนควรจะเพิ่ม (หรือลด) ตามความต้องการทางการศึกษาของชุมชน

โรงเรียน ควรมีอิสระอย่างเพียงพอในการตัดสินใจ และไม่ให้มีข้อผูกมัดใดมาเกี่ยว

ข้องกับ การบริหารการเงินโรงเรียน

การบริหารการเงินโรงเรียน ควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาทางการศึกษามากกว่าที่จะ

มุ่งแข่งขันซึ่งกันและกัน

ขอบข่ายเกี่ยวกับงานการเงินโรงเรียน

งานเกี่ยวกับการเงิน ซึ่งผู้บริหารการศึกษา พึงกระทำมีพอสรุปดังนี้

การจ่ายเงินเดือน ( Salary Principle ) ผู้บริหารจะต้องจัดการเกี่ยวกับการวางแผน

อัตรากำลังของครูอาจารย์ และบุคลากรอื่น ๆ ของโรงเรียน

การใช้จ่ายทางด้านอื่น ๆ (Purchasing) ของโรงเรียน ได้แก่การจัดการเกี่ยวกับ

การใช้จ่ายทางด้านการบริหารอาหารกลางวันนักเรียน การจัดการเกี่ยวกับการบริการห้องสมุด

การตรวจสอบบัญชีจ่ายเงินภายใน (Internal Auditing of Expenditure) ได้แก่การ

ตั้งกรรมการตรวจสอบ การวางระเบียบกฎเกณฑ์การจ่ายเงินตลอดจนการกำหนดระบบการตรวจสอบ เป็นต้น

การรายงานการเงิน (Preparation of Financial Report) ในการบริหารงาน

โรงเรียนนั้นย่อมมีหน่วยงานเหนือขึ้นไปตามลำดับ ในประเทศไทยมีหน่วยงานควบคุมอยู่หลายหน่วย เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น ผู้บริหารงานโรงเรียนต้องรายงานหน่วยงานที่เหนือขึ้นไป

บัญชีการเงินของโรงเรียน(Financial Accounting) เพื่อสะดวกในการควบคุมและ

ตรวจสอบการบริหารการเงินโรงเรียน จึงจำเป็นต้องมีระบบบัญชีการเงินและทรัพย์สินของโรงเรียน เพื่อป้องกันการรั่วไหล และการใช้เงินที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ซึ่งหัวหน้าสถานศึกษาจะต้องทำตามระบบบัญชีที่หน่วยงานที่เหนือขึ้นไปกำหนด



รายได้รายจ่ายของรัฐ

ในการบริหารประเทศของแต่ละประเทศ รัฐบาลมีหน้าที่จัดดำเนินการต่างๆ ซึ่งต้องใช้เงินและมีหน้าที่หารายรับมาเพื่อใช้จ่ายภายในประเทศ การใช้จ่ายของรัฐจำเป็นจะต้องทำอย่างรอบคอบมีหลักเกณฑ์และมีความสมดุลย์ หรือไม่ทำให้ขาดดุลกับรายรับที่พึงจะได้ การหารายได้ของรัฐมีความสัมพันธ์กับรายจ่ายคือ รายได้กำหนดรายจ่าย

รายได้ของรัฐบาล

ไพศาล ชัยมงคล ให้ความหมายของคำว่ารายรับ (Receipt) หมายถึง "รายได้" (Revenue) กับ "เงินกู้" (Borrowing หรือ Loan) และเงินคงคลัง (Treasury Balance) แต่ส่วนใหญ่ของรายรับนั้นได้มาจากรายได้ และได้จำแนกรายได้ของรัฐบาลออกเป็น 4 ทาง คือ

รายได้จากภาษีอากร ประกอบด้วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัท ห้างหุ้นส่วน

นิติบุคคล ภาษีการค้า อากรแสตมป์ ภาษีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ อากรขาออก อากรขาเข้า ภาษีลักษณะการอนุญาตและการผูกขาด ภาษีจากทรัพย์สิน

รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ ได้แก่ค่าขายทรัพย์สินสิ่งของค่าขายผลิต

ภัณฑ์ธรรมชาติ ค่าจำหน่ายบริการสาธารณูปโภค ค่าขายหนังสือราชการค่าขายสิ่งของอื่น ๆ ค่าบริการและค่าเช่าเป็นต้น

รายได้จากรัฐพาณิชย์ ได้แก่รายได้จากองค์การของรัฐบาลและหน่วยงานธุรกิจที่

รัฐบาลเป็นเจ้าของเงินส่วนแบ่งและเงินปันผล

รายได้อื่น ๆ ได้แก่เงินค่าปรับ เงินส่งคืนและชดใช้ ตลอดจนรายได้เบ็ดเตล็ด

เทเลอร์ (Taylor) ได้จำแนกรายได้ออกเป็น

รายรับที่ไม่เป็นรายได้

รายรับที่เป็นรายได้

รายรับที่ไม่เป็นรายได้ ได้แก่รายได้จากการกู้ยืม ซึ่งเป็นรายได้ที่รัฐมีภาระผูกพันต้องใช้

คืนในอนาคต

รายรับที่เป็นรายได้ ได้แก่รายได้จากการอุทิศให้จากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตค่าปรับ รายได้จากรัฐวิสาหกิจและจากการจัดเก็บภาษีอากร

รายได้เหล่านี้รัฐบาลจะนำไปจัดสรรให้หน่วยงานของราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งหมด เรียกเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือเงินงบประมาณประจำปี จัดทำเป็นประจำทุกปี

รายจ่ายของรัฐบาล

ตามที่กล่าวข้างต้นแล้วว่ารัฐบาลของทุกประเทศมีหน้าที่จัดดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้เงินเพื่อจะทำให้ประชาชนมีความสุข มีความเป็นอยู่ดี รัฐบาลรับผิดชอบในการป้องกันประเทศและภัยอันอาจจะเกิดแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน มีหน้าที่จัดหาบริการต่าง ๆ ให้แก่ประชาชน เช่นจัดการศึกษา การรักษาพยาบาล การคมนาคม และการสื่อสารต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้นรัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินหลายทางสุดแท้แต่วัตถุประสงค์ของการใช้จ่าย บางอย่างใช้จ่ายเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น รายจ่ายในการลงทุนด้านอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรม การศึกษาและสาธารณสุข เป็นต้น รายจ่ายเหล่านี้ไม่ได้รับผลตอบแทนเป็นตัวเงิน แต่เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ มีความเป็นอยู่ดี

จากสถิติรายจ่ายของรัฐบาลจะเห็นว่า รายจ่ายได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อาจจะเนื่องจากประเทศเรากำลังพัฒนาและเนื่องจากการเพิ่มของประชากร และมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้นของประชาชน ตลอดจนการสงคราม มีส่วนทำให้รายจ่ายของรัฐเพิ่มขึ้นด้วย

แหล่งของเงินที่ใช้เพื่อการศึกษา

เงินงบประมาณหรือเงินที่ใช้จ่ายในด้านการศึกษาของประเทศนั้น มิได้มีเฉพาะแต่งบประมาณของรัฐบาล เพียงอย่างเดียว แต่ยังได้มาจากเอกชนด้วย ในปีหนึ่ง ๆ ได้มีเอกชน บริษัท ห้างร้าน องค์การและมูลนิธิต่าง ๆ บริจาคให้แก่สถานศึกษาไม่ใช่น้อยซึ่งสถาบันการศึกษาสามารถนำไปใช้จ่ายภายในระเบียบข้อบังคับโดยมิต้องนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินเหมือนรายได้ประเภทอื่น ๆ

เงินที่ใช้จ่ายในการศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลมีที่มา 3 ทาง คือ

เงินงบประมาณแผ่นดิน

เงินนอกงบประมาณ

เงินรายได้แผ่นดิน

สำหรับเงินรายได้แผ่นดินนั้น ส่วนมากเมื่อได้มาแล้วจะต้องนำส่งคลังทันที จึงไม่ค่อย

จะมีผู้กล่าวถึงและในที่นี้จะกล่าวเฉพาะเงินงบประมาณแผ่นดิน และเงินนอกงบประมาณเท่านั้น



อ้างอิง: เรืองศรี ศรีทอง และคณะ.2529. การบริหารการเงินของโรงเรียน. มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น